KBank Private Banking ประกาศจุดยืนลงทุนในธุรกิจใส่ใจเรื่องลดโลกร้อน เน้นความยั่งยืนเพื่อลูกหลาน

เมื่อโลกกำลังประสบปัญหาจากสภาวะแวดล้อมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องของ ”สภาวะโลกร้อน” ไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง ฝนฟ้าอากาศที่ไม่เป็นใจ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเรื่องโลกร้อนได้ โดยเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการลงทุนของเรา

คุณขัตติยา อินทรวิชัย – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

Brand Inside จะพาไปพบกับปัญหาของโลกร้อนที่ได้สร้างปัญหาไม่เพียงแค่ทำให้ประชาชนอย่างเราๆ พบกับความเดือดร้อนจากสภาวะอากาศที่ไม่น่าอยู่ขึ้นทุกวัน แต่ปัญหาเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบต่อหลายภาคส่วน และภาคเศรษฐกิจของโลกเองก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่ปัจจุบันนั้นเราโชคดีที่มีนวัตกรรมหรือสินค้าที่ออกมาเพื่อเอาใจใส่โลกอย่างมาก

โลกร้อนส่งผลกับเรามากกว่าที่คิด

คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึง นอกจากโลกเราจะพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 อยู่ในขณะนี้ แต่อีกปัญหาหนึ่งที่ต้องตระหนักคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลัน ซึ่งผลกระทบเรื่องนี้ส่งผลมหาศาลเช่น อากาศแปรปรวน ทำให้พืชสัตว์ สูญพันธุ์ คุณ ขัตติยา ได้ยกตัวอย่างในประเทศไทยว่า ประเทศไทยเกิดภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรของไทยเสียหายไปมากถึง 2 ล้านไร่

ขณะเดียวกันเกษตรกรก็ไม่สามารถใช้น้ำในภาคการเกษตรได้ เนื่องจากฝนที่ทิ้งช่วง ในช่วงหน้าฝนเองบางพื้นที่ของไทยก็พบกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศของไทยยังส่งผลต่อเนื่องที่อาจทำให้ปลาและพืชมีความเสี่ยงสูญ พันธุ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตอาหารของไทยในอนาคตได้ ไม่เพียงแค่นั้นไทยเองยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับ 22 ของโลก มากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ขณะที่พื้นที่ป่าของไทยก็ลดลงเรื่อยๆ และมีพื้นที่ป่าที่น้อยกว่าประเทศในอาเซียนหลายๆ ที่แล้ว ณ ขณะนี้

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ยังได้กล่าวว่า ในฐานะธนาคารนั้นมองว่าเป็นฟันเฟืองส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่การทำธุรกิจ แต่ธนาคารต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตแบบยั่งยืนได้ และต้องมองไปถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมไปถึงมองไปถึงคนรุ่นหลังจะต้องไม่เดือดร้อน ลูกหลานสามารถใช้ชีวิตไม่ด้อยไปกว่าเรา

อัล กอร์ – อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2550

อัล กอร์ เชื่อ “โลกกำลังอยู่ในช่วงต้นๆ ของการปฏิวัติเรื่องสิ่งแวดล้อม”

อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2550 ได้กล่าวในวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ส่งตรงจากสหรัฐอเมริกาว่า ตอนนี้สหรัฐพบเหตุการณ์กับภูมิอากาศหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่าในสหรัฐ และพายุที่เข้ามาในสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันอากาศเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ชั้นบรรยากาศโลกนั้นย่ำแย่กว่าในอดีตอย่างมากจากพฤติกรรมของมนุษย์

อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกายังเปรียบเทียบว่า เราใช้ชั้นบรรยากาศเปรียบเหมือนเป็นถังขยะ ปัจจุบันโลกเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศ เท่ากับอุณภูมิระเบิดนิวเคลียร์รวมกัน 5 แสนลูกในชั้นบรรยากาศ ทำให้อากาศร้อนอย่างมาก ขณะที่น้ำในมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ทำให้ระเหยขึ้นไปมากขึ้น ส่งผลทำให้พายุมากขึ้น และอานุภาพของพายุรุนแรงมากขึ้น โดยเขาเปรียบว่าพายุทุกวันนี้เหมือนกับเป็นระเบิดฝน นอกจากนี้ ความร้อนยังทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายออกไปเรื่อยๆ ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆทำให้ผู้คนลี้ภัยที่ต้องย้ายถิ่นฐาน ไม่เว้นแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดตอนนี้ธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนเราแล้ว

แต่อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ได้มองว่าโลกเรายังมีแสงสว่างในการเปลี่ยนแปลงโลกช่วง ที่ผ่านมา เช่น นักลงทุนได้ลงทุนในพลังงานสะอาดอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา พลังงานไฟฟ้า 80% ของพลังงานสะอาดมาจากแสงอาทิตย์ และลม และราคาค่าไฟจากพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ถูกลงมากกว่าเมื่อเทียบกับพลังงานจากฟอสิซิล ขณะที่รถพลังงานไฟฟ้าจะถูกลงกว่าเดิมอย่างมาก และในอนาคตเขาเชื่อว่าราคาถูกกว่ารถแบบสันดาปแน่ๆ

นอกจากนี้ อัล กอร์ ยังย้ำว่าโลกอยู่ในช่วงต้นๆ ในการปฎิวัติในเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้ และเขาเชื่อว่าทุกคนจะสามารถทำได้ และคนรุ่นใหม่ใส่ใจในเรื่องนี้กว่าที่คิดมาก

คุณจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ – Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย

การลงทุนที่เปลี่ยนแปลงสร้างความยั่งยืนได้

คุณจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวว่า โดยปกติแล้วคนเรานั้นจะไม่คิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ขณะเดียวกันก็ยังมองว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาโลกร้อนยังถือว่าไกลตัวเรามาก เช่น น้ำท่วมก็คิดว่าเดี๋ยวเดียวน้ำก็เลิกท่วม ฝุ่นควันสามารถแก้ปัญหาโดยใส่หน้ากากอนามัยได้ ขณะที่เรื่องของความแห้งแล้งก็มองว่าไม่เกี่ยวอะไรกับเรา

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งเราบริโภคสิ่งของต่างๆ นั้นได้เพิ่มการเผาผลาญพลังงานไปเรื่อยๆ ซึ่งสร้างก๊าซเสียต่างๆ ซึ่งสร้างภาวะโลกให้ร้อนขึ้นเรื่อยๆ คุณจิรวัฒน์ ได้กล่าวว่า สัดส่วนการปล่อยก๊าซที่สร้างโลกร้อนของไทย 40% มาจากการผลิตไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานมาจากฟอสซิล อย่างไรก็ดีแม้ว่าเราจะปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรา แต่การที่เราบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นทำให้โรงงานผลิตสินค้า การขนส่งสินค้า รวมไปถึงกระบวนการผลิตอาหารคือการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาล ทำให้เราปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหา

คุณจิรวัฒน์ยังได้กล่าวว่า ปัญหาจากการบริโภคของเราที่เราสร้างขึ้นนั้นได้สร้างวงจรอุบาทว์ คือการสร้างก๊าซเรือนกระจก ส่งผลต่อการคายความร้อนของโลกทำได้ยากมากกว่าเดิม โลกร้อนมากขึ้น และถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ปี 2100 อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นได้ถึง 3-6 องศาเซลเซียส น้ำแข็งขั่วโลกละลาย น้ำทะเลมีอุณภูมิสูงขึ้น สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลก เช่น พายุ มรสุม ซึ่งช่วงนี้น้ำท่วมผิดปกติ รวมไปถึงฝนขาดช่วง ทำให้เกิดไฟป่า เขายังได้เปรียบเทียบว่าเชียงใหม่ถ้าฝุ่นควันมีสี่เดือนทำให้รายได้การท่องเที่ยวหายไปอย่างมาก

แม้จะมีข่าวร้ายไปหมด แต่คุณจิรวัฒน์ได้เล่าถึงโลกยังมีสิ่งดีๆ ที่เรียกว่า CLIC Economy ซึ่งมาจากคำว่า (Clean Lean Inclusive Circular) สะอาด ประหยัด มีการใช้แบบหมุนเวียน เปลี่ยนการผลิตให้เข้าถึงพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังไม่มีการทิ้งตัว Carbon Footprint ซึ่งมีคนทำได้แล้ว และทำได้จริงๆ

คุณจิรวัฒน์ยังได้กล่าวเสริมว่า โลกได้รับแรงขับเคลื่อนมาจาก Paris Agreement (ข้อตกลงปารีส) ที่ผู้นำหลายๆ ประเทศพยายามที่จะทำให้โลกร้อนน้อยลง โดยโลกไม่ควรจะมีอุณภูมิสูงขึ้น 1.5 เซลเซียสในปี 2050 รวมไปถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้เท่ากับ 0 แม้จะไกลตัวไปหน่อย แต่เรื่องเหล่านี้ใกล้ตัวเรามากขึ้น

อีกเรื่องที่คุณจิรวัฒน์ได้ย้ำคือ ปัจจุบันโลกเรามีนวัตกรรมดีๆ มาก ซึ่งถ้าเป็นอดีตถ้าเราจะซื้อผลิตภัณฑ์สักอย่างที่ดีต่อโลก แต่เดิมเป็นของแพง แต่ตอนนี้สินค้ารักษ์โลกกลายเป็นของที่มีราคาถูกลง ขณะเดียวกันสินค้าพลังงานสกปรกต้นทุนจะแพงมากขึ้น เขายังได้ยกตัวอย่างว่า ตอนนี้เทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่จะย้ายจากลิเทียมไอออนมาโซเดียมไอออน ซึ่งไม่ส่งผลเสียต่อโลกเหมือนกับในอดีต

บริษัทก็ปรับตัวอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

ไม่เพียงแค่โลกยังได้พบแนวทางที่ดีด้านนวัตกรรมต่างๆ เท่านั้น คุณจิรวัฒน์ ได้กล่าถึงการเปรียบเทียบบริษัทในโลกนี้ 2 แบบซึ่งแนวความคิดนี้มาจาก Lombard Odier ผู้ให้บริการไพรเวทแบงกิ้งระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 220 ปี ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารกสิกรไทยที่ได้เปรียบเทียบว่า บริษัทหรือธุรกิจที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะโลก เช่น กระบวนการผลิต หรือเปลี่ยนการผลิตสินค้าไปเลยนั้นเป็นบริษัทประเภท “เหยี่ยว” ขณะที่บริษัทที่ไม่ปรับตัวเอง ยังอยากอยู่รูปแบบเดิมๆ นั้นเปรียบได้กับ “นกกระจอกเทศ”

ไม่เพียงแค่นั้นเขายังได้กล่าวว่าทางด้านนักลงทุนเองก็จะปรับตัวอย่างมาก เม็ดเงินไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านเหรียญได้เข้าสู่บริษัทที่ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมหรือบริษัทที่เราเรียกว่า “เหยี่ยว” โดยเขาเองได้ยกตัวอย่างบริษัทที่เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้โลกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

  1. Air Liquide คิดค้นวิธีเผาผลาญพลังงานแบบใหม่
  2. Infineon ผลิตชิปหรือแผงวงจรที่ใช้พลังงานลดลง
  3. Daikin คิดค้นน้ำยาแอร์ R-32 ทำให้ทำความเย็นได้เร็ว ปล่อยมลพิษได้ลดลง
  4. Darling นำเศษอาหารมารีไซเคิล
  5. Orsted บริษัทพลังงานจากเดนมาร์ก ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลมนอกชายฝั่ง
  6. Next Era Energy ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
  7. Segro บริษัททำคลังสินค้าที่ถอดประกอบได้ตลอดเวลา

ขณะที่บริษัทชื่อดังที่เรารู้จักก็ต่างปรับตัวเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เช่น Apple ผลิตไอโฟน ณ ตอนนี้นั้นมีชิ้นส่วนที่สามารถรีไซเคิลได้แทบทุกชิ้น ขณะที่ Nike สินค้าของบริษัทเองผลิตมาจากสินค้ารีไซเคิล และยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด รวมไปถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Microsoft ที่มีนโยบายใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด

คุณจิรวัฒน์ยังเชื่อว่าเราเองก็สามารถที่จะตระหนักในการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้เช่นกัน เราจะได้ประโยชน์ด้วย นอกจากนี้ที่ผ่านมาบริษัทเหล่านี้ยังได้ผลตอบแทนที่ดีด้วย โดยล่าสุดนั้นมีกองทุนรวมที่นักลงทุนชาวไทยสามารถที่จะลงทุนได้ชื่อว่า K-Climate Transition Fund ซึ่งเป็นการจับมือกันระหว่างธนาคารกสิกรไทยและ Lombard Odier ที่ลงทุนในบริษัทที่ผลิตสินค้าหรือมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ลดผลกระทบจากโลกร้อนเหล่านี้

ไม่เพียงแค่นั้นกองทุนหลักที่ K-Climate Transition Fund ลงทุนยังให้ผลตอบแทนที่ดีมากด้วยในช่วงที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่เปิดตัวกองทุนในปีนี้ กองทุนสร้างผลตอบแทนไปแล้วถึง 44.51% เลยทีเดียว ซึ่งคุณจิรวัฒน์ชี้ว่าการลงทุนในบริษัทที่ช่วยโลกนั้นเราไม่ต้องที่จะต้องเป็นผู้ที่เสียสละฝ่ายเดียว แต่ปัจจุบันเราสามารถที่จะเติบโตไปกับบริษัทเหล่านี้ได้เช่นกัน

สรุป

ถ้าเรายังปล่อยการแพร่กระจายของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดโลกร้อนขึ้นเหมือนเดิมนั้น ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกมากถึง 550 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2100 จากอุณภูมิโลกที่สูงขึ้น 3-6 องศา แต่ถ้าหากในปี 2050 โลกมีอุณภูมิเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จะเหลือความสูญเสีย 54 ล้านล้านเหรียญเท่านั้น

ซึ่งเราเองสามารถที่จะเริ่มต้นในการรักษ์โลกด้วยการลงทุนกับบริษัทดีๆ หรือกองทุนรวมดีๆ อย่าง K-Climate Transition Fund ที่มีความเอาใจใส่ต่อโลกร้อนนี้ได้ เพื่อวันข้างหน้าของเราและลูกหลานของเราในอนาคต แถมยังมีผลตอบแทนที่ดีด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา