โมเดล Synergy ของ KBank ร่วมวางโครงสร้าง Digital Healthcare Platform กับ 5 โรงพยาบาลรัฐ สู่เป้าหมาย Smart Hospital

จับตา Digital Healthcare Platform ที่ KBank ได้เข้าไปสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันร่วมกับ  5 โรงพยาบาลรัฐ เพื่อผลักดันสู่การเป็น Smart Hospital ให้ทุกคนเข้าบริการด้านสุขภาพได้ง่าย สะดวก และลดเสี่ยงโควิด

หลังจากที่โลกได้เผชิญกับโรคระบาดยาวนานเกือบ 2 ปีหลายองค์กรต่างหันมามุ่งมั่นพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อตอบรับกับการใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มอล อุตสาหกรรมการแพทย์ก็เช่นกันที่ได้เร่งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อทำให้สามารถดูแลประชาชนด้านสาธารณสุขได้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยธนาคารกสิกรไทยเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันยุทธศาสตร์ Smart Hospital สำหรับภาคสาธารณสุข จากความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมไทยด้วยการต่อยอดความเชี่ยวชาญในการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มของทางธนาคารฯ 

KBank

ธนาคารกสิกรไทยร่วมมือโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ 5 แห่ง ทั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลชลบุรี, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันประสาทวิทยา เดินหน้ายุทธศาสตร์ Smart Hospital และวางโครงสร้างด้านดิจิทัล-เทคโนโลยี และให้การสนับสนุนในการพัฒนาแอปพลิเคชันให้กับแต่ละโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่าย ทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น 

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Hospital

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แวดวงอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข กำลังขับเคลื่อนด้วยเทรนด์และยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านสู่การให้บริการแบบ Smart Hospital ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการและให้บริการผู้ป่วยได้เข้ามาบทบาทอย่างมากหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรงพยาบาลรัฐที่เป็นที่พึ่งหลักทางการแพทย์ของประชาชน เพราะนับว่ามีส่วนสำคัญที่ช่วยปลดล็อคปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มาก ทั้งช่วยลดขั้นตอนในการจัดการเพื่อการบริการภายในโรงพยาบาล ให้คนไข้ได้รับบริการด้วยวิถีใหม่ที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และลดเสี่ยงจากโควิด-19

ขณะที่การพัฒนาแอปพลิเคชันซึ่งถือเป็น Smart Tools ที่ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้น ยังช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ สามารถบริหารจัดการคิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมต่อระบบหลังบ้านให้ทำงานแบบอัตโนมัติ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถลดการสัมผัสกับผู้รับบริการในขั้นตอนต่าง ๆ ได้อีกด้วย จึงช่วยเพิ่มความสะดวกขึ้น เพิ่มความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน

ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นความพร้อมของโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ 5 แห่งที่ได้นำแอปพลิเคชันมาเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อการให้บริการคนไข้อย่างเป็นระบบ โดยความน่าสนใจคือแอปพลิเคชันของทั้ง 5 โรงพยาบาลนั้น ได้องค์กรที่อยู่นอกแวดวงการแพทย์ อย่างธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank มาเป็นพันธมิตรสำคัญในการนำความเชี่ยวชาญมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ช่วยตอบโจทย์ทั้งคนไข้ บุคลากรทางการแพทย์ กว่า 4 ล้านราย 

KBank

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นมีบทบาทต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของสังคมไทย ด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาดิจิทัลแพลทฟอร์ม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้กับสังคมไทย โรงพยาบาลเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน ความร่วมมือกับโรงพยาบาลในการพัฒนา Digital Healthcare Platform จึงมุ่งเน้นการช่วยลดภาระของโรงพยาบาล และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการกับคนไข้และผู้ที่มาใช้บริการต่างๆ เพราะโรงพยาบาลแต่ละแห่งล้วนมีผู้ใช้บริการในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก  โดยธนาคารฯ ได้นำความเชี่ยวชาญมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคนไข้ด้วยระบบบริการสุขภาพดิจิทัลที่เชื่อมโยงระบบนิเวศน์การใช้บริการและการบริหารจัดการของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับวิถีนิวนอร์มอลที่เป็นผลจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19  

  1. วางโครงสร้างการเชื่อมข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางของโรงพยาบาล มาแสดงที่แอปพลิเคชัน ซึ่งจะแสดงผลได้ถูกต้อง รวดเร็ว ลดขั้นตอนและลดเวลาทำงาน สนับสนุนการทำงานของบุคลากร
  2. การสร้างประสบการณ์การเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล ผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว สามารถทำได้ด้วยตนเอง ทั้งในและนอกสถานที่ของโรงพยาบาล
  3. เชื่อมโยงระบบชำระเงินและบริการทางการเงินต่างๆ อนาคตจะมีการพัฒนาฟีเจอร์ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเป็น Smart Hospital และตอบโจทย์คนไข้ OPD กว่า 4 ล้านราย ได้ลดเสี่ยงโควิด-19

KBank

แอปพลิเคชั่นที่ KBank ได้เข้าไปสนับสนุนการพัฒนาร่วมกับโรงพยาบาลรัฐ 5 แห่งประกอบด้วย แอป Chula Care (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย)  แอป CBH PLUS (โรงพยาบาลชลบุรี) แอป TUH for All (โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ)  แอป RJ Connect (โรงพยาบาลราชวิถี) และ แอป NIT PLUS (สถาบันประสาทวิทยา) ปัจจุบันมีฟีเจอร์สำคัญที่ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายในการเข้าถึงการรักษาจากโรงพยาบาลมากขึ้น ทั้งฟีเจอร์ที่สามารถตรวจสอบสิทธิ์รักษาพยาบาลได้ สามารถตรวจสอบรายการนัดหมาย ตรวจสอบคิวในการพบแพทย์ได้ ทำให้ลดภาระทั้งเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องแบกรับภาระจากการจัดสรรคิวมากไป ขณะเดียวกันคนไข้ก็สามารถมารับบริการได้แบบที่ไม่ต้องรอต่อคิวเนืองแน่น ลดความแออัดที่โรงพยาบาล ซึ่งฟีเจอร์นี้ก็เป็นหนึ่งในการต่อยอดเทคโนโลยีที่ทางธนาคารฯ ใช้จัดสรรคิวการให้บริการที่สาขาอยู่แล้วมาสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในวงกว้างนั่นเอง

นอกจากนี้ KBank ยังได้เอาความแข็งแกร่งจาก Business Ecosystem ด้านการเงิน มาพัฒนาฟีเจอร์ที่ให้บริการรองรับการชำระเงินผ่านแอป K PLUS, สแกน Thai QR Code หรือบัตรเดบิตและบัตรเครดิตได้ สามารถชำระค่ารักษา ค่ายา รวมทั้งยังสามารถบริจาคเงินสมทบให้แก่โรงพยาบาลได้ด้วย 

ทิศทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง KBank และโรงพยาบาลในอนาคต

ในระยะถัดไป ธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะนำความเชี่ยวชาญมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงการ SMART Hospital Application ให้แก่ 11 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบแอปเดียวใช้ได้ทั้ง 11 แห่ง ส่วน 5 แอปที่เปิดใช้งานแล้ว ทาง KBank ก็เตรียมฟีเจอร์ที่ตอบรับการใช้ชีวิตแบบ New Normal ทั้งฟีเจอร์นัดพบแพทย์ผ่านแอปพลิเคชันโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลได้ 

สำหรับคนไข้ของโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง สามารถกดดาวน์โหลดแอปโรงพยาบาลได้ทั้งใน App Store หรือ Play Store เพื่อรับประสบการณ์การเข้ารับบริการทางการแพทย์ด้วยความสะดวก สบาย และง่ายขึ้น 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา