ปี 2018 ที่ผ่านมามีข่าวการเลื่อนบังคับใช้ IFRS9 หรือ มาตรฐานรายงานการเงินฉบับใหม่ จากปี 2562 เป็นเริ่มใช้ต้นปี 2563
โดยเกณฑ์ IFRS9 จะทำให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บริษัทในตลาดหุ้น) บริษัทใหญ่ๆ ของไทยต้องเปลี่ยนวิธีการทำบัญชีใครที่ทำเรื่องสินเชื่อต้องตั้งสำรอง ปรับตัวกันหมด แต่ข้อดีคืองบแบบ IFRS9 จะทำให้คนที่อ่านงบทั่วไปรู้ความเสี่ยงของบริษัทฯ ได้ดีขึ้น
แต่ปี 2563 ไม่ได้มีแค่ IFRS9 ที่เริ่มบังคับใช้ ยังมี IFRS16 ที่เปลี่ยนการบันทึกข้อมูลธุรกิจในบัญชีอีก แล้วจะกระทบกับธุรกิจอย่างไร

ธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า ในปี 2563 ตามกำหนดการประเทศไทยจะเริ่มใช้
โดย IFRS9 ไม่ได้กระทบกับธุรกิจมากเท่ากับ IFRS16 ที่จะเริ่มใช้ในปีเดียวกัน เพราะ IFRS9 จะทำให้เกิดความผันผวนในงบกำไรขาดทุนของบริษัท อย่างธุรกิจธนาคารต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น (กำไรก็น้อยลง) รวมถึงบริษัทไหนใช้อนุพันธ์ทางการเงินต้องลงในบัญชีในรูปแบบ Mark to Market (การแปรมูลค่าหุ้นกู้ สินทรัพย์ทางการเงินให้เป็นมูลค่าตลาด)
ในขณะที่ IFRS16 จะเปลี่ยนวิธีการบันทึกสัญญาเช่
“สรุปคือ IFRS16 จะส่งผลกระทบกับบริษัทที่มีสัญญาเช่าต่างๆ ไม่ว่าจะธุรกิจที่เช่าโรงงาน เช่าที่ดิน สายการบินที่เช่าเครื่องบิน บริษัทที่เลือกเช่ารถยนต์ให้ผู้บริหารใช้ ต้องเปลี่ยนมาบันทึกในบัญชีของบริษัท ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นและหนี้สินเพิ่มขึ้น กระทบต่อตัวเลข D/E ดูขยับสูงขึ้น รวมถึงรายได้ต่อทรัพย์สินก็ลดลงด้วย แม้ว่าธุรกิจจะดำเนินได้ตามเป้าหมายโดยไม่มีปัญหาอื่นมากระทบ แต่ในทางบัญชีก็ดูไม่ค่อยดีในสายตานักลงทุน”
ทั้งนี้หากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทขนาดใหญ่ในไทย ไม่เตรียมตัว เพื่อสร้างความเข้าใจทั้งในองค์กร และสื่อสารกับผู้ถือหุ้น อาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
สรุป
เรื่องบัญชีกลายเป็นเรื่องซับซ้อนเสมอ เพราะการบันทึกรายรับ-รายจ่ายมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย ครั้งนี้มาตรฐาน IFRS9 และ IFRS16 ทำเพื่อให้การรายงานตัวเลขผลประกอบการของบริษัทโปร่งใสขึ้น แต่ช่วงการเปลี่ยนผ่านอาจมีตัวเลขที่สร้างความแตกตื่นให้นักลงทุนที่นิยมดูตัวเลขสรุป
และคงต้องลุ้นว่ามาตรฐานทางบัญชี IFRS16 จะเลื่อนบังคับใช้เหมือนตัว IFRS9 ที่เลื่อนมาใช้ปี 2563 จากเดิมที่ตั้งใจจะเริ่มใช้ในปี 2562 หรือไม่
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา