คู่แข่ง “One Belt One Road” รายใหม่ เมื่อญี่ปุ่นจับมือ EU ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก

สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจับมือกับกันเป็นพันธมิตรในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั่วโลก และจะกลายเป็นคู่แข่งของโครงการ One Belt One Road ทันที

Railways
ภาพประกอบบทความจาก Unsplash

ชินโช อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ลงนามในความร่วมมือกับสหภาพยุโรป เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีข้อตกลงที่จะเชื่อมโยงเอเชียกับยุโรปเข้าด้วยกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนี้จะทำให้กลายเป็นคู่แข่งของโครงการ Belt Road Initiative (BRI) ของประเทศจีน หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “One Belt One Road” ทันที

ความร่วมมือดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากความกังวลของโครงการจากประเทศจีน ที่ทำให้หลายๆ ประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในสภาวะติดในกับดักหนี้ นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นยังได้กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวญี่ปุ่นได้ส่งตัวแทนของรัฐบาลไปยังกาน่าและแซมเบียเพื่อให้คำแนะนำเรื่องหนี้ภาครัฐบาลรวมไปถึงการจัดการเศรษฐกิจในแอฟริกา

สำหรับโครงการ Belt Road Initiative ได้รับการยอมรับจากประเทศกว่า 150 ประเทศ มีประเทศจากสหภาพยุโรป 28 ประเทศ แต่ในช่วงที่ผ่านมาโครงการนี้ได้รับข้อสงสัยในเรื่องของความยั่งยืนและรวมไปถึงการปล่อยเงินกู้มหาศาลจนประเทศที่นำเงินไปพัฒนาโครงการไม่สามารถชำระหนี้ได้ รวมไปถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

โดยทั้งญี่ปุ่นและ EU เริ่มลงทุนบางโครงการไปบ้างแล้วในแอฟริกา ขณะที่ความสนใจที่จะลงทุนเพิ่มเติมอยู่ใน ยุโรปแถบบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย ฯลฯ) รวมไปถึงประเทศแถบบอลข่าน (เซอร์เบีย ฯลฯ) ที่ประเทศเหล่านี้ยังต้องการเม็ดเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ความร่วมมือดังกล่าวเน้นการลงทุนที่โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น การคมนาคม สาธานณูปโภค โทรคมนาคม ฯลฯ สำหรับเม็ดเงินเริ่มต้นของความร่วมมือนี้จะอยู่ที่ 60,000 ล้านยูโร

ฌอง-โคล้ด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้กล่าวว่า การเชื่อมโยงมาพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องของการเงิน นอกจากนี้ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ยังได้เสริมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม และนอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการพัฒนานั้นต้องไม่ใช่อยู่บนหนี้มหาศาลและไม่ควรที่จะขึ้นกับประเทศเดียวอีกด้วย

ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นก็ยังได้กล่าวถึงการเชื่อมโยงทางทะเลว่าจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแอตแลนติกควรที่จะเดินทางได้อย่างเสรีและเปิดกว้าง นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นยังมีความกังวลในเรื่องของหนี้ที่ประเทศต่างๆ รวมไปถึงความพยายามที่จะควบคุมในเรื่องเส้นทางเดินเรือ

นอกจากนี้การร่วมมือของญี่ปุ่นกับสหภาพยุโรปยังกล่าวว่า “มีความโปร่งใส” และยังเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนของสหภาพยุโรปจากแต่เดิมมักจะเป็นผู้บริจาคเงิน แต่หลังจากการจับมือกับญี่ปุ่นจะทำให้สหภาพยุโรปกลายเป็นผู้เล่นสำคัญทันที

ที่มาThe Star Online, RT, Japan Government

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ