JobThai.com เปิดตัวเลขตลาดแรงงานไทย งานไหนมาแรง งานไหนขาดแคลน ชี้กันชัดๆ

ตัวเลขคนว่างงานล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจเมื่อ มิ.ย. 59 สดๆ ร้อนๆ อยู่ที่ 390,000 คน นับเฉพาะที่สำรวจได้  แสดงว่ายังมีที่ยังมองไม่เห็นอีก และเพิ่งมีบัณฑิตจบใหม่ออกมาในตลาดอีกกว่า 300,000 คน แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันในตลาดงานที่ค่อนข้างหนักหน่วง

นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ หัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม บอกว่า จากการเก็บข้อมูลของ JobThai มีนักศึกษาจบใหม่เข้ามาฝากใบสมัครงานไว้กว่า 140,000 คน โดยสรุปพบว่า สาขาอาชีพที่นักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่ให้ความสนใจสมัครงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. งานวิศวกรรม คิดเป็น 16.96%
  2. งานจัดซื้อ-ธุรการ 11.49%
  3. ผลิต-ควบคุมคุณภาพ 10.58%

6+7 > 10 สาขาอาชีพที่สมัครม

ขณะที่ประเภทงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่มากที่สุด 3 อันดันแรก ได้แก่

  1. งานขาย คิดเป็น 25.2%
  2. งานบริการลูกค้า 16.1%
  3. งานวิศวกรรม 8.7%

1-2-mix_PATTERN_info_PressCon_59_260759

สาขาอาชีพยอดนิยมที่นักศึกษาจบใหม่ต้องการเงินเดือนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. งานวิศวกรรม เริ่มต้นที่ 17,600-28,000 บาท
  2. งานไอที-โปรแกรมเมอร์ เริ่มต้นที่ 14,800-25,000 บาท
  3. งานสิ่งแวดล้อม/ISO เริ่มต้นที่ 16,000-22,000 บาท

Print

สาขาอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. งานวิทยาศาสตร์-วิจัยพัฒนา มีอัตราการแข่งขัน 1 ต่อ 32 คน
  2. งานทรัพยากรบุคคล 1 ต่อ 15.5 คน
  3. งานวิชาการ-อาจารย์ 1 ต่อ 15 คน

6+7 > 10 สาขาอาชีพที่สมัครม

ทักษะการทำงานที่นักศึกษาคิดว่าตนเองถนัดที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
  2. การทำงานเป็นทีม
  3. การประสานงาน

Print

ทักษะที่ไม่ถนัดที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. การเขียนอีเมล
  2. การนำเสนองาน
  3. ความเป็นผู้นำ

สรุป

จากข้อมูลทั้งหมดสอดคล้องกับข้อมูลของประเทศไทยที่ยังมีการขยายงานด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ ทำให้งานด้านวิศวกรรมยังเป็นที่ต้องการ และมีนักศึกษาให้ความสนใจ แต่งานอันดับอื่นๆ เช่น จัดซื้อ/ธุรการ, ผลิต/ควบคุมคุณภาพ หรือ งานขาย ไม่ได้เป็นงานเฉพาะทางและใครก็สามารถทำได้ ยืนยันว่า งานยังคงสามารถหาได้ในตลาดแรงงาน

เช่นเดียวกับงานที่มีการแข่งขันสูง เช่น งานวิทยาศาสตร์ วิจัยและพัฒนา เป็นงานที่มีบัณฑิตจบออกมาจำนวนมาก แต่ตำแหน่งงานมีน้อย ประเทศไทยไม่มีการวิจัยและพัฒนามากนัก

สุดท้ายคือ ทักษะที่ถนัด จะเกิดจากการใช้งานประจำ เช่น การสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต การทำงานเป็นทีมและประสานงาน ขณะที่งานที่ไม่ถนัดคือ การเขียนอีเมล เพราะใช้แชทเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการเขียนรายงานและสรุปงาน ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ตลอดเวลาทำให้ทักษะด้านนี้ลดลง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา