มุมมองใหม่ของโรงหนังลิโด้ สู่ “LIDO CONNECT” ภายใต้ LOVEiS Entertainment

ลิโด้กลับมาอีกครั้งภายใต้ชื่อ LIDO CONNECT พร้อมผู้ดูแลคนใหม่ LOVEiS Entertainment เตรียมปั้นเป็นศูนย์สร้างสรรค์แหล่งศิลปะ วัฒนธรรมทุกแขนง

LIDO CONNECT
LIDO CONNECT

LOVEiS Entertainment ผู้จัดการคนใหม่ของลิโด้

หลังจากโรงภาพยนตร์ลิโด้ได้หมดสัญญากับทางกลุ่ม Apex ที่เป็นผู้บริหารโรงภาพยนตร์ ทำให้สำนักจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ผู้ถือสัมปทานพื้นที่สยามสแควร์ต้องทำการจัดสรรกับพื้นที่แห่งนี้ และก็เป็นกระแสฮือฮาอยู่พักใหญ่ว่าจะนำพื้นที่นี้ไปทำอะไรต่อ หลายคนคิดว่าอาจจะไปทำห้างสรรพสินค้าอีก

แต่ทางสำนักจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ยังคงมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้สยามสแควร์ ยังคงเป็นแหล่งรวบรวมศิลปะวัฒนธรรม นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ จึงไม่ได้นำลิโด้ไปทำอย่างอื่น

จนถึงล่าสุดได้ทำการประกาศแล้วว่าทิศทางของลิโด้ต่อไปนั้นจะอยู่ภายใต้การบริหารงานของ LOVEiS Entertainment หรือค่ายเพลง LOVEiS ที่หลายคนรู้จักกันนั่นเอง

LOVEiS เป็นกลุ่มนักดนตรี นักแต่งเพลง ผู้สร้างประวัติศาสตร์วงการเพลงไทยจากค่ายเพลงเล็กๆที่มีแนวทางเป็นของตัวเอง กลายเป็นกลุ่มธุรกิจเพลงที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจด้วยเสียงเพลงให้คนไทยมากกว่า 20 ปี และมีจุดกำเนิดจากสยามสแควร์ตั้งแต่ยังใช้ชื่อเบเกอรี่มิวสิค

โดยที่ LOVEiS Entertainment มีทีมผู้บริหารนำโดย เทพอาจ กวินอนันต์ ,บอยโกสิยพงษ์ และนภ พรชานิ ที่จะเข้ามารับช่วงการบริหาร มีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าจะมุ่งสนับสนุนกลุ่มอาชีพหลากหลายไม่เพียงแค่ด้านดนตรีแต่ยังต่อยอดไปยังศิลปะการแสดงนักออกแบบนักสร้างสรรค์นวัตกรรม

ใช้ชื่อใหม่ว่า LIDO CONNECT มีคอนเซ็ปต์ที่ว่าให้พื้นที่ใจกลางสยามอย่างลิโด้นี้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม และพัฒนาศิลปะวัฒนธรรม และนวัตกรรมสาขาต่างๆ เป็นพื้นที่ในการแสดงออกที่สามารถต่อยอดในอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่จำกัด

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม ให้เหตุผลในการเลือก LOVEiS เข้ามาบริหารลิโด้ว่า

พื้นที่ลิโด้มีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่ ตัวจุฬาฯ เองไม่มีกำลังไปบริหารเองได้ ที่ผ่านมาเราก็มองหาพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพมาร่วมกับเรา เราจึงมองที่ LOVEiS ไว้ด้วยเพราะมีแหล่งกาเนิดเดียวกันคือสยามสแควร์มีความผูกพันกับพื้นที่นี้มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน

เราคิดว่า LOVEiS มีเจตนารมณ์ที่คล้ายกันคือไม่ใช่กาหาผลกำไร แต่จะสามารถเติมเต็มพื้นที่นี้ในฐานะ Community ที่เริ่มจากคนดนตรี ซึ่งสามารถขยายไปยังผู้คนกลุ่มต่างๆ ในเรื่องศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย เชื่อว่าการเข้ามาของ LOVEiS และพันธมิตรจะสามารถขยายกลุ่มผู้คนสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ทำให้กลายเป็นเดสติเนชั่นใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ

ชื่อลิโด้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือไม้โท

โดยยังคงใช้ชื่อโครงการว่าลิโด้เพื่อความเคารพสถานที่เดิม แต่เติมคำว่า Connect เข้าไปเป็น LIDO CONNECT เพื่อให้ย้ำเป้าหมายที่ต้องการเชื่อมทุกกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างไม่ปิดกั้น

บอย โกสิยพงษ์ เสริมว่า จริงๆ แล้วคอนเซ็ปต์ของลิโด้ในคร้ังน้ีมาจากคำเขียนที่เป็นโลโก้ของลิโด้เดิม ปกติแล้วพวกเราทุกคนจะอ่านกันว่าลิโด้ แต่จริงๆ แล้วคำเขียนจะเขียนว่าลิโดมาตลอด ตั้งแต่ที่ลิโด้ก่อตั้งเมื่อยุค 70

เลยจับเอาเรื่องโน้ตของไทยที่มีอยู่ 5 โน้ต มาเสริมให้คอนเซ็ปต์ของลิโด้ที่จะเปลี่ยนแปลงไป จากพื้นเสียงในระนาบเดิมที่อานว่า ลิโด เราจะเติมไม้โทลงไป เพื่ออความหมายว่าเราจะทำสิ่งท่ีมากกว่า เพิ่มเติมให้มากขึ้นไปอีกสองเท่า เพิ่มทุกอย่างให้มากขึ้นสองเท่า

LIDO CONNECT จะเป็นอะไรบ้าง

ความหมายของ LIDO CONNECT จะเป็นผู้เชื่อมโยง เป็น Connection Hub ทุกรูปแบบ ทุกอาชีพ และผลิตภัณฑ์ เกิดการสร้างงานใหม่ๆ ร่วมกัน การร่วมงานระหว่างสาขาอาชีพต่างๆ อย่างไม่มีขีดจากัด จากกลุ่มคนที่อาจจะไม่เคยเจอกันเลยได้มาเจอกันที่นี่ ผู้ชม หรือผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมในลิโด้จะได้ร่วมสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ใหม่ๆ เป็น Anotherlevel ของ Commercial Space

โดยที่พื้นที่ของโรงภาพยนตร์ยังคงเก็บไว้ แต่ดัดแปลงภายในบางส่วนให้เข้ากับการใช้งานที่หลากหลาย ตกแต่งภายนอกให้สวยงามด้วยความเคารพกับโรงภาพยนตร์เดิม ในคอนเซ็ปต์ Back to Original

ความโชคดีเรื่องขนาดของโรงภาพยนตร์พอเหมาะกับการใช้งานไม่ใหญ่เกินไป และไม่เล็กเกินไป ทำให้เปิดกว้างกับงานแสดงได้หลายประเภท ศิลปิน สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างงานได้ไม่จำกัด

ส่วนด้านหน้าของอาคารพยายามเปิดให้มองเห็นจากภายนอกสู่ภายในและสามารถเดินทะลุโครงการไปอีกด้านของอาคารซึ่งเป็นถนนเส้นหลักภายในสยามสแควร์

ลิโด้ได้สร้างขึ้นในยุค 70’s และได้รีโนเวทในยุค 90 นำมาสู่คอนเซ็ปต์การออกแบบ Back to Original เพื่อการเคารพโรงภาพยนตร์เดิม และดึงเอาเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมยุค 70’s ซึ่งคือยุคที่โรงภาพยตร์ลิโดสร้างขึ้นกลับมาใช้ เก็บโครงสร้าง และ element การตกแต่งภายในของยุค 90 ไว้ ผสมผสานกับ design ในยุคปัจจุบัน

ภายในโรงภาพยนตร์จะถูกดัดแปลงใหม่ ให้เป็น Muliti Function รองรับ Concert Hall, ละครเวที, Exhibition, Record ,ถ่ายภาพยนตร์ซึ่งขนาดพื้นที่เดิมที่มีอยู่แล้วเป็นขนาดความจุพอดีที่เราต้องการสำหรับการแสดงไม่เล็กเกินไปไม่ใหญ่เกินไป

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา