ญี่ปุ่นสนใจย้ายออกจากจีนมากขึ้น รัฐเร่งอุดหนุนโดยเฉพาะบริษัทที่ผลิตยา เครื่องมือแพทย์

บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งสนใจย้ายฐานการผลิตออกจากญี่ปุ่นกันท่วมท้น เพราะความกังวลจากภาวะชะงักงันของแหล่งซัพพลายเชนในจีนช่วงโควิดระบาดคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้หลายองค์กรกังวลเรื่องนี้ 

Tokyo Japan โตเกียว ญี่ปุ่น
ภาพจาก Unsplash

โครงการที่ญี่ปุ่นผลักดันให้การสนับสนุนการผลิตภายในประเทศใช้งบมากถึง 2.20 แสนล้านเยน หรือ 2.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท รอบแรกนั้นสิ้นสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติไปแล้ว 57 บริษัท มูลค่าราว 5.74 หมื่นล้านเยน รอบสองเพิ่งปิดไปเมื่อเดือนกรกฎาคม มีการตอบรับมากขึ้น มีการยื่นคำร้องมากถึง 1,670 ฉบับ มูลค่าราว 1.76 ล้านล้านเยนหรือราว 5.21 แสนล้านบาทมากกว่างบประมาณโดยรวมราว 11 เท่า 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจะมาคัดเลือกอีกทีราวเดือนตุลาคม แม้เบื้องต้นรัฐบาลยังม่ได้มีแผนจะอัดฉีดเงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติม แต่บริษัทต่างๆก็ให้ความสนใจเพราะต้องการมีแหล่งซัพพลายเชนที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง

นอกจากนี้ อีก 30 บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีงบสนับสนุนราว 2.35 หมื่นล้านเยน ขณะที่ทุนสนับสนุนการผลิตที่เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข อาทิ หน้ากาก หรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์นั้นได้รับทุนสนับสนุนราว 1.5 หมื่นล้านเยนต่อโครงการ

ภาพจาก Pixabay

หลายบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนอันดับต้นๆ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข เช่น บริษัท ACE Japan ได้รับเงินอุดหนุนตั้งแต่การอนุมัติรอบแรก ACE เป็นบริษัทผลิตยาที่เตรียมกลับมาตั้งบริษัทที่ญี่ปุ่น จังหวัด Yamagata เผื่อผลิตส่วนประกอบสำคัญที่นำเข้าจากจีน

บริษัท Iris Ohyama เป็นบริษัทแรกที่ได้ทุนอุดหนุน เคยใช้ทุนเพื่อผลิตหน้ากากภายในประเทศ เพื่อให้มีแหล่งซัพพลายที่หลากหลายมากขึ้น จากเดิมผลิตที่เมือง Suzhou และ Dalian จีน, Sowa Glove ก็เตรียมผลิตถุงมือยางภายในประเทศช่วงฤดูร้อน ปี 2023 เพื่อทดแทนการนำเข้าราว 10% ส่วนใหญ่บริษัทผลิตและขายในมาเลเซีย แต่โควิดก็มาดิสรัปจนระส่ำระสาย

รัฐบาลญี่ปุ่นเคยให้เงินอุดหนุนบริษัทต่างๆ  มาก่อนหน้านี้แล้วในช่วงที่ทีวิกฤต ช่วงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิปี 2011 ญี่ปุ่นได้รับคำร้องราว 750 แห่งในรอบแรกและให้ไป 200 แห่ง มูลค่าสูงราว 2 แสนเยน แต่ครั้งนี้มีบรรยากาศความไม่แน่นอนสูง และยังมีสงครามการค้ารหว่างสหรัฐและจีนอีก

ภาพจาก Pixabay

Yasuyuki Todo ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจจากมหาวัทยาลัย Waseda ระบุว่า นโยบายปกป้องตลาด (Protectionist) เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ก่อนโรคระบาดโควิดจะเกิดแล้ว แต่เมื่อโลกต้องเผชิญกับโควิดเข้าไป มันยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ตัวแทนจากบางบริษัทก็ตระหนักเรื่องนี้และตัดสินใจที่จะผลิตในประเทศมากขึ้นแม้จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลก็ตาม

แน่นอนว่า ต้นทุนการผลิตแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน เคยมีการทำผลสำรวจเหล่าบริษัทญี่ปุ่นในปี 2019 โดย JETRO (Japan External Trade Organization: องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น) พบว่าถ้าต้นทุนญี่ปุ่น = 100 จีนจะอยู่ที่ 80 ขณะที่เวียดนามอยู่ที่ 74 

หลายบริษัท หลายองค์กรเริ่มตระหนักว่าการพึ่งพาจีนมากเกินไปสร้างปัญหาได้ ดังนั้น การกระจายความเสี่ยงจึงมีความจำเป็นและสำคัญ 

ที่มา – Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา