ปีที่แล้วเราได้ยิน กรณีแฮกเกอร์มาขู่สถาบันการเงินไทยว่าจะทำให้ระบบล่ม (วิธีการ DDos Attact) แต่ทำไม่สำเร็จ เพราะทุกธนาคารหันมาร่วมมือกัน และป้องกันไว้ได้ (แฮกเกอร์เบื่อและวางมือไปเอง)
ครั้งนี้ทั้งแบงก์กสิกรไทย และ กรุงไทย เขาสืบเจอร่องรอยแฮกเกอร์ เจาะเข้ามาในระบบหน้าบ้าน (เว็บไซต์ส่วนที่ให้กรอกข้อมูลแต่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมของธนาคาร) ทำให้ข้อมูลลูกค้าบางส่วนอาจรั่วไหลออกไป
พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า วันที่ 25 ก.ค.61 แบงก์เราพบว่า มีแฮกเกอร์พยายามเจาะเข้าระบบของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งแฮกฯ เข้ามาเฉพาะในส่วนระบบหน้าเว็บไซต์ที่เปิดให้ลูกค้าบรรษัทกรอกข้อมูลเพื่อสมัครใช้บริการหนังสือค้ำ
โดยข้อมูลที่อาจจะหลุดไปเป็
โดยวันที่ 26 ก.ค.2561 เราติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อประสานงาน และยกระดับการป้องกันในอุตสาหกรรมธนาคารแล้ว
KBank อัพระบบเตรียมใช้ Monitoring AI อุดรูรั่วแฮกเกอร์
สมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส–เทคโนโลยี กรุ๊ป บอกว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค. เราเจอร่องรอยว่ามีแฮกเกอร์เข้ามา เราก็ปิดระบบหน้าเว็บ 1 ชม. เมื่ออุดรูรั่วได้ก็เปิดให้บริการอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้เราพัฒนาเครื่องมือป้องกันการแฮกฯ ให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น และเราจะเฝ้าระวังต่อเนื่อง
“แฮกเกอร์ เขามีความพยายามต่อเนื่องที่จะแฮกฯ ข้อมูลอยู่แล้ว แต่เราก็ต้องพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ให้ทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไป อย่างตอนนี้เราเตรียมเครื่องมือต่างๆ เช่น Monitoring AI (ซอฟท์แวร์ที่ใช้เฝ้าระวังแฮกเกอร์โดยไม่ต้องใช้คนตรวจสอบข้อมูล) เพื่อป้องกันกรณีแบบนี้อีก ขณะเดียวกัน AI จะช่วยจับผิด อุดรูรั่วต่างๆ เร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้เราก็ต้องพัฒนาบุคลากรให้เท่าทัน”
โดยทั้งหมดนี้จะสร้างความร่วมมือระหว่างธนาคารต่างๆ สมาคมธนาคารไทย หน่วยงานรัฐทั้ง กระทรวงการคลัง ธปท.ที่จะทำให้การรักษาความปลอดภัยดีขึ้น เป็นมาตรฐานระดับสากล
“ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นของลูกค้า เราต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าเราจะเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และป้องกันอย่างแข็งขัน”
KTB รับข้อมูลลูกค้ารายย่อย 120,000 รายถูกแฮกฯ แต่เพิ่มมาตรการณ์ป้องกันแล้ว
ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย บอกว่า จากการตรวจสอบระบบ IT พบว่า ก่อนวันหยุดยาวปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าที่ขอสินเชื่อเข้ามาในเว็บไซต์(คำขอสินเชื่อลูกค้ารายย่อยที่สมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัย สมัครสินเชื่อกรุงไทย Supper Easy ผ่านทางช่องออนไลน์) กว่า 1.2 แสนราย (ในนั้นเป็นนิติบุคคลประมาณ 3 พันราย) ถูกแฮกฯ เข้ามา แต่ธนาคารก็สกัดกั้นการรั่วไหลของข้อมูลไว้ได้ และไม่มีความเสียหายทางการเงินแต่อย่างใด
ทางธนาคารมีการติดต่อกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว ซึ่งไม่พบความเสียหายใดๆ ตอนนี้ธนาคารร่วมมือกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security & Digital Forensics ให้เข้ามาตรวจสอบและยกระดับการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าทั้งหมดของธนาคารโดยทันที เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของลูกค้าทุกกลุ่มมีความปลอดภัยมากที่สุด
สรุป
แฮกเกอร์ เจาะเข้าระบบหน้าเว็บไซต์ของธนาคารทั้ง KTB และ KBank เลยทำให้ข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าบางส่วนอาจรั่วไหลออกไป ทั้งสองธนาคารเลยอัพเกรดระบบป้องกันด้านไซเบอร์ให้ดีขึ้น
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา