ตั้งแต่พ่อค้าแม่ค้าในตลาด มนุษย์เงินเดือนไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ ใครๆ ก็บอกว่าเศรษฐกิจไทยปี 2019 จะแย่ลง แล้วธุรกิจธนาคารกรุงไทยจะเป็นอย่างไร?
กรุงไทยรับเศรษฐกิจชะลอฉุดสินเชื่อโตชะลอ จับตาหนี้ SME-NPA
ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย บอกว่า ปี 2019 แม้ธนาคารกรุงไทยตั้งเป้าหมายสินเชื่อรวมจะเติบโต 5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมองว่าสิ้นปีนี้จะเติบโตเพียง 4% กว่าเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้สินเชื่อโตช้าลง มาจาก 1.การปรับลดประมาณการณ์ GDP ของไทย และ2. เกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง Loan to value (LTV)
“หลังการเลือกตั้ง การเมืองไทยดูมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ยังมีปัจจัยภายนอกที่ต้องจับตามอง เช่น Trade war (สงครามการค้า) ที่ส่งผลกระทบต่อ supply chain ของไทยซึ่งเชื่อมโยงกับจีนและสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน Trade War ถือเป็
ทั้งนี้สินเชื่อของธนาคารชะลอการเติบโต โดยไตรมาส 1/2019 เติบโตราว 1% เพราะได้รับผลกระทบจาก 3 ส่วน ได้แก่ สินเชื่อ SME สินเชื่อการเกษตร และสินค้าหมวดเทคโนโลยี ดังนั้นทางธนาคารอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบของลูกค้าแต่ละกลุ่มเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือโดยเฉพาะ
ด้านหนี้เสีย (NPL) ของธนาคารไตรมาส 1 ปีนี้อยู่ที่ 4.5% และจะควบคุมให้อยู่ระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปี กลยุทธ์หลักคือการจับตาสินเชื่อ SME และ NPA (ทรัพย์รอการขาย) ปัจจุบัน NPA ของธนาคารมียอดคงค้างอยู่ที่ 32,000 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการประเมินค่าเสื่อมของ NPA ที่ค้างพอร์ทมากกว่า 6-7 ปี กำลังศึกษาทางเลือกในการบริหารจัดการ เช่น การขายหนี้ออกไป
KTB เตรียมยุบ 50 สาขาปรับแผนสาขา เชื่อมแผนเพิ่มรายได้จากธุรกิจใหม่ของ KTC
ปี 2019 ทางธนาคารมีแผนปรับสาขาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คาดว่าจะลดสาขาลง 50 สาขา และเปิดสาขาใหม่ๆ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น โรงพยาบาลศิริราช สิงห์คอมเพล็กซ์ ฯลฯ คาดว่าสิ้นปีจะมีสาขา 1,100 สาขาใกล้เคียงกับปัจจุบัน
ทั้งนี้ปี 2019 คาดว่าจะมีรายได้จากบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ที่ขยายธุรกิจใหม่ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจรายย่อยอย่าง Nano Finance, Pico Finance โดยธนาคารกรุงไทยถือหุ้นใน KTC 49% และถือหุ้นในบริษัทใหม่ด้าน Pico Finance และ Nano Finance อีก 25%
สรุป
รัฐบาลใช้ธนาคารกรุงไทยเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เลยเป็นทั้งข้อดี ให้มีงาน มีฐานลูกค้าที่จำเป็นต้องใช้กรุงไทยเพื่อรับเงินจากภาครัฐ แต่มีข้อเสียที่ต้องรับนโยบายภาครัฐมาทำ แม้ว่าจะไม่คุ้มต้นทุนก็ต้องทำ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา