แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ได้เปิดตัวผลวิจัย Truth About Thai Youth ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดจาก Truth Central Study เพื่อทำความเข้าใจลักษณะนิสัยของเยาวชนไทยยุค Gen Z ที่ออกแบบและดำเนินการโดยทีม insights ระดับโลก
เริ่มต้นการนำเสนอโดย ปิยะพร ศรไพศาล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ด้านดิจิตอล แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้แชร์ข้อมูลอินไซต์หลักๆ จาก Truth About Thai Youth โดยสำรวจลึกลงไปสู่สภาพความเป็นจริง ความท้าทาย และความปรารถนาที่อยู่คู่กับเยาวชนไทย รวมไปจนถึงสิ่งอื่นๆ ที่สะท้อนตัวตนที่แท้จริงมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนนี้ แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องสร้างการยึดโยงกับเยาวชนให้มากขึ้นกว่าที่เป็นมา เพื่อให้เกิดผลกับกลุ่มประชาการที่เป็นที่ต้องการกลุ่มนี้ในระยะยาว โดยข้อมูลเชิงลึก 4 ประการ ที่หล่อหลอมอัตลักษณ์และค่านิยมที่หลากหลายของเยาวชนในปัจจุบันดังนี้
-
นักจุดประกายความสร้างสรรค์ (Creative Catalysts): ที่ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เนื่องจากสูญเสียความเชื่อมั่นในสถาบันและคนรุ่นก่อน ทำให้เยาวชนไทยต้องรับหน้าที่รับผิดชอบปฏิวัติ สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
- 52% ของ Gen Z ไทย มองว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นทางสังคมที่สำคัญที่สุด (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 40% ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในระดับโลก)
- 95% ของ Gen Z ไทย ระบุว่าตนเองเป็นผู้สนับสนุนสิทธิสตรี (เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 78%)
- 69% ของ Gen Z ไทย เชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 37%)
-
นักสืบเชิงลึก (Depth Seekers): ที่ค้นหาความจริงอย่างไม่ลดละ
สิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่เป็น ไม่มีอะไรรอดพ้นสายตาเยาวชนไทยในปัจจุบัน พวกเขามีความกระตือรือร้นและมุ่งมั่นที่จะขุดคุ้ยค้นหาความหมาย ข้อเท็จจริงเบื้องหลังของสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
- ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับสองของโลกที่ Gen Z ระบุว่าตนเองเชื่อในทฤษฎีสมคบคิด (30%)
- เยาวชนไทยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มชุมชนต่างๆ ที่คลั่งไคล้ในการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง
เอมพาร์ท (83%), ดีไอวายเออร์ (65%), แฟนพันธุ์แท้ แฮรี่ พอตเตอร์ (59%), แฟนการ์ตูนมังงะ อนิเมะ (48%), เกมเมอร์ (45%), แฟนพันธุ์แท้ เทย์เลอร์ สวิฟต์ (39%)
-
นักท้าทายเหตุและผล (Rational Thought Challengers): ที่บิดเบือนหลักวิทยาศาสตร์และเหตุผลทั้งปวง
จากการแพร่กระจายของข่าวเท็จบนโลกใบนี้ ทำให้ระบบความเชื่อของเยาวชนไทยได้กำลังเปลี่ยนแปลงไป “Delulu is the solulu” (การเพ้อฝันคือคำตอบ) เป็นวลีที่สะท้อนถึงความเป็นนักฝันในตัวเยาวชนไทย การเพ้อฝันหรือคาดหวังแม้จะไร้เหตุผลไปบ้าง แต่อาจเป็นวิธีการแก้ปัญหาให้กับเรื่องท้าทายยากๆ ในชีวิตในทุกวันนี้
- 66% เห็นด้วยว่าการเชื่อในสิ่งที่ไม่มี “เหตุผล” หรือ “หลักวิทยาศาสตร์” นั้นเป็นเรื่องสนุก (เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 62%)
- 66% เชื่อเรื่องจักรราศีสามารถทำนายลักษณะนิสัยได้ (เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 42%)
-
นักสำรวจโลกใบใหม่ (New Realm Explorers) : ที่หลีกหนีจากความเป็นจริงไปสู่โลกส่วนตัว
‘Finsta’ หรือ “อินสตาแกรมหลุม” คืออีกบัญชีหนึ่งที่ผู้ใช้เปิดเพิ่มจากบัญชีหลักหรือ “บัญชีจริง” ปรากฏการณ์นี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของเยาวชนไทย ด้วยการสร้างตัวตนลับหลายรูปแบบได้ช่วยให้พวกเขาหลบหลีกออกจากชีวิตประจำวัน เราค้นพบว่าสิ่งที่ Gen Z ต้องการหลีกหนีมากที่สุดคือความคิดของตนเอง
- 79% มองว่าการ ‘หลีกหนี’ เป็นเรื่องที่ต้องทำเพียงลำพัง ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่น
- 78% กล่าวว่า การดูโทรศัพท์มือถือระหว่างมื้ออาหารเป็นเรื่องปรกติและยอมรับได้
- ประเทศไทยมีอัตราสูงที่สุดในโลก ที่เห็นว่าโลกแฟนตาซีเสมือนจริงที่สามารถเป็น หรือทำอะไรก็ได้ เป็นอีกวิธีการหลีกหนีที่น่าตื่นตาตื่นใจ (43%)
เซีย โค, ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ จากแมคแคน เวิลด์กรุ๊ป ประเทศไทย สรุปสาระสำคัญของงาน ไว้ว่า เป็นเรื่องน่าทึ่งที่เยาวชนของประเทศไทยในวันนี้มีความคิดสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นสูงมาก จากข้อเท็จจริงที่ว่า 74% ของเยาวชนไทยเชื่อว่าคนรุ่นของพวกเขามีอำนาจในการมีอิทธิพลต่อการกระทำและพฤติกรรมของแบรนด์ระดับโลก ในทางที่ดีขึ้นได้นั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา