KKP Research: เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า ไม่ใช่เพราะโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่เพราะกำลังถดถอย

เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า ไม่ใช่เพราะฟื้นช้าหลังโควิดระบาด ไม่ใช่เพราะโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่เพราะศักยภาพเศรษฐกิจไทยกำลังถดถอย

KKP Research รายงาน ประเด็น เศรษฐกิจไทยสู่ยุคโตต่ำ 2% โดยย้อนไปถึงเศรษฐกิจไทยในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า เศรษฐกิจหดตัวรุนแรงหลังเผชิญวิกฤตทุกครั้ง ดังนี้

  • ปี 1997 เศรษฐกิจเติบโตลดลง จากกว่า 7% สู่ 5%
  • ปี 2008 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เฉลี่ยโตลดลงเพียงง 3%
  • ปี 2019 หลังวิกฤตโควิด เฉลี่ยโตได้เพียง 2%

KKP Research

ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศเติบโต แบ่งอออกเป็น 3 กลุ่ม คือ แรงงาน การสะสมทุน และเทคโนโลยี โดย KKP Research ประเมินว่าศักยภาพการเติบโตเศรษฐกิจไทยอาจลดต่ำกว่า 2% หากไม่ปฏิรูปโครงสร้างอย่างแท้จริง

โดยปัจจัยที่เป็นตัวฉุดเศรษฐกิจคือ “แรงงาน” ที่ลดลง โดยศักยภาพการเติบโตลดลง 0.5 จุดต่อปี จนถึงปี 2030 และลดลง 0.8 จุดต่อปีในทศวรรษ 2040 ทำให้ศักยภาพ GDP ไทยเหลือต่ำราว 2%

KKP Research

KKP Research

ปัจจัยด้านแรงงาน 

ไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปี มากกว่า 20% แรงงานในวัยทำงาน (อายุ 15-60 ปี) มีจำนวนลดลง องค์การสหประชาชาติคาดว่าประชากรไทยจะถึงจุดสูงสุดภายในปี 2030

โดยประชากรวัยทำงานได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วตั้งแต่ปี 2012 และจะหดตัวต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 0.7% จนเหลือ 60% ของประชากรทั้งหมดในปี 2030 จาก 70% ในปี 2012 ขณะที่ประชากรวัยเด็กมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยปีละ 1.8% ขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2012 เป็น 20% ในปี 2023

ประชากรวัยทำงานและวัยเด็กที่ลดลง ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความท้าทายทางเศรษฐกิจ 2 เรื่อง คือกำลังซื้อในประเทศจะลดลงและจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกำลังซื้อสินค้าคงทนอย่างรถยนต์และสินค้าฟุ่มเฟือยจะหดตัวตามลงด้วยและกำลังแรงงานลดลง ผลิตภาพแรงงานก็ลดลง สะท้อนให้เห็นการทำงานของแรงงานไทยชะงักงันหรือเติบโตได้เล็กน้อยมากในช่วงเวลาใกล้เคียงกันถึงปัจจุบันเช่นเดียวกัน

การลงทุนหายไปตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อแรงงานหดตัว การสะสมทุนหรือเทคโนโลยีควรจะเพิ่มขึ้นเพื่อมาชดเชยความสามารถในการผลิตที่หายไป ระดับการลงทุนในไทยหายไปนับตั้งแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง จากการสะสมทุนเฉลี่ยปีละ 6.6% ต่อปีลดลงเหลือ 2.1% ปี 2012 เป็นต้นมา

แนวโน้มความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และห่วงโซ่อุปทานการค้าและการลงทุนโลกกำลังเปลี่ยนไป ไม่แน่นอน มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจเพิ่มอีก

การสะสมทุน

รวมทั้งปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคเอกชนที่สูงขึ้น คุณภาพหนี้ก็ลดลง รวมทั้งความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ระยะหลัง ส่งผลให้โอกาสขยายการลงทุนในเศรษฐกิจไทยลดลงด้วย

ผลิตภาพอยู่ในช่วงขาลง

นอกจากการสะสมทุนเพื่อการผลิตแล้ว สามารถชดเชยได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ข้อมูลจาก Penn World Table พบว่า ผลิตภาพหลายทศวรรษที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้ผลิตภาพของไทยลดลง ดังนี้

  • 1. การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนภาคบริการที่มีมูลค่าเพิ่มหรือผลิตภาพต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม
  • 2. คุณภาพของการศึกษาที่นำไปสู่ปัญหาคุณภาพแรงงาน
  • 3. การขาดการลงทุน ทั้งจากธุรกิจภายในประเทศและจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

หากไม่มีการลงทุนที่ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่สำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคตและทุนมนุษย์ ก็เป็นไปได้ยากที่ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นจนสามารถชดเชยจำนวนแรงงานหรือทุนที่ลดลงไป

นอกจากนี้ kKP Research ยังเสนอแนะว่า รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปใน 4 ด้านเพื่อยกระดับศักยภาพ GDP ดังนี้

  • 1. เพิ่มผลิตภาพ ดึงดูดแรงงานทักษะสูง ควรปฏิรูปการศึกษาเพื่อเพิ่มแรงงานทักษะสูงที่มาพร้อมการลงทุนใหม่ๆ
  • 2. เปิดเสรีภาคบริการ เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและมีผลต่อศักยภาพของเศรษฐกิจไทยที่สุด เพื่อเพิ่มการแข่งขันและแก้ไขกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ
  • 3. เพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตร ภาคเกษตรมีผลิตภาพต่ำสุดแต่มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจมาก
  • 4. ปฏิรูปภาคการคลัง ประเด็นนี้แม้ไม่ยกระดับศักยภาพโดยตรง แต่ความท้าทายเรื่องสังคมสูงวัยที่กำลังเป็นความเสี่ยงทางการคลังของประเทศ ทั้งฐานภาษีระดับต่ำ รายจ่ายด้านสาธารณสุขสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ยากที่จะยกระดับเศรษฐกิจไทยได้จริงจังหากไม่จัดการปัญหาด้านภาระการคลัง

แบงก์ชาติ: เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า “กระตุ้นให้ตาย ก็ได้เท่าเดิม” ถ้าไม่แก้ปัญหาโครงสร้าง

ที่มา – KKP Research

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา