ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้สิงคโปร์มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนมิถุนายน ถือว่าเป็นอัตราที่ใกล้ๆ กับช่วงวิกฤตการเงินในช่วงปี 2009 ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานของประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็เพิ่มสูงขึ้น
ไม่ใช่แค่สิงคโปร์เท่านั้นมีอัตราการว่างงานสูงแต่ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ก็มีจำนวนสูงขึ้น
สิงคโปร์นั้นมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น จากเดือนมีนาคมอยู่ที่ 2.4% มีการยุบตำแหน่งเพิ่ม 2 เท่าจากไตรมาสแรกอยู่ที่ 3,220 คน เป็น 6,700 คนในไตรมาสสอง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ระบุว่า มาตรการในการจัดการเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยจากโควิด-19 จะค่อยๆ ฟื้นฟู sectors ต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเบาบางต่อไปเนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังเผชิญแรงกดดันที่ต้องลดการจ้างงานอยู่
ในส่วนของฮ่องกง อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% จากเดิมเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 5.9% ถือว่ามีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเลยจุดสูงสุดที่มีการว่างงานในช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลกอยู่ที่ 5.5% ขณะที่มาเก๊า มีอัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 2.5% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมเช่นกัน อยู่ที่ 2.4%
ขณะที่ญี่ปุ่นนั้น มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 2.9% โดยช่วงวัยที่ว่างงานมากที่สุดอยู่ที่อายุระหว่าง 15-24 ปีมีการว่างงานอยู่ที่ 5.1% ส่วนมาเลเซียมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคมอยู่ในอัตราที่สูงถึง 5.4% นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร UOB สิงคโปร์เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า อัตราการว่างงานในมาเลเซียควรจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และน่าจะคงที่อยู่ระหว่าง 4-5% เทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดอยู่ที่ 3.2%-3.3%
รายงานจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่เผยแพร่เมื่อ 30 มิถุนายน ระบุว่า ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไตรมาสจะสูญเสียชั่วโมงการทำงานซึ่งก็สัมพันธ์กับไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 ที่มีการประเมินว่าจะสูญเสียชั่วโมงการทำงานถึง 13.5% ประมาณ 235 ล้านตำแหน่ง
ILO คาดว่า ตลาดแรงงานจะฟื้นตัวเต็มที่ปลายปี 2020 โลกจะสูญเสียชั่วโมงการทำงานราว 4.9% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ซึ่งก็สัมพันธ์กับไตรมาสสุดท้ายของปี 2019
ขณะที่ Suharso Monoarfa รัฐมนตรีแผนพัฒนาแห่งชาติแห่งอินโดนีเซียระบุว่า มิถุนายนนี้จะมีคนตกงานราว 4-5.5 ล้านคน ทำให้อัตราการว่างงานสูงถึง 8.1%-9.2% ขณะที่ปี 2019 มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ 5.28%
ตลาดแรงงานภาคการท่องเที่ยวกระทบอย่างหนักหน่วงในช่วงต้นปีนี้ บางธุรกิจต้องเผชิญแรงกดดันจนต้องลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงาน อัตราการว่างงานจำนวนมากจะส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษษฐกิจ นักการเมืองจะถูกกดดันอย่างหนักให้เร่งแก้ปัญหา สำหรับสิงคโปร์ประเด็นเรื่องงานจัดว่าเป็นหนึ่งในเรื่องหลักๆ ที่อยู่ในแคมเปญหาเสียงด้วย
ในเอเชียแปซิฟิกนี้ ไต้หวันและเกาหลีใต้ถือว่าได้รับความชื่นชมอย่างมากในการจัดการแก้ปัญหาโควิด-19 โดยอัตราการว่างงานของไต้หวันลดลงอยู่ที่ 3.97% ในเดือนมิถุนายน จากที่ก่อนหน้านั้นอยู่ที่ 4.16% ขณะที่เกาหลีใต้ก็ลดลงจาก 4.5% เป็น 4.3% อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งแก้ปัญหาหรือคุมการระบาดของโควิด-19 ได้เร็วเท่าไร ยิ่งจัดการแก้ปัญหาการตกงานว่างงานได้มาก เนื่องจากประเทศจะสามารถมีศักยภาพในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เร็วกว่า
สำหรับไทย ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2020 มีผู้มีงานทำราว 37.4 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 0.7% จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลง 3.7% ซึ่งไทยไม่ได้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีอยู่ก่อนหน้าแล้ว แถมยังมีภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรงต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2019 อีก อัตราการว่างงานของไทยอยู่ที่ 1.03% เพิ่มขึ้นจาก 0.92% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ไทยเสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ในแรงงาน 3 กลุ่ม คือแรงงานภาคการท่องเที่ยว 3.9 ล้านคน แรงงานภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 1.5 ล้านคน (สงครามการค้าก็มีส่วนในการสร้างผลกระทบนี้) และการจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่การท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้มีการจ้างงานอยู่ที่ 10.3 ล้านคน จะได้รับผลกระทบราว 4.4 ล้านคน
ที่มา – Nikkei Asian Review, สนง. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา