ผลประกอบการกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร: รายได้ลด ลูกค้าได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ผลประกอบการกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรปีที่ผ่านมา รายได้ลดลง กำไรลดลงเนื่องจากลูกค้าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ 

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) เผยแนวทางการดำเนินธุรกิจในปี 2024 สำหรับปีนี้เน้นต่อยอด 3 ธุรกิจหลัก ดังนี้ ธุรกิจ เวลธ์ วาณิชธนกิจ รองรับพัฒนาการตลาดการเงินยุคใหม่ และรักษาการเติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ รวมทั้งเผยผลประกอบการปี 2023

KKP

ปัจจุบันก็ขยายช่องทางการให้บริการดิจิทัลของกลุ่มธุรกิจ เช่น Dime และ Digital Edge มีการขยายฐานลูกค้ากว่า 700,000 ดาวน์โหลด ด้านธุรกิจจัดการกองทุนรวมมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการปรับเพิ่มขึ้น 40% สำหรับปี 2024 ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของสินเชื่อรวม 3%

ปีนี้ เน้นแก้ปัญหา เน้นที่ Product ที่ไม่รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากนัก ธุรกิจที่ผ่านมา เรามีทั้งนายหน้าตัวแทน ที่ปรึกษาการเงินและเทรดดิง ซึ่งธุรกิจหลัก เรื่อง Wealth, Asset management ยังไปได้ ยังมีช่องทางในการทำมาหากิน ปีที่แล้ว ธุรกิจวานิชธนกิจไม่มีการระดมทุนเลย ตลาดทุนก็ว่าไปตามสถานการณ์

อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เผยว่า ปีที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนักเนื่องจากปัจจัยภายนอกและ Business Model ซึ่งสินเชื่อเราโตมาตลอด ผลประกอบการโตขึ้นต่อเนื่อง แต่ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ลูกค้าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สภาวะตลาดทุนซบเซา

สถานการณ์เปลี่ยนเร็ว เราปรับตัวไม่ทันมันส่งผลกระทบกลับมาไม่น้อย ไม่ใช่แค่สั้นๆ อย่างผลกระทบปี 2022 ยังอยู่จนถึงปี 2024 ปัจจัยที่กระทบเราที่ผ่านมาก็ยังไม่หายไปไหน ทั้งสงคราม และเงินเฟ้อ ก็พยายามจะปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งธุรกิจธนาคารพาณิชย์จะเป็นฐานรายได้ที่เติบโตตามขนาดของ Balance Sheet ดังนั้น ต้องมุ่งระดมเงินฝากเพื่อตอบสนองความต้องการขยายสินเชื่อที่เพิ่มมากขึ้น

ส่นธุรกิจการบริหารความมั่งคั่งและบริหารการลงทุนลูกค้าบุคคลและธุรกิจวาณิชธนกิจ จะมุ่งยกระดับให้ทัดเทียมสากล เพื่อสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เป็นการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ

ด้าน ฟิลิป เชียง ชอง แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เผยว่าผลประกอบการของธนาคารของปี 2023 ที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนัก รายได้ลด ส่วนใหญ่มาจากต้นทุนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของเรา ที่ขึ้นสูงเพราะขายรถเยอะ ราคารถมือสองตกในระยะสั้น ปรับตัวไม่ทัน ราคารถพุ่งขึ้นมาเพราะโควิด รถใหม่ผลิตไม่ทัน รถเก่าจึงนิยมมากขึ้น ต้นทุนเราสูง สุดท้ายทำให้ต้นทุนปล่อยสินเชื่อพุ่งสูงขึ้น

ปีนี้จะพยายามแก้ปัญหา โดย
สินเชื่อที่ปล่อยปี 2023 เริ่มเข้มงวดขึ้น ต้นทุนที่ปล่อยสินเชื่อก็ต่ำมากขึ้น นอกจากนี้ ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจก็หาทางที่ช่วยมากที่สุด ช่วยได้พอสมควร สิ้นไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4 เริ่มเห็น Performance ที่ดีขึ้น ต้นทุนเริ่มดีขึ้นหลังจากกำจัดปัญหาสินเชื่อเช่าซื้อ รถยึดน้อยลง อัตราการขายรถยึดน้อยลง

ธุรกิจที่ไม่เช่าซื้อ เราปรับกลยุทธ์มากขึ้น สินเชื่อรายย่อย สินเชื่อบ้าน เราปรับกลุ่มลูกค้าที่ซื้อบ้านแพงขึ้นในระดับ 5 ล้านบาทขึ้นไป อัตราการเติบโตของธุรกิจที่ไม่เช่าซื้อโตกว่า 10%
สินเชื่อรถโต 1% ปีนี้ต้องดูแลลูกค้าให้ดีขึ้น ระมัดระวังมากขึ้น ถ้าปีนี้แก้ปัญหาต้นทุนได้ก็น่าจะมีกำไรกลับมาได้

ส่วนปี 2024 คิดว่าโต 3% ไม่เกิน 1 เท่าของ GDP เพราะปีนี้จะโฟกัสในการแก้ปัญหา เราลงทุน 3-5 ปีที่ผ่านมาด้านดิจิทัล ทำยังไงให้ลูกค้าใช้มากขึ้น ปีที่แล้วก็ปล่อย digital platform อย่าง Digital Edge และ Dime
ให้มีลูกค้าใช้เยอะขึ้น เพื่อเพิ่ม Productivity เน้นลงทุนแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า

ขณะที่ปรีชา เตชรุ่งชัยกุล ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด ระบุว่า ปีที่ผ่านมาการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเราไม่ได้โตมาก แต่ก็โตอยู่บ้าง พอร์ตสินเชื่อโตขึ้น แต่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็ได้รับผลกระทบอยู่ ปี 2023 และ ปี 2022 รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะลดลง

กลุ่มธุรกิจฯ มีกำไรสุทธิ 5,443 ล้านบาท ลดลง 28.4% และกำไรเบ็ดเสร็จ 5,452 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุนอยู่ที่ 1,078 ล้นบาท กำไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนอยู่ที่ 1,119 ล้านบาท ส่วนการตั้งสำรองสำหรับปี 2023 มีการพิจารณาตั้งสำรองส่วนเพิ่มประมาณ 600 ล้านบาท ตามหลักความระมัดระวังสำหรับสินเชื่อขนาดใหญ่รายหนึ่งส่งผลให้อัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ สิ้นปี 2023 อยู่ในระดับสูงที่ 164.6%

นอกจากนี้ มีรายได้เพิ่มขึ้นในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 22,294 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 16.8% ขณะที่รายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 6,469 ล้านบาท ปรับลดลง 23.5% จากปี 2022 และธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel lll ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2023 อยู่ที่ 16.2% และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 จะเท่ากับ 12.8%

ผลจากขายขาดทุนรถยึดที่ยึดมา การขายเครดิต แม้จะมีการมุ่งเน้นการแก้หนี้ให้ลูกหนี้ การช่วยปรับโครงสร้างในไตรมาสสุดท้าย หลายตัวชี้วัด มีแนวโน้มดีขึ้น ตัวเลขรถยึดเคยพีคช่วง Q2, Q3 ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อ หรือสินเชื่อ retail เรามีตั้งสำรองเพิ่มให้ลูกหนี้ที่เป็นบริษัท ปีนี้อาจจะคุณภาพแย่ลง ตัวเลขสำรองเงินลูกหนี้ปรับสูงถึง 165%

เวลาที่เราดำเนินธุรกิจ เราค่อนข้าง Conservative อันหนึ่งที่ทำได้ดีคือการควบคุมต้นทุน ต้นทุนดอกเบี้ย หักต้นทุนเงินจริงๆ เฉลี่ย 5.2% เป็นผลจากการควบคุมต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ เงินฝาก ยังทำได้ค่อนข้างดี ปีที่ผ่านมา เราทำได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

การเติบโตค่อนข้างดีคือ ธุรกิจ บลจ. ทาง Asset management โตขึ้นประมาณ
40% เราไม่ได้มีการระดมทุนผ่านตลาดหุ้นแต่รายได้ยังดี เพราะมีรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาให้ลูกค้า เราเข้าไปเป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่ายของหลายบริษัท ทำให้วานิชธุรกิจที่ผ่านมาค่อนข้างดี

ที่มา – KKP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา