หลายประเทศในอาเซียน “จัดการโควิดดี แต่เศรษฐกิจแย่ยาวนาน” ไทยสาหัสเพราะท่องเที่ยวพัง 

Euben Paracuelles หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์แห่งอาเซียน จาก Nomura มองว่า แม้หลายประเทศจากกลุ่มอาเซียนจะจัดการโควิด-19 ได้ดี ประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคระบาดได้ แต่เศรษฐกิจน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวในลักษณะ U-shape เนื่องจากความไม่แน่นอนยังมีอยู่เต็มไปหมด จึงมีความเสี่ยงที่สถานการณ์จะแย่ลง

SINGAPORE, SINGAPORE – November 15: Singapore’s Prime Minister Lee Hsien Loong hands over the ASEAN chair to Thai Prime Minister Prayut Chan-O-Cha during the closing ceremony of the 33rd Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Summit and Related Meetings on November 15, 2018 in Singapore. Leaders from around the world gathered this week in Singapore during the 33rd ASEAN Summit as well as related summits. U.S. Vice President Mike Pence and Chinese Premier Li Keqiang joined the meetings amidst ongoing trade tensions between Washington and Beijing as negotiators said on Wednesday that a major China-backed trade agreement has moved to its final stage but couldn’t finish the deal this year.(Photo by Ore Huiying/Getty Images)

ทั้งนี้ มีการอ้างรายงานจาก UNCTAD (การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา: อังค์ถัด: United Nations Conference on Trade and Development) ได้ระบุว่าไทยน่าจะได้รับผลกระทบหนักสุดจากการท่องเที่ยวที่ย่ำแย่ ไทยอาจจะมี GDP ติดลบ 9% หรือราว 4.77 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.47 ล้านล้านบาท 

ก่อนที่โลกจะต้องเผชิญกับโควิด-19 ไทยก็มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่ง UNCTAD ระบุว่าภาคการท่องเที่ยวโลกจะสูญเงินราว 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 37 ล้านล้านบาท หรือ 1.5% ของ GDP โลก 

ขณะที่ไทยก็เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักพอๆ กับจาไมกาซึ่งติดลบ 11% ของ GDP ไทยติดลบ 9% ของ GDP

ภาพจาก UNCTAD

ด้านสิงคโปร์นั้น แม้ว่าจะมีการปลดล็อคหรือผ่อนคลายล็อคดาวน์บางส่วนแล้ว แต่การระบาดอีกครั้งของโควิด-19 ก็ทำให้กระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการในต่างประเทศลดลงไปด้วย แน่นอนว่า สิงคโปร์ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเพราะพึ่งพาความต้องการภายนอกประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ 

นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่มีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังไม่สามารถควบคุมหรือจัดการโควิด-19 ได้ อีกทั้งยังได้รับผลกระทบหนักจากเศรษฐกิจที่แย่ตามๆ กันไปด้วย โดยอินโดนีเซียนั้น GDP ติดลบที่ 5.3% ซึ่งถือว่าหดตัวมากสุดในรอบกว่า 20 ปี ถ้ายังไม่หยุดใช้มาตรการควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มข้น ก็จะส่งผลลบทางเศรษฐกิจไปด้วย 

ขณะที่ฟิลิปปินส์ก็ GDP ติดลบมากถึง 16.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ Paracuelles ระบุว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินมากพอๆ กับประเทศอื่นในภูมิภาคที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือผลักดันได้ในทันทีก็อาจจะทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม ธุรกิจต่างๆ จะยิ่งประสบความไม่แน่นอนสูง และสุดท้ายมันก็จะนำไปสู่ภาวะชะงักงันในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา – CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา