ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ เศรษฐกิจเมียนมาปี 64 อาจจะหดตัว -0.5% ถึง -2.5% หลังจากกองทัพเมียนมายึดอำนาจรัฐบาล ส่งผลให้การค้าชายแดนไทย-เมียนมาหดตัวอีกเป็นปีที่ 5
จากการเข้ายึดอำนาจรัฐบาลอองซาน ซูจี ของกองทัพเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาและมหาอำนาจชาติตะวันตกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน อาจนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับเมียนมาอีกครั้ง เมียนมาปฏิรูปการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา โดยมีอองซาน ซูจีที่ชนะการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกช่วงปลายปี 2558 ทำให้สหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษกับเมียนมาปี 2556 และสหรัฐฯ ยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในปี 2559
การเข้ายึดอำนาจของกองทัพอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรได้
ด้านการค้า เมียนมาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรปส่งออกเมียนมาไปยุโรปเติบโตกว่า 10 เท่าในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 208 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2556 ขยับเป็น 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 การส่งออกของเมียนมาไปสหรัฐฯ เติบโต 5 เท่าภายน 3 ปี มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 150 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 829 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562
นับตั้งแต่ปี 2556 ที่ผ่านมา ขนาดการส่งออกในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง ดังนั้น หากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ เพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้า ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ที่จะถูก EU เก็บภาษีราว 12% และสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีราว 20%ซึ่งเมียนมามีสินค้าส่งออกสูงถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออก และส่งออกไปตลาด EU และสหรัฐฯ สูงถึง 60% หากสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าจาก EU และสหรับฯ มูลค่าการส่งออกเมียนมาจะหดตัวลง 10% ในปี 2564
ด้านการลงทุน อาจไม่ได้ผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออก แต่ส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ การปฏิรูปทางการเมืองในรอบหกปีที่ผ่านมาส่งผลให้หลายประเทศหน้าใหม่เข้าไปลงทุนในเมียนมาเพิ่มขึ้น เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ขณะเดียวกันการลงทุนจากจีนและไทยก็ชะลอตัวลง เมียนมามีข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงถูกที่สุดในอาเซียนบวกกับสิทธิพิเศษทางการค้าทำให้สร้างความได้เปรียบแก่นักลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เลือกมาลงทุนในเมียนมา
การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาทำให้เกิดความไม่แน่นนอนทางการเมืองและมีความเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้าทั้งจากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ปัจจัยเหล่าส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะชะลอการลงทุนในเมียนมา ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาลดลง 30%-40% ในปี 2564
ระยะยาวอาจมีการเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าจากทั้ง EU และสหรัฐฯ ขณะที่การลงทุนจากจีนมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในมณฑลยูนนานและมหาสมุทรอินเดียทางฝั่งทะเลตะวนตก แต่ไม่ได้หนุนให้ศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเมียนมาจอยู่ในกรอบ -0.5% ถึง -2.5% ในปี 2564
สำหรับผลกระทบต่อไทยมี 2 ช่องทางหลักคือ การค้าชายแดนและการเคลื่อนย้ายแรงงานเมียนมาเข้ามาในไทย ผลกระทบจากการส่งออกชายแดนไทยไปเมียนมาปี 2563 จากโควิดระบาดส่งผลให้กำลังซื้อและการคุมเข้มการเข้าออกทั้งคนและสินค้าทำให้ส่งออกลดลง -12.4% มูลค่าส่งออกต่ำกว่าแสนล้านบาทต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มูลค่า 87,090 ล้านบาท ขณะนี้มีการเปิดให้บริการตามปกติแล้วแต่ก็ยังมีความไม่แน่นอน
การส่งอออกชายแดนไทยปี 2564 ภาพรวมจะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยพยุงการค้าไว้ได้ระดับหนึ่ง แต่ความเปราะบางทางเศรษฐกิจของเมียนมาจะส่งผลมากทำให้การผลิตและการบริโภคในภาพรวมทรุดตัวลง กดดันให้สินค้าไทยที่ส่งผ่านชายแดนไปเมียนมาปี 2564 จะยังหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 อยู่ที่ -0.5% มีมูลค่าการค้าลดลงเหลือราว 86,600 ล้านบาท
ส่วนประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงาน การเข้ายึดอำนาจทำให้เกิดความไม่แน่นนอนในนโยบายและอาจเกิดความเสี่ยงในการปิดด่าน หรือมาตรการตรวจเข้มพลเมืองที่เดินทางเข้าออกประเทศ อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรับแรงงานใหม่ ซึ่งภาคธุรกิจที่แรงงานเมียนมาทำงานอยู่ส่วนใหญ่คือ ธุรกิจเกษตรและปศุสัตว์ 25% ค้าปลีกและอาหาร 17% ก่อสร้าง 15% ประมงและสินค้าประมงแปรรูป 10%
ที่มา – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา