กลยุทธ์ออกแบบสินค้าสำหรับตลาดคนสูงวัย ต้องเน้นคุณสมบัติและความสวยหรู

Design is a King…Packaging is a Must 

สมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design พูดถึงการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้สูงวัยในเวที BigSmile: Back to the Future (Trend) Forum ตอน เจาะเวลาหาวันสุข ว่า ในการออกแบบ เราจัดหมวดหมู่กลุ่มคน เป็น 6 กลุ่ม กลุ่มเด็ก, วัยรุ่น, เท่ห์ แมน ผู้ชาย, สวย สาว ผู้หญิง, คุณแม่, คนรุ่นใหญ่/ ผู้สูงอายุ

  • กลุ่มเด็ก หลายแบรนด์พยายามพูดคุยด้วยวิธีการใช้รูปเด็ก รูปการ์ตูนที่สินค้า

  • กลุ่มวัยรุ่น จะใช้สีสันฉูดฉาด มีการวางองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ให้ดูสนุกมากขึ้น

  • กลุ่มเท่ห์ แมน ผู้ชาย ผลิตภัณฑ์สีดำ navy blue, สีขาว ตัวอักษรแข็งๆ ทำให้ดูแมนๆ 

  • กลุ่มสวย สาว ผู้หญิง คู่สีที่เล่าเรื่องว่าเป็นสินค้าผู้หญิง ขาว ชมพู ดอกไม้ ผลิตภัณฑ์ที่มีทรงเอวคอด เป็นต้น

  • กลุ่มคุณแม่ จะมีรูปคุณแม่ตั้งท้อง มีความอบอุ่นขณะอยู่กับลูก ชื่อสินค้าที่บอกว่าสำหรับคุณแม่ที่ดูแลลูกในท้อง

  • กลุ่มคนรุ่นใหญ่ ถ้าเป็นรูปคนแก่ เราจะรับได้ไหม? ผมสีดอกเลาระบุไว้ในผลิตภัณฑ์ คนสูงวัยจะไม่ยอมรับเพราะมันเป็นเรื่องความซับซ้อนในการออกแบบ 

การออกแบบสินค้าสำหรับคนรุ่นใหญ่นี้แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ Physical และ Emotional

Physical คือเรื่องของรสชาติ เคี้ยวไม่ค่อยดี ต่อมรับรสลดลง การมองเห็นลดลง กล้ามเนื้อและกระดูก กลิ่น หูได้ยินไม่ชัด

การมองเห็น วิธีแก้ อักษรขนาดใหญ่ ภาษาเข้าใจง่าย สีต้องแยกชัดเจน เพราะกลุ่มคนรุ่นใหญ่แยกแยะยาก แสดงวันหมดอายุชัดเจน อาหารที่เป็นธรรมชาติ คนรุ่นใหญ่ชอบ พวกอาหารออร์แกนิกส์ 

กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ผลิตภัณฑ์ต้องเปิดง่าย แกะง่าย เพราะกล้ามเนื้อเขาแข็งแรงน้อยลง 

หู เวลาเปิด – ปิดผลิตภัณฑ์ต้องได้ยินเสียงปิด เพื่อทำให้เขามั่นใจว่าเขาปิดผลิตภัณฑ์แล้ว

Emotional แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ ซื้อเอง กับไม่ได้ซื้อเอง คือลูกหลานซื้อให้

ในส่วนของผู้สูงวัยที่จะซื้อสินค้าเอง มีปัจจัยสำคัญ ดังนี้

  • บอกถึงคุณสมบัติของตัวสินค้า ชัดเจน
  • สื่อถึงปัญหา
  • ใส่คำว่าเหมาะสำหรับ Adult (ผู้ใหญ่)
  • ต้องดูพรีเมียม มีระดับ
  • Look & Feel ต้องดูไม่ใช่สำหรับผู้สูงวัย

คนอื่นซื้อให้ ผู้สูงวัยไม่ได้ซื้อเอง

  • บอกถึงคุณสมบัติของตัวสินค้า ชัดเจน 
  • สื่อสารถึงปัญหาชัดเจน
  • Look & Feel ต้องดูเป็นผู้สูงวัย

ยกตัวอย่างสินค้าไลฟ์รี่ (กางเองอนามัยสำหรับปัสสาวะเล็ด) 

คนญี่ปุ่นก้าวข้ามการเล่าเรื่องที่ไม่ได้นำเสนอแบบคนไทย เขาจะเลือกซื้อสินค้า แบบที่เขาหยิบซื้อได้อย่างมั่นใจ แบบไม่ต้องบอกวัย เลือกใช้ดีไซน์ที่เข้ากับความเป็นตัวตนของคนนั้นๆ มากขึ้น

สินค้าไลฟ์รี่ในไทย

สินค้าญี่ปุ่นจะบอกชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ แก้ปัญหาอะไร แต่ไม่ต้องบอกว่าเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ต้องมีรูปคนสูงวัย เพราะอาการทางสุขภาพเหล่านี้มันบอกชัดเจนอยู่แล้ว ดังนั้น สินค้า จึงจะต้องมีลักษณะที่ดูไม่สูงวัย แต่เน้นดูเป็นสินค้าพรีเมียมแทน

สินค้าไลฟ์รี่ในญี่ปุ่น

ตัวอย่างสินค้าพรีเมียม ป๊อกกี้รสไวน์แดงกับรสวิสกี้

ป๊อกกี้รสไวน์แดง ภาพจาก Amazon Japan

ป๊อกกี้รสไวน์แดง

ป๊อกกี้รสไวน์แดง ภาพจาก Amazon Japan

ป๊อกกี้รสวิสกี้

ป๊อกกี้รสวิสกี้ ภาพจาก Amazon Japan

 

ป๊อกกี้รสวิสกี้ ภาพจาก Amazon Japan

ตลาดผู้สูงวัยกำลังเนื้อหอม ผู้สูงวัยมีทุกอย่าง มีสถานะทางสังคม ใส่ Rolex ดื่มไวน์ที่ดูมีระดับ เทสต์เป็นอีกระดับหนึ่งที่เด็กๆ อยากทำตาม หมายความว่าเด็กๆ กำลังตามเทสต์นี้ที่โคตรพรีเมียม เทรนด์ญี่ปุ่นกำลังมาทางนี้ ตลาดผู้สูงวัยยังไปได้อีกไกล

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์