แนวคิดเรื่องเกษตร 4.0 มีการพูดถึงอยู่พอสมควร แต่มีเกษตรกรไม่มากนักที่สามารถทำได้ โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต้องมีการแปรรูปและทำตลาดควบคู่กันไปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ขยายโอกาสทั้งในและต่างประเทศ
ด้วยแนวคิดดังกล่าว ราเมศ รัตยันตรกร เกษตรกรจากจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ก่อตั้ง Madame Mango (มาดามแมงโก้) ผลิตภัณฑ์มะม่วงแปรรูป ได้แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยการสร้างแบรนด์สินค้าขึ้นมา โดยใช้คำว่า Mango เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งไทยและเทศเข้าใจได้ง่ายๆ เป็นจุดเริ่มต้น
Madame Mango มะม่วงแปรรูปจากเชียงใหม่
ราเมศ บอกว่า จากสวนมะม่วงกว่า 40 ไร่ ที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ที่ถือเป็น 1 ในแหล่งการปลูกมะม่วงที่ดีที่สุดของประเทศ ทั้งในเรื่องอากาศ และสภาพดิน ได้รับรองคุณภาพ GAP จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มะม่วงน้ำดอกไม้แต่ละลูกจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 250 กรัม (มะม่วงน้ำดอกไม้ สีทอง คือเกรด ส่งออก / มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 คือเกรดสำหรับนำมาแปรรูป) ทั้งหมดมุ่งทำตลาดทั้งสินค้าแปรรูปและไม่ได้แปรรูป ในชื่อแบรนด์ Madame Mango
สำหรับสินค้าแปรรูป พระเอกคือ มะม่วงอบแห้ง Madame Mango ปราศจากน้ำตาล หรือมีน้ำตาล 0% (Sugar Free) เหมาะกับคนรักสุขภาพ ไม่ชอบรสหวาน เพราะมะม่วงน้ำดอกไม้มีรสหวานในตัวเอง ประโยชน์ที่ได้คือ เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี, มีโพแทสเซีมบำรุงกล้ามเนื้อ ลดความเครียด คลายความกังวล, สร้างออกซิเจนให้ร่างกายด้วยธาตุเหล็กบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง และมีประโยชน์อีกมาก
นอกจากนี้ยังมีมะม่วงน้ำดอกไม้แช่อิ่ม และในอนาคตจะมีสินค้าเพื่อสุขภาพอื่นๆ ตามมา
ขณะที่สินค้าที่ไม่ได้แปรรูป จะมีมะม่วงน้ำดอกไม้สดผ่านการคัดสรรอย่างดี พร้อมแพ็คเกจสวยงาม ซึ่งล่าสุดได้รับความสนใจจากตัวแทนในประเทศจีน สั่งซื้อเป็นจำนวน 6 ตัน ในครึ่งปีแรกของปี 2560
หาตัวแทนจำหน่าย เปิดตลาดต่างประเทศ
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า สินค้าได้รับความสนใจจากตัวแทนในตลาดจีน ถือเป็นการเปิดตลาดต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทย อยู่ระหว่างการหาตัวแทนจำหน่ายในจังหวัดต่างๆ รวมถึงจะพัฒนาช่องทางออนไลน์ โดยใช้โซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook และ LINE เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าถึงได้ง่าย
ราเมศ บอกว่า Madame Mango เป็นสินค้าเกษตร 4.0 ที่มีคุณภาพส่งออก ทำตลาดได้ไม่ยาก ใครที่สนใจอยากเป็นตัวแทนจำหน่าย สามารถติดต่อได้โดยตรงที่เบอร์โทร 093-261-8999 /098-838-7556/063-197-8799 หรือ ติดต่อทาง LINE ที่ id: madamemango 56 ใช้เงินทุนเริ่มต้นไม่มาก ก็สามารถเริ่มต้นได้ คืนทุนเร็ว สั่งสินค้าไปขายได้ตลอดโดยไม่ต้องตุนสินค้าไว้
สร้างแบรนด์ให้ดี ตีตลาดออนไลน์ – ออฟไลน์
สำหรับการคิดค้นและพัฒนาแบรนด์ Madame Mango นั้น ราเมศ บอกว่า เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำตลาด นอกจากคุณภาพของสินค้าที่ต้องพิถีพิถันในทุกขั้นตอนแล้ว การสร้างแบรนด์สินค้าจะช่วยสร้างการรับรู้จดจำ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้ง แพ็คเกจ และฉลากสินค้า การใช้สื่อต่างๆ ทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
อีกประเด็นที่เกษตรกรมองข้าม หรือยังไม่มีความรู้คือ การทำตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้สินค้าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด
นอกจากแบรนด์ Madame Mango แล้ว ราเมศ บอกว่า ที่สวนมะม่วง อ.พร้าว ยังรับให้คำปรึกษาและสร้างแบรนด์ OEM ให้ด้วย โดยปีที่ผ่านมา มีแบรนด์ที่ใช้วัตถุดิบจากที่นี่ สามารถนำสินค้าขายออกสู่ตลาดสำเร็จแล้ว 1 แบรนด์ ขายมะม่วงอบแห้งได้แล้ว 100 กิโลกรัมแรก และเตรียมสั่งเพิ่มเพื่อไปทำตลาดประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมีผู้สนใจจะสร้างแบรนด์ใหม่อีก 2-3 ราย
“เราอยากเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกษตร 4.0 รุ่นใหม่ หันมาสร้างแบรนด์กันเอง ไม่ต้องโดน พ่อค้าคนกลางกดราคา และกล้าที่จะทำตลาดออนไลน์เอง ไม่ต้องไปง้อพื้นที่ขายอีกต่อไปครับ”
สรุป
แนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรของไทย ด้วยแนวคิดสินค้าเกษตร 4.0 คือ เกษตรกรต้องพัฒนาตัวเอง นำเทคโนโลยีและความรู้มาใช้ยกระดับการผลิตทั้งกระบวนการ เพื่อสร้างสินค้าที่มีคุณภาพ เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า สร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ ซึ่ง Madame Mango เป็นตัวอย่างของความสำเร็จในก้าวแรกได้อย่างดี ผู้บริโภคทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมที่จะซื้อเพื่อเชื่อมั่นในคุณภาพอย่างแท้จริง มากกว่าจะซื้อเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่ยั่งยืน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา