โรคระบาดก็กลัว แต่เงินไม่พอใช้น่ากลัวกว่า เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีใช้เงินให้เหลือเก็บ

กระแสการออมเงิน เป็นสิ่งที่คนในวัยทำงานทุกคนเริ่มคิด เพราะหากเริ่มทำเร็วก็จะยิ่งมีเงินเก็บมากขึ้นไปด้วย ซึ่งขั้นตอนแรกที่หลายคนทำ คือเริ่มว่างแผนการใช้เงินในแต่ละเดือน ซึ่งในอินเตอร์เน็ตมีหลายวิธีที่เหมือนๆ กันไปหมด แต่อาจไม่ได้ผลกับคุณก็ได้

การลงทุนใน ICO ต้องดูข้อมูลให้ดี เพราะว่าถ้าลงทุนผิดพลาดไปอาจมีความเสี่ยงทำให้เงินหมดกระเป๋าได้ (ภาพจาก Shutterstock)

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการออมเงิน ไม่ใช่การลงมือทำ แต่ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจทัศนคติเรื่องเงิน (Money Mindset) ของตัวเองเสียก่อน เพราะคุณจะไม่รู้แรงบันดาลใจในการออมเงินของคุณเอง จนกลายเป็นผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมตั้งเป้าหมายการออมเงิน บางคนไม่กล้าใช้เงินเลย บางคนกลับใช้เงินเพื่อซื้อของตามอารมณ์โดยไม่คิดเก็บเงิน หรือทิ้งเงินไว้ในบัญชีที่มีผลตอบแทนต่ำ เสียเวลาไปหลายปีโดยไม่ได้เริ่มออมเงินอย่างจริงจัง

Elizabeth Windisch ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงินจากสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งประเภททัศนคติเรื่องเงิน (Money Mindset) ของคนออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • ผู้ให้ (Giver) เป็นคนที่นึกถึงคนอื่นมากกว่าตัวเองเสมอ มักใช้เงินไปกับลูกๆ หรือบริจาคเพื่อการกุศล
  • นักเก็บเงิน (Keeper) เป็นคนที่ชอบเก็บออมเงินมาก ประหยัดกับทุกเรื่อง มีเงินเก็บเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ ต้องหาเงินมาเก็บเพิ่มอีกเรื่อยๆ
  • นักใช้เงิน (Merry Maker) เป็นคนที่มีความสุขกับการใช้เงินไปเรื่อยๆ ใช้เงินที่ได้มาในแต่ละวันไปกับความสุขของตัวเอง
  • นักเก็บข้อมูล (Perfectionist) เป็นคนที่รู้ข้อมูลเรื่องการเงินเยอะมาก รู้ว่าควรทำอย่างไรเพื่อเก็บเงิน แต่กลับอยู่เฉยๆ ไม่ยอมทำตาม
การใช้เงินในวัยเด็กส่งผลต่อการใช้เงินในอนาคต ภาพจาก Shutterstock

แต่สิ่งสำคัญไม่ใช่การรู้ว่าตัวเองเป็นคนที่มีทัศนคติเรื่องการเงินแบบไหน แต่ต้องรู้ว่าทำไมคุณจึงมีวิธีใช้เงินแบบนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ประสบการณ์ในวัยเด็กเป็นตัวกำหนดวิธีการใช้เงินในอนาคตของคุณเอง รวมถึงต้องเรียนรู้วิธีการใช้เงินในอดีตของคุณ ทั้งที่ดีและไม่ดี เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอนาคต โดยอาจเริ่มจากการลองเขียนประสบการณ์การใช้เงินของคุณในอดีต ในรูปแบบของเรื่องเล่า เพื่อสร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

6 วิธี เปลี่ยนทัศนคติเรื่องเงินที่ไม่ดี

ถ้าคุณเป็นคนมีทัศนคติเรื่องการเงินที่ไม่ดี แน่นอนว่าต้องผลเสียต่อการเก็บเงินในอนาคตของคุณแน่นอน สิ่งที่ควรทำคือ ปรับเปลี่ยนนิสัย เพื่อสร้างทัศนคติเรื่องการเงินที่ดี ด้วยวิธีดังนี้

อยู่ท่ามกลางคนที่มีทัศนคติเรื่องเงินที่ดี

เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่คุณจะสามารถสร้างทัศนคติเรื่องเงินที่ดีให้กับตัวเองได้ ลองสมมติว่าคุณเป็นฟองน้ำ คุณพร้อมที่จะปรับตัวของคุณให้พอดีกับสภาพแวดล้อม การใช้เงินก็เช่นกัน คุณจะค่อยๆ ปรับตัว เปลี่ยนพฤติกรรมไปทีละน้อย โดยที่ไม่รู้ตัว

ขอคำแนะนำที่ดีจากคนที่ถูกต้อง

พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือเพื่อนอาจไม่ใช่ผู้ให้คำแนะนำทางการเงินที่ดีที่สุดก็เป็นได้ เพราะพวกเขาอาจมีวิธีการใช้เงินที่ไม่ต่างจากคุณ ดังนั้นคุณจึงควรขอคำแนะนำจากคนที่ถูกต้อง โดยเฉพาะคนที่เคยเจอปัญหาแบบคุณ หรือเคยตั้งเป้าหมายทางการเงินแบบเดียวกับคุณ และสามารถทำได้สำเร็จ เมื่อคุณนำเอาคำแนะนำมาทำตามจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จทำตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้นกว่าการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

การไม่แบ่งแยกเรื่องเงินออกจากอารมณ์ เป็นสิ่งไม่ดี โดยเฉพาะการซื้อของเพื่อผ่อนคลายความเครียด ภาพจาก pixabay.com

อย่าใช้จ่ายด้วยอารมณ์

การใช้เงินด้วยอารมณ์เป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคน บางคนใช้เงินซื้อของเพื่อความสุขของตัวเอง เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน หรือใช้เงินเพื่อซื้อของในเวลาที่รู้สึกไม่ดี ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี ต้องรู้จักแยกอารมณ์ออกจากการใช้เงินให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าคุณจะไม่สามารถวางแผนทางการเงินได้เลย

อย่าเปรียบเทียบเรื่องเงินกับคนอื่น

เรื่องเงินคือเรื่องส่วนตัว เมื่อใดก็ตามที่คุณนำสถานการณ์การเงินของคุณไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ไม่ว่าจะญาติ พี่น้อง หรือเพื่อน มันอาจทำให้คุณรู้สึกอิจฉา หรือรู้สึกกังวลกับการใช้เงินของตัวเองมากเกินไป ดังนั้นคุณควรตั้งเป้าหมายการใช้เงินด้วยตัวเอง ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น และพอใจในสิ่งที่คุณมี

อย่ามองโลกในแง่ลบ อย่าคิดว่าตัวคุณทำไม่ได้ เพราะมันจะส่งผลต่อเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ ภาพจาก Shutterstock

อย่ามองว่าคุณทำไม่ได้

ลายคนเคยสบประมาทตัวเอง มองว่าเป้าหมายบางอย่างอยู่ไกลเกินเอื้อม ไม่มีทางทำได้ ซึ่งความคิดในแง่ลบแบบนี้จะทำให้คุณไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ลองเปลี่ยนเป็นมองโลกในแง่บวกบ้าง ไม่มีเป้าหมายอะไรอยู่ไกลเกินเอื้อมถ้าคุณลงมือทำ

ที่มา – Cashay, Success, Forbes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา