จากสถิติในเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนคนมั่งคั่งสูงถึง 18% ของประชากรทั้งหมด นับเป็น 20.64 ล้านคน หรือมีรายได้เฉลี่ยร่วม 20 ล้านล้านบาทต่อเดือน อิปซอสส์ เผยวิถีชีวิตกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย รวมทั้งคนไทยใช้ไลฟ์สไตล์อย่างไรให้สมควรว่ารวยของจริง
อิษ
หากพิจารณารายได้ของคนกลุ่มมั่งคั่ง โดยชาวเอเชียมีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนอยู่ที่ $USD 5,477 หรือประมาณ 1.6 แสนบาท อย่างไรก็ตามกลุ่มคนมั่งคั่งที่ไทยมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย โดยคนไทยที่มีความมั่งคั่งราว 1.8 ล้านคน มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่เพียง $USD 4,826 หรือประมาณ 1.4 แสนบาทเท่านั้น
กลุ่มคนมั่งคั่งของไทยเมื่อหลายปีก่อนจะมีรายได้ระดับเพิ่มจาก 4หมื่นบาทต่อเดือนเป็น 7.5 หมื่นบาทต่อเดือน ส่วนกลุ่มมั่งคั่งรายได้ 2.75 แสนบาทต่อเดือน และพบว่าผู้หญิงกลายเป็นกลุ่มที่มีรายได้มั่งคั่งหรือรวยกว่าผู้ชาย โดยก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูงมากกว่า
รายได้เท่าไรจัดอันดับคนมั่งคั่ง
- ยุโรป รายได้ต่อคน 1,888,852 ล้านบาทต่อปี
- เอเชียแปซิฟิก รายได้ต่อคน 1,190,370 ล้านบาทต่อปี
- อเมริกา รายได้ต่อคน 5,157,522 ล้านบาทต่อปี
- ประเทศไทย (คนรวย) รายได้ต่อคน 778,334 ล้านบาทต่อปี
- ประเทศไทย (คนมั่งคั่ง) รายได้ต่อคน 1,703,003 ล้านบาทต่อปี
ชาวมิลเลนเนียลกลายเป็นคนรวยขึ้น
ประชากรที่เป็นชาว”มิลเลนเนียล”หรือผู้ที่มีอายุ 25-37 ปี กลายเป็นกลุ่มที่มีรายได้ดีกระทั่งขยายตัวไปสู่กลุ่มคนรวย ส่วนหนึ่งเพราะทัศนคติเปลี่ยน ต้องการสร้างเนื้อสร้างตัว และอัตราการมีลูกลดลง
ซึ่งพบว่า ขณะนี้กลุ่มมหาเศรษฐี มีสัดส่วน 0.5-1% ส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลดังๆ ของประเทศ อาทิ สิริวัฒนภักดี เจียรวนนท์ คนรวยและคนมั่งคั่งมีสัดส่วน 17% การเติบโตของคนรวยมิลเลนเนียล ช่วยผลักดันให้คนรวยขยายตัวเพิ่มขึ้น
พฤติกรรมการช้อปปิ้งของหรู
ในแง่ของพฤติกรรมการช้อปปิ้งของกลุ่มคนที่มีรายได้สูง พวกเขามักจะเลือกคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดที่สามารถตอบสนองความต้องการและรูปแบบไลฟ์สไตล์ของตนเอง โดยจากสถิติพบว่าภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มคนมั่งคั่งทั้งในเอเชียและประเทศไทย
จิวเวลรี่ที่มีมูลค่าถึง $USD9,999 หรือประมาณ 3 แสนบาท
- คนรวยในเอเชีย 55%
- คนรวยในไทย 47%
นาฬิกาหรูที่มีราคาถึง $USD1,999 หรือประมาณ 6 หมื่นบาท
- คนรวยในเอเชีย 35%
- คนรวยในไทย 46%
ไวน์ ที่มีมูลค่าสูงถึง $USD4,999 (1.5 แสนบาท)
- คนรวยในเอเชีย 53%
- คนรวยในไทย 44%
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ
- คนรวยในเอเชีย 47%
- คนรวยในไทย 46%
เครื่องแต่งกายและเครื่องหนังที่ดีไซน์เฉพาะ
- คนรวยในเอเชีย 31%
- คนรวยในไทย 21%
เครื่องประดับและรองเท้า
- คนรวยในเอเชีย 25%
- คนรวยในไทย 25%
คนรวยสไตล์ไทยไม่ยึดติดแบรนด์เนม
จากการศึกษา เปอร์เซ็นต์ของการครอบครองสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่า $US1,000 หรือราวๆ 3 หมื่นบาท ในกลุ่มของคนมีฐานะทั้งในเอเชียแปซิฟิก และประเทศไทยจะพบว่า กลุ่มคนมั่งคั่งในไทยมีเปอร์เซ็นต์การเป็นเจ้าของเสื้อผ้าหรือเครื่องหนังที่มีดีไซน์เฉพาะ โดยไม่ยึดติดว่าเป็นแบรนด์เนมจากต่างประเทศ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในแถบเอเชียแปซิฟิก แต่สำหรับสินค้าประเภทเครื่องประดับและรองเท้านั้น จะมีสัดส่วนในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
ญี่ปุ่นแหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งคนรวยเอเชียฯ
การท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ที่กลุ่มคนมีฐานะชาวเอเชียชื่นชอบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความจำเป็นในการเดินทางเพื่อธุรกิจ และผู้ที่ชอบเดินทางเพื่อการพักผ่อน จากสถิติพบว่า
- คนรวยเอเชียแปซิฟิก มีการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อย 3.8 ครั้งต่อปี
- คนรวยคนไทย มีการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อย 4.1 ครั้งต่อปี
- คนมั่งคั่งคนไทย มีการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อย 6ครั้งต่อปี
โดยกว่า 33% ของกลุ่มคนรวยในไทย และ 22% ของคนในเอเชียแปซิฟิกเลือกที่จะไปประเทศญี่ปุ่น ตามด้วยฮ่องกงในอัตรา 19% และ 14% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามพบว่า คนรวยของคนไทยเริ่มเดินทางไปประเทศจีนเป็นอันดับสองแทนที่ฮ่องกง เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเจรจาทางการค้า ส่วนคนรวยเอเชียแปซิฟิก การท่องเที่ยวยุโรปลดลง
รูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มคนมั่งคั่งในประเทศไทยคือการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ หรือเพื่อสุขภาพ ตามด้วยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่มีค่าชี้วัดมากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเกิน 1 เท่าตัว และ 50% ตามลำดับ
คนมั่งคั่งในเอเชียเสพสื่อทุกแพลตฟอร์ม
สำหรับรูปแบบสื่อที่กลุ่มเป้าหมายที่มั่งคั่งในเอเชียชื่นชอบนั้นเรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกแพลตฟอร์ม แต่มีการใช้เวลากับ เว็บไซต์ และ แอพต่างๆ สูงสุด ตามมาด้วย ทีวี หนังสือ พิมพ์ และ แมกกาซีน สำหรับกลุ่มคนมีรายได้สูงชาวไทย จะใช้เวลากับแอพ และเว็บไซต์ มากกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย โดยชอบทั้ง 2 แพลตฟอร์มทั้งสื่อรูปแบบดั้งเดิมและสื่อใหม่ดิจิทัล
คนมั่งคั่งในเอเชียแปซิฟิก และคนมีรายได้สูงชาวไทย ต่างมีความนิยมในการเสพสื่อทีวี และนิตยสารต่างประเทศเหมือนๆกัน เพียงแต่มีสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดย 44% เป็นอัตราสำหรับคนมีรายได้สูงในเอเชียแปซิฟิก และ 50% ของคนมีรายได้สูงชาวไทย
ส่วนสื่อโซเชียล นับได้ว่าเป็นสื่อที่แทบจะถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของกลุ่มคนมั่งคั่งทั้งหลาย สำหรับกลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียแปซิฟิกนั้น
- Facebook 69%
- YouTube 63%
- Instagram 42%
- LinkedIn 21%
คนรวยในชาวไทย นิยมใช้ช่องทาง Facebook YouTube Instagram และLinkedIn ในอัตรา 94% 90% 61% และ 18% ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้นจากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนมีฐานะในประเทศไทยใช้เวลากับโซเชียลมีเดียต่างๆ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย คนไทยใช้เวลากับแพลตฟอร์มเหล่านี้มากกว่า 500 นาทีภายในระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมาหรือราวๆ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
รวยแล้วยอมจ่ายเพื่อรักษ์โลก
มากกว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มคนมีฐานะในภูมิภาคเอเชียให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมของโลกมากกว่าการใช้จ่ายเพื่อเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และยินดีที่จะสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
- 53% ยินดีที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับสินค้าหรือบริการที่เป็นให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
- 47% ยังยินดีที่จะซื้อหรืออุดหนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ เป็นที่น่าสนใจว่ากลุ่มคนมีฐานะในประเทศไทย
- 63% ยินดีที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- 53% ยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่ากลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียอย่างมีนัยยะ
สรุป : กลยุทธ์การตลาด
- การสร้างแบรนด์และสร้างการรับรู้ถึงกลุ่มคนรวยและมั่งคั่ง สินค้าหรือแบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดีย เพราะเป็นสื่อที่เอ็นเกจเม้นต์คนกลุ่มดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จากพฤติกรรมของกลุ่มคนรวยที่ติดโซเชียลและใช้ระยะเวลาเล่น 2-3 เท่าตัว
- การทำโซเชียลมีเดีย ต้องสื่อสารอย่างชัดเจนเหตุผลของการที่ต้องซื้อสินค้าดังกล่าว
- การโฆษณาเป็นสื่อที่ใช้ได้ดีและเครื่องมือที่ยังมีประโยชน์กับกลุ่มคนรวย จากข้อมูลคนมั่งคั่งถึง 59% มองว่าเป็นสื่อที่สำคัญและทำให้มีความมั่นใจในการซื้อสินค้า
- นักการตลาดต้องเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง อย่างเทรนด์การซื้อสินค้าแบรนด์เนมของคนรวยที่ไม่ได้เป็นแบรนด์จากต่างประเทศ แต่ต้องการเสื้อผ้าที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์และตัวตนของตัวเองมากกว่า
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา