เศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโตต่อเนื่อง แต่ไม่ทั่วถึง ไม่แน่นอนสูง การท่องเที่ยวจะฟื้นตัว ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการจีดีพีปี 2566 อยู่ที่ 3.2% จากเดิมอยู่ที่ 3.2%-4.2% ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ปีนี้สิ่งที่กังวลคือเรื่องเงินเฟ้อตั้งแต่ต้นปีแล้ว ปีหน้า จะให้น้ำหนักเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ตัวเลข GDP โลกชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ
ปีนี้ตั้งแต่ต้นปี ธนาคารกลางสหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังจากปี 2564 มีทั้งคลายล็อคดาวน์โควิดและการทำ QE เยอะ ตอนนั้นมองว่าเงินเฟ้อเป็นปัจจัยชั่วคราว แต่ปีนี้ผลกระทบโควิดยังไม่คลี่คลายดี มีเรื่องสงครามรัสเซีย ยูเครน ทำให้เกิดวิกฤตพลังงาน อาหาร ส่งผลต่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ปัจจัยเรื่องซัพพลายเชนเริ่มคลี่คลายลงแล้ว ประเทศผู้ผลิตกลับมาผลิตได้ แต่ไม่ได้บอกว่านโยบายการเงิน ตึงตัวดอกเบี้ยจะลดลง ประเด็นเงินเฟ้อจะเป็นประเด็นหลักของธนาคารกลางทั่วโลก
ปีหน้า ปี 2566
การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักยังขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่ช้าลง ผลในระยะแรกยังไม่เห็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ คนยังมีงานทำ ธุรกิจยังไม่ปลดพนักงานออก แต่ภาพตรงนี้จะเริ่มทยอยเห็นในปีหน้า ซึ่งเศรษฐกิจยุโรปกระทบมากกว่าเพราะเจอวิกฤตพลังงานก่อนหน้าแล้ว
ในส่วนของปีหน้า ปี 2566 เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐทั้งปีอาจไม่โตเลย บางไตรมาสเศรษฐกิจอาจหดตัว ไทยจะได้รับผลกระทบจากการส่งออก เศรษฐกิจโลกถดถอยปีหน้าจะส่งผลกระทบต่อไทยมากขึ้น
แนวโน้มจีนเปิดประเทศ
มีแนวโน้มเปิดประเทศมมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566 จากเดิมที่อาจเปิดประเทศไตรมาส 4 แต่ดูทิศทางแล้วน่าจะเปิดประเทศเร็วที่สุดคือเดือนเมษายนหรือสิ้นไตรมาส 1 ต้องติดตามการประชุมของจีนช่วงเดือนมีนาคม
การเปิดประเทศของจีนจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโลกและไทย แต่ถ้าจีนติดเชื้อเยอะหลายระลอก อาจจะต้องพิจารณาปัจจัยระหว่างทางอีกที ตอนนี้เริ่มมีการระบาดในเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้น แต่จีนคงไม่ล็อคดาวน์เข้มข้นแบบเดิม หลังจากนี้ต้องดูจำนวนการติดเชื้อของจีน จากนี้จนก่อนถึงตรุษจีน (ปลายมกราคม 2566) จะเป็นอย่างไร น่าจะเป็นการระบาดในหัวเมืองใหญ่ๆ ของจีน คนจะเดินทางกลับบ้านก็จะมีการนำเชื้อกลับไปแพร่อีก
ถ้าสถานการณ์ระบาดลดลงในช่วงมีนาคม ต้องรอดูสัญญาจากการประชุมสภาจีน ถ้ามีผลดีคงมีการเปิดประเทศ ซึ่งจะเปิดประเทศจริงก็คงมีเงื่อนไข ต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ดูทั้งจำนวนติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตและความสามารถในการรองรับโรคระบาดด้านสาธารณสุขของจีนด้วย
ปีหน้า ท่องเที่ยวจะเพิ่มเป็น 22 ล้านคน ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 11 ล้านคน
การส่งออกปีหน้าจะติดลบเล็กน้อยที่ 1.5 เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอ สินค้าโภคภัณฑ์เช่น น้ำมันจะชะลอตัวลง มูลค่าการส่งออกน่าจะหดตัวเล็กน้อย ปริมาณการส่งออกลดลงแต่ราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง คาดว่าตัวเลขส่งออกจะติดลบ คาดว่ารายได้จะหายไปราว 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมกรณีที่ไทยอาจเร่งเดินหน้าหาตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง
นักท่องเที่ยวที่เข้ามา ไม่ใช่คนจีนเป็นหลัก แต่จะเป็นนักท่องเที่ยวจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก ตลาดอื่นๆ จีนไม่ใช่กลุ่มใหญ่ นักท่องเที่ยวจีนปัจจุบันอยู่ในหลักหมื่น ไตรมาสที่เป็น high season ของจีน คือไตรมาส 1, ไตรมาส 3
จากสถานการณ์โควิดระบาด ต้องดูว่าคนจีนกลัวการออกนอกประเทศหรือไม่ ต้องดูไฟลท์บินด้วยว่ารองรับนักท่องเที่ยวแค่ไหน ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนจะทยอยกลับมาจากหลักหมื่นค่อยๆ เพิ่มเป็นหลักแสน
เศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัวต่อเนื่อง อยู่ที่ 3.2% การท่องเที่ยวดีขึ้น การส่งออกลดลง อัตราแลกเปลี่ยนปีหน้า มีโอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งค่าหลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งก็ต้องดูการส่งออกของไทยและการเลือกตั้งด้วย อัตราดอกเบี้ยของไทยน่าจะขึ้นอีก 2 ครั้งอยู่ที่ 1.75%
เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องแต่ไม่ทั่วถึง ไม่แน่นอนสูง
สำหรับภาคธนาคาร สินเชื่อโตอย่างจำกัด สินเชื่อรวม 4.7% สินเชื่อโตนี้น่าจะมาจากธุรกิจรายใหญ่ แต่สำหรับระดับ SMEs อาจไม่ฟื้นตัวดีนักจากวิกฤตโควิดที่ผ่านมา คุณภาพสินทรัพย์ยังต้องติดตามอยู่ NPL อาจไม่ลดลงมากจากปีนี้ ปีนี้อยู่ที่ 2.75% ปีหน้า 2.55-2.80%
สำหรับภาคธุรกิจไทยในปี 2566
เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ พูดถึงภาพรวมธุรกิจไทยปี 2566 ว่า ภาคธุรกิจจะเจอหลายโจทย์ เศรษฐกิจไม่แน่นอน ตัวขับเคลื่อนหลักคือท่องเที่ยวจากต่างชาติเพิ่มขึ้นเท่าตัวอยู่ที่ 22 ล้านคน ช่วงแรกจะมีแรงหนุนจากเม็ดเงินการเลือกตั้ง ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องฟื้นตัว แต่สิ่งที่ลดทอนรายได้คือเศรษฐกิจโลก ธุรกิจที่เกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้าจะเจอแรงกดดันให้อ่อนตัวลงและอาจเจอค่าเงินบาทแข็งในช่วงต้นปี
สำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันที่เป็นวัตถุดิบ อาจไม่เป็นแรงกดดันมากเหมือนปีนี้ แต่ภาคธุรกิจจะเจอต้นทุนอย่างอื่นคือค่าไฟฟ้า ช่วงเมษายน ปี 2566 อยู่ที่ 5.69 บาทต่อหน่วย ภาคธุรกิจจะเจอค่าไฟที่เร่งตัวต่อเนื่อง ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม 5% ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนปีหน้าไม่แน่ว่าค่าแรงจะขึ้นอีกหรือไม่ นโยบายจากการเลือกตั้งอาจส่งผลให้ค่าแรงขึ้น ซึ่งปัจจัยโดยรวมส่งผลให้ค่าแรงต้องขึ้นอยู่แล้ว ทั้งจากแรงงานที่ขาดแคลน คนเกิดใหม่น้อยลง
ภาคธุรกิจ โดยรวมต้นทุนไม่ลดลง ปัจจัยของภาคธุรกิจจะส่งผลกระทบต่างกันตามภาคธุรกิจ ซึ่งก็มีทั้งปัจจัยบาทแข็งค่า ดอกเบี้ยขึ้น ค่าแรงเพิ่ม ค่าไฟเพิ่ม เศรษฐกิจโลกถดถอย
รายได้ฟื้นตัวไม่ราบรื่น ต้นทุนไม่ลดลง การฟื้นตัวรายได้ไม่เท่ากันเป็นลักษณะ K Shape หมวดท่องเที่ยว โรงแรม สินค้าจำเป็น อาหาร ค้าปลีก โตต่อเนื่องแต่โตช้าลง ที่ยังลำบากต่อเนื่องคือส่งออก อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เป็นการฟื้นตัวของธุรกิจที่ไม่เท่ากัน การฟื้นตัวไม่แน่นอน ค่าครองชีพ ต้นทุนสูง หนี้ครัวเรือนกดดัน
เรื่อง ESG มาแน่นอน
Climate Change เริ่มเกิดขึ้นถี่ รุนแรงขึ้น ทั่วโลกรวมทั้งไทยประกาศจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ ต่อไปจะมีมาตรการเก็บค่าธรรมเนียม (CBAM) ของยุโรป ซึ่งไม่จำกัดแค่ในยุโรป แต่จะมีสหรัฐ ญี่ปุ่น ตามมา ส่วนใหญ่เป็นหมวดที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ ซึ่งแบงก์ชาติก็พยายามออกเกณฑ์ Green Taxonomy เช่น ธุรกิจอะไรเป็นสีอะไร ตอนนี้เตรียมการอยู่และน่าจะเริ่มทำปีหน้า ซึ่งก็มีกลุ่มพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตร
ธุรกิจที่ปรับตัวด้านนี้ไม่ทัน จะกระทบจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง นอกจากเศรษฐกิจที่ไม่นิ่งแล้ว ยังมีเรื่อง ESG ที่กำลังจะมา
ปี 2566
ธุรกิจที่จะโต
คือโรงแรม นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเท่าตัว MICE ดีขึ้น รายได้จะกลับมา 40% รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) มีการตอบรับของผู้บริโภคที่ราคาเอื้อ มีรถให้เลือกหลากหลายค่าย ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวราว 30,000 คันจากเดิม 12,000 คัน และ ธุรกิจชาร์จไฟฟ้า โซล่า
ธุรกิจที่จะลำบาก
ที่อยู่อาศัย คือความสามารถในการก่อหนี้ใหม่ของครัวเรือนมีจำกัด ภาระหนี้สูง พอจะตัดสินใจซื้อบ้านต้องคิดทบทวนมากขึ้น และมาตรการ LTV ที่หมดอายุไป ปีหน้าไม่มีแรงหนุนด้านนี้ ยอดโอนกรรมสิทธิที่อยู่อาศัย กทม. ปริมณฑล หดตัวราว 5%
รถที่ใช้น้ำมัน (ICE) มีการแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เจอส่งออกที่มีแรงกดดันของเศรษฐกิจโลก จะทำให้ทรงตัวหรือหดตัวลง
เศรษฐกิจไทยปีหน้ายังโตได้มากกว่า 3 ยังให้น้ำหนักเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนการท่องเที่ยวจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจโตได้สูงกว่า 3% ส่วนความเสี่ยงมีเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และการจัดการโควิดของจีน ส่วนดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75%
ปีหน้า ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าได้ถ้า Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25 อีก 2 ครั้ง การเติบโตของสินเชื่อยังให้สินเชื่อรายใหญ่อยู่ SME ยังไม่ฟื้นตัวดีมากนัก ธุรกิจปีหน้ายังเจอภาพการฟื้นตัวแบบ K Shape เจอต้นทุน ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ปัจจัยบวกคือการเลือกตั้งและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ปีหน้าธุรกิจ โรงแรม รถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจลำบากคือส่งออกและรถยนต์แบบดั้งเดิม
นโยบายทางการเมือง แม้ว่าไม่มีเรื่องการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและความพร้อมของธุรกิจด้วย กลุ่มที่อิงกับค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้เยอะมาก ต้นทุนแรงงานมีแต่จะปรับตัวสูงขึ้น นี่คือโจทย์ที่ภาคธุรกิจต้องดูแลอยู่แล้ว
ที่มา – KResearch
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา