อิปซอสส์ เผยผลวิจัยชุดล่าสุด  คนไทยเซฟเงินในกระเป๋ามากขึ้น

อิปซอสส์ เผยผลวิจัยชุดล่าสุด  คนไทยเซฟเงินในกระเป๋ามากขึ้น และยังกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อมากกว่าการระบาดของโควิด19

จากสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ที่ค่อนข้างดีขึ้น คนไทยรวมถึงผุ้คนทั่วโลกยังต้องมาเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราการจับจ่ายสินค้าประเทศสินค้าฟุ่มเฟือย อย่างเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ลดลง

โดย บริษัท อิปซอสส์  จำกัด  (Ipsos Ltd.) บริษัทด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค เปิดเผยว่า  หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด เป็น โรคประจำถิ่น โดยภาพรวมมั่นใจสภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว แต่ประชาชนวิตกกังวลสูงใน ภาวะเงินเฟ้อ และ ไม่มั่นใจด้านรายได้ ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อสุขภาพ และ เลือกที่จะตัดรายจ่ายกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นและสินค้าราคาแพง โดยกลุ่มที่มีการซื้อมากขึ้น คือ กลุ่มอาหาร มาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สินค้าส่วนบุคคล ภัตตาคารและร้านกาแฟ และ เสื้อผ้า-รองเท้า-เครื่องประดับ

ด้านนายภาคี เจริญชนาพร  Country Service Line Leader เปิดเผยว่า โดยภาพรวมความเชื่อมั่นของประชากรในกลุ่มประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้ กับสถานการณ์โควิด ที่มีการเปลี่ยนจากภาวการณ์แพร่ระบาด สู่ โรคประจำถิ่น โดย อินโดนีเซียมีความเชื่อมั่นสูงสุด และ ไทยในอัตราต่ำสุด มีสถิติ ดังนี้  อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ ไทย ในอัตรา 85%  81%  74%  68% 65% และ 55% ตามลำดับ 

ทั้งนี้พฤติกรรมของประชากรชาวไทยเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยากทำในอีก 3 เดือนข้างหน้า คือ ไปเยี่ยมเพื่อนและครอบครัวที่บ้าน ไปภัตตาคารท่องเที่ยวภายในประเทศ ไปร่วมงานวัฒนธรรมและงานชุมนุม ใช้บริการรถขนส่งมวลชน ไปเข้ายิมและทำกิจกรรมด้านกีฬา ไปเที่ยวต่างประเทศ                                                                                                                          

นอกจากนี้  กิจกรรมที่ทำในช่วงการแพร่ระบาดโควิด คือ เน้นสุขภาพ และ ช้อปปิ้ง ออนไลน์ โดย 96% ยอมทำสิ่งต่างๆมากขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายตนเองให้ดียิ่งขึ้นและ 83% ยอมตัดความสะดวกสบายบางอย่าง  เพื่อเอาเงินไปซื้อสินค้าด้านสุขภาพ โซเชียลมีเดีย อี-คอมเมิร์ช และ Twitch

นายภาคี เปิดเผยเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ยังคงเป็นที่ช่องทางที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติการซื้อของออนไลน์ใน 6 เดือนที่ผ่านมา เปรียบเทียบระหว่างช่วง พ.ย. 64 ถึง พ.ค. 65

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา