เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปแผนที่จะเพิ่มค่ารักษาทางการแพทย์สำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป เพื่อช่วยลดภาระคนหนุ่มสาว คนวัยทำงานที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านนี้แทน ญี่ปุ่นมีอัตราประชากรสูงวัยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันอัตราการเกิดก็อยู่ในระดับต่ำ
ด้วยเหตุนี้ ค่าธรรมเนียมสำหรับดูแลรักษาสุขภาพของคนสูงวัยอายุ 75 ปีขึ้นไปรวมทั้งค่าบำนาญจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 2 ล้านเยนหรือ 19,230 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 577,699 บาทของเงินบำนาญรายปี กล่าวคือรัฐบาลเพิ่มให้เป็น 20% จากเดิมอยู่ที่ 10% ซึ่งงบดังกล่าวจะถูกบรรจุอยู่ในปีงบประมาณ 2022
รัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าจะช่วยลดภาระจากคนหนุ่มสาวได้ราว 8.8 หมื่นล้านเยนหรือประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาทคาดว่าปีหน้าจะเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยให้ผู้สูงวัยที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปที่ได้รับเงินบำนาญรายปีอยู่ที่ 1.7 ล้านเยนหรือมากกว่านี้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง 20% ซึ่งก็มีผู้สูงวัยราว 5.2 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่งบจะถูกเห็นพ้องกันอยู่ที่ 2 ล้านเยน ก็มีการยื่นเรื่องให้ขึ้นบำนาญถึง 5 แผนด้วยกัน ตั้งแต่ระดับ 1.55 ล้านเยน ถึง 2.4 ล้านเยนต่อปีหรือมากกว่านั้น
ปัจจุบัน ประชากรญี่ปุ่นมีทั้งหมด 126 ล้านคน มีคนสูงวัยอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปจำนวน 18.15 ล้านคน พวกเขาต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ 10% แต่คนสูงวัยจำนวน 1.3 ล้านคนที่ได้รับเงินบำนาญอยู่ที่ 3.83 ล้านเยนต่อปีต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ 30%
ทั้งนี้ สาธารณสุขญี่ปุ่นมีต้นทุนในการรักษาพยาบาลสำหรับคนสูงวัยอายุ 75 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 16.6 ล้านล้านเยน ราว 50% นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมภาษีด้วย ขณะที่ 40% เป็นทุนจากสมาคมประกันสุขภาพ ส่วนอีก 10% ผู้ป่วยจ่ายด้วยตนเอง กล่าวคือ ยิ่งมีเงินบำนาญสูงก็ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองสูงตามไปด้วย
ที่มา – Japan Today, Asahi
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา