MK Group เดินหน้าลุยธุรกิจใหม่ 6 กลุ่ม พร้อมรีแบรนด์ให้วัยรุ่น เจาะตลาดคนรุ่นใหม่มากขึ้น

บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MK Group นำเสนอความหลากหลายของธุรกิจในเครือเป็นครั้งแรกพร้อมโซลูชันอาหารครบวงจร ในงาน THAIFEX – Anuga Asia 2024 โดยธุรกิจ MK Group ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ B2B จนถึงค้าปลีกและการส่งออก

โดย ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MK Group ระบุว่า บูธ MK Group สะท้อนวิสัยทัศน์ เติมเต็มความสุขให้ทุกครอบครัว โดยทั้ง 6 กลุ่มธุรกิจใหม่ในเครือ MK Group ล้วนต่อยอดจากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหาร แบ่งได้ดังนี้

MK Group

กลุ่มแรก: แฟรนไชส์ร้านอาหารไทยสู่เวทีโลก 

MK Group พร้อมเปิดรับคู่ค้าที่จะมาร่วมผนึกกำลังขยายสาขา ถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยหน่วยธุรกิจนี้คือ International Franchise โดยจะช่วยดูแลทุกขั้นตอนทั้งการวางแผน การฝึกอบรมไปจนถึงการขนส่งวัตถุดิบ เพื่อคงคุณภาพและมาตรฐานการบริการตามแบบฉบับของต้นตำรับ ทั้ง สุกี้ MK Restaurants และ ร้านอาหารแหลมเจริญ ซีฟู้ด

M-Senko

กลุ่มที่สอง: โลจิสติกส์ One Stop Services สำหรับธุรกิจทุกประเภท

โลจิสติกส์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตและเดินหน้า ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่การผนึกกำลัง MK Group กับ Senko Group Holding ผู้นำด้านโลจิสติกส์ในญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการโลจิสติกส์แบบห้องเย็นเพื่อส่งสินค้ายาวนานกว่า 100 ปี สู่ M-Senko Logistics ให้บริการโลจิสติกส์แบบ One Stop Services สำหรับธุรกิจทุกประเภท รองรับสินค้าทั้ง Food และ Non-Food พร้อมความเชี่ยวชาญการขนส่งแบบ Cold-chian Logistics ทั่วไทย

มีรถขนส่งทุกอุณหภูมิและทุกขนาด มีระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าอัตโนมัติ มีศูนย์กระจายสินค้าในจุดยุทธศาสตร์ทั้งใกล้สนามบินและท่าเรือ พร้อมระบบติดตามขนส่งแบบเรียลไทม์ตามมาตรฐานสากล ให้บริการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

MK Wellness

MK Sugar Free Gummy

กลุ่มที่สาม สินค้าเพื่อสุขภาพสำหรับทุกคนที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย

เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น Mark One Innovation Center ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ เอ็มเค เวลเนส (MK Wellness) สินค้าทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทยพร้อมรับตัวแทนเพื่อจำหน่ายขยายตลาดสู่ต่างประเทศ

สินค้าเพื่อสุขภาพมีความหลากหลาย เช่น นมยูอชทีและนมอัดเม็ด Memberry ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Memplus และ Fiber Plus เอ็มเค วิตามินกัมมี ผักกรอบเอ็มเคพร้อมทาน รวมกว่า 30 รายการ มีวางจำหน่ายทั้งร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และยังมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดอีกมากภายใต้การผลิตโดยศูนย์นวัตกรรม วิจัยค้นคว้าร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทนเนสซี สหรัฐอมริกา สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬาของมหาวิทยาลัยสึคุบะ ญี่ปุ่น

MK น้ำจิ้มสุกี้

กลุ่มที่สี่ ซอสรสชาติไทยต้นตำรับที่ครองใจผู้บริโภคยาวนาน 

ผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มสุกี้ MK แบบขวด จุดเด่นคือไม่ใส่ผงชูรส สี และสารกันเสีย เก็บได้นาน 1 ปีหากยังไม่เปิดขวด หลังเปิดตัวจำหน่ายที่ร้าน MK ทุกสาขาและร้านสะดวกซื้อทั่วไทย พร้อมส่งออกไปเกาหลี อังกฤษ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา และตั้งเป้าขยายการเติบโตส่งออกในหลายประเทศทั่วโลก พร้อมเดินหน้าเจาะกลุ่มธุรกิจ HORECA เพื่อผลักดันน้ำจิ้มต้นตำรับของไทยสู่ครัวโลก

กลุ่มที่ห้า บริการ OEM/ODM

ภายใต้บริษัท IFS เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มองหาซัพพลายอาหาร ครอบคลุมสินค้าอาหารหมวด เกี๊ยว, ชุบแป้งทอด, ติ่มซำ, บะหมี่ และอื่นๆ ตามความต้องการลูกค้าพร้อมให้บริการโซลูชันอาหารครบวงจร ทั้งให้คำปรึกษา ออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตและหาบรรจุภัณฑ์ การวิเคราะห์ ทดสอบคุณภาพ รวมทั้งการจดแจ้งทะเบียนอาหาร การให้บริการด้านโลจิสติกส์

MK Food Service

กลุ่มที่หก MK Food Service การให้บริการอาหารจากครัวกลาง

สำหรับลูกค้าองค์กรที่กำลังมองหาบริการอาหารพร้อมทาน มีคุณภาพ เหมาะสำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ สายการบิน โรงพยาบาล โรงเรียน

ธีร์ ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการหรือ COO
ธีร์ ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการหรือ COO

ทั้งนี้ ธีร์ ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการหรือ COO เล่าถึงการทำแบรนด์ MK Wellness ไว้ว่า MK Wellness ก็คือ Healthy for You โดยมองว่า อะไรที่ดีต่อสุขภาพลูกค้า ก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขก่อนว่า ตลาดนั้นต้องการให้สุขภาพดีจริงไหม สินค้าบางตัวอร่อยอย่างเดียวแต่ไม่มีประโยชน์ ก็จะไม่ทำ

นอกจากนี้ก็ฉายภาพรวมให้เห็นว่า ปัจจุบันนี้ MK มีสาขาอยู่ในต่างประเทศรวม 33 แห่ง แบ่งเป็น ญี่ปุ่น 25 แห่ง เวียดนาม 5 แห่ง ลาว 3 แห่ง ปีนี้ MK มีแผนขยายไปตามหัวมุมเมืองของประเทศต่างๆ เหล่านี้ที่มี MK อยู่แล้ว ส่วนปีนี้ในไทยก็มีการเปิดไปแล้ว 8-10 สาขา โดยปกติทั้งปีก็เปิดโดยเฉลี่ยที่ 15-20 สาขา ส่วนขนาดของแต่ละสาขาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของห้างสรรพสินค้า ประมาณ 150-300 ตารางเมตร

ขณะที่รายได้ปี 2023 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท ถือว่ามีอัตราที่โตเยอะเพราะเพิ่งหลุดพ้นจากสถานการณ์โควิดระบาดอย่างหนักมา ซึ่งปีนี้ก็ตั้งเป้าว่าจะโตที่ 10% โดยส่วนแบ่งตลาดของ MK Group ในปัจจุบันอยู่ที่ 75%-80% ที่เหลือคือร้านอาหารแหลมเจริญ ซีฟู้ด และร้านอาหารญี่ปุ่น ยาโยอิ นอกจากนี้ก็มี M-Senko Logistics และแฟรนไชส์ด้วย

ส่วนต้นทุนสำหรับคนที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน MK นั้นอยู่ที่ 7-10 ล้านบาทต่อสาขา ซึ่งปัจจุบันนี้ MK มีทั้งหมด 450 สาขา ร้านอาหารแหลมเจริญ ซีฟู้ด 45 สาขา และร้านอาหารญี่ปุ่น ยาโยอิ 200 สาขา ปีนี้ถือว่ากลับมาลงทุนแบบเต็มรูปแบบ รายได้เกือบใกล้ก่อนช่วงโควิระบาดแล้ว ช่วงก่อนโควิดระบาดอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท คิดว่าปี 2024 นี้รายได้น่าจะเกิน

ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MK Group
ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MK Group

ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจนั้น ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MK Group มองว่าเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกด้วย แต่สำหรับร้านอาหารนั้นถือว่าเป็นอุตสาหกรรรมที่ถดถอย กำลังซื้อหดตัว ชาวต่างชาติเข้ามาก็ยังไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังถือว่าเป็นลบอยู่ ซึ่งกำลังซื้อของประชาชนหดตัวนี้คาดว่าน่าจะมาจากหนี้ครัวเรือนค่อนข้างเยอะ

ไม่แน่ใจว่าสิ้นปีหลังเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือไม่ ต้องรอเรื่องงบประมาณ รอการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งปกติแล้วครึ่งปีหลังจะดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก

ส่วนเรื่องที่ MK Group หันมาทำน้ำจิ้มสุกี้ขายนั้น ต้องบอกว่าน้ำจิ้มขายดีมาก คนไทยอยู่ต่างประเทศมักจะซื้อเอาส่งไปให้คนที่นั่นอยู่แล้ว ทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ตอนนี้ยังไม่ได้ทำเรื่องส่งออก แต่ก็มีวางจำหน่ายบ้างแล้วที่ 7-Eleven ส่วนเหตุผลที่ทำน้ำจิ้ม ฤทธิ์มองว่า ตลาดมีขนาดที่เหมาะสม น้ำจิ้มสุกี้ถือว่ามีตลาดที่แคบมาก ทดลองผู้บริโภคดูแล้ว ถ้าเทียบกับน้ำจิ้มทั่วไป เราคลาสสิคมากกว่า กินตลาดซอสพริกได้ เดี๋ยวนี้คนซื้อไปทานหลากหลาย ไม่ได้ทานเฉพาะกับสุกี้อย่างเดียว ทานกับหมูกระทะก็ได้

สำหรับตลาดซอสพริกนั้น ตลาดโลกมีขนาดใหญ่มาก อยู่ที่ 5-6 หมื่นถึง 1 แสนล้าน การทำน้ำจิ้มสุกี้จะไม่ตีกับตลาดซอสพริกศรีราชาแน่นอน เพราะตลาดซอสพริกมีหลากหลาย ต่างชนิด ในส่วนนี้ถือว่าต่างคนต่างขาย

ส่วนความท้าทายเรื่องการแข่งขันหลังโควิดระบาดนั้น เราจะเห็นว่าผู้ประกอบการรายเล็กๆ เช่น หม่าล่า ในปัจจุบันก็ทยอยปิดตัวกันไปเยอะ ได้ยินมาว่าเสื่อความนิยมลง ซึ่ง MK สุกี้ทำมา 40 ปีแล้ว ไม่ใช่เทรานด์ แต่เป็นของกินสามัญทั่วไป เหมือนกินข้าวกระเพราไก่

แหลมเจริญซีฟู้ด

ตอนนี้ก็มีการเปิดร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ดที่มาเลเซีย 3 สาขา เพราะมองว่าอาหารทะเลแบบไทยๆ ไม่มีในโลกนี้ ขณะที่หม้อไฟในโลกมีเยอะแล้ว คิดว่าจะออกไปต่างประเทศได้ ไปซาอุดิอาระเบีย ไปตะวันออกกลางทั้งหมด จะเปิดที่มาเลเซียอีก 5 สาขา รวมเป็น 8 สาขา ขณะที่ไทยมีแล้ว 50 สาขา ตอนนี้ก็เตรียมทรัพยากรสนับสนุนด้วยการทำโรงงานปลากระพงแปรรูป โดย 3 ปีข้างหน้าคิดว่าจะขยายสาขาร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ด สำหรับรายไ้นั้นทำยอดขายได้ 3-4 ล้านบาทต่อสาขาทั้งในไทยและในต่างประเทศ

สำหรับน้ำจิ้ม MK สุกี้ ทำออกตลาดมาได้ 4-5 เดือนแล้ว ขายได้ประมาณ 4 แสนขวดต่อเดือน ยอดขายครึ่งปีแลกประมาณ 300 ล้านบาท ตลาดส่งออกน่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ประมาณ 600 ล้านบาท ขณะที่น้ำจิ้มแหลมเจริญซีฟู้ดกำลังทำวิจัยและพัฒนาอยู่ ตั้งเป้าไว้ว่า 3 ปีน่าจะโต 10%

ปีหน้าจะทำแบรนด์ใหม่ เป็นแบรนด์อาหารญี่ปุ่น เป็นร้านนั่งทาน คาดว่าใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ตอนนี้ก็ใช้คนรุ่นใหม่เข้ามาดูแลแล้ว จะมีการตกแต่งร้าน จาน-ชาม อุปกรณ์ จะมีเนื้อดีๆ มาให้ทาน

ตอนนี้พยายามเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ที่ทานอาหารทันสมัยและดีต่อสุขภาพ เรายึดจุดยืนเดิม ทำให้ลูกค้าได้ทานอาหารปลอดภัย สุขภาพดี อายุมากขึ้นไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล สำหรับสัดส่วนลูกค้าของ MK แบ่งเป็นวัยรุ่น 20% ขึ้นไป คาดว่าน่าจะไปให้ถึง 30% ให้ได้ ตอนนี้เราทดลองทำบุฟเฟต์ซึ่งขัดกับความรู้สึกของเราที่มองว่าเป็นการทานมากเกินจำเป็น (Overeating) เราก็เลือกของคุณภาพดีมาขายบุฟเฟต์เพื่อตอบโจทย์วัยรุ่น มีกำไรได้ระยะยาวไหม ตอนนี้ทำแล้ว 10 สาขา เตรียมปรับปรุง 400 สาขา สาขาละ 1 ล้านก็เป็น 400 ล้านบาท สำหรับ MK ส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 20% มูลค่าตลาดเป็นแสนล้าน

สำหรับประเด็นเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ยอมรับว่าส่งผลกระทบเพราะอุตสาหกรรมอาหารเป็น Labour intensive (ใช้แรงงานเข้มข้น) ผู้ประกอบการจะขึ้นราคาสินค้า ขณะที่ MK Group เป็นเชนใหญ่ เรามีค่าใช้จ่ายหลายตัว เพราะฉะนั้น MK จะขึ้นราคาช้าที่สุด

ที่มา – MK Group

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา