ความต้องการของผู้ลงทุนหลายท่าน ต้องการการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ และมักเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนดี โดยคาดหวังว่าจะได้รับเงินลงทุนคืนพร้อมดอกเบี้ยตามกำหนด เพื่อไปลงทุนใหม่เรื่อย ๆ แต่เหตุการณ์เริ่มไม่เป็นไปตามคาดเนื่องจาก มีการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทที่ออกตั๋วแลกเงินหรือ ตั๋ว B/E ทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับเงินบางส่วนคืนตามกำหนดเวลา วันนี้เราจะมาหาทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอด้วยกองทุนหุ้นปันผล
ทำความรู้จักกองทุนหุ้นปันผล
กองทุนหุ้นปันผล หมายถึงกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น และมีการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อมีกำไร โดยไม่ได้มีข้อกำหนดว่าจะต้องลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผล ผู้ลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลจึงมีโอกาสได้รับทั้งปันผลและกำไรจากการขายหน่วยลงทุน สำหรับความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลอยู่ในระดับเดียวกันกับการลงทุนในกองทุนหุ้นโดยทั่วไป ดังนั้น การลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นให้กับผู้ลงทุน
กองทุนหุ้นปันผลน่าสนใจ
ขอยกตัวอย่างกองทุนหุ้นปันผลที่มีประวัติการจ่ายปันผลต่อเนื่องสม่ำเสมอที่น่าสนใจ 3 กองทุน คือ
LH GROWTH-D: เป็นกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผลให้กับผู้ลงทุน โดยในช่วงปี 2014-2016 กองทุนจ่ายปันผลในระดับใกล้เคียงกันที่ 0.9 บาท, 0.8 บาท และ 1.03 บาท ต่อหน่วยตามลำดับ หรือคิดเป็นปันผลประมาณ 8% ต่อปี เมื่อคิดจาก NAV ในปัจจุบันที่ 11.0327 บาทต่อหน่วย (ณ วันที่ 13 มกราคม 2560)
นอกจากนโยบายปันผลแล้ว กองทุน LH GROWTH ยังมีนโยบายอื่นให้เลือกอีก 2 นโยบาย คือ
LH GROWTH-A (ชนิดสะสมมูลค่า) สำหรับผู้มีความประสงค์ลงทุนอย่างต่อเนื่อง
LH GROWTH-R (ชนิดรับซื้อหน่วยลงทุนคืนอัตโนมัติ) เป็นการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติให้กับทาง บลจ. โดยผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากกำไรจากการขายหน่วยลงทุนได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
PHATRA ACT EQ: เป็นกองทุนที่เปิดขึ้นตั้งแต่ปี 2011 และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องผ่านวิกฤติปี 2013 (ความกังวลเกี่ยวกับการลด QE และวิกฤติการเมืองในประเทศ) ในช่วงปี 2012-2016 กองทุนจ่ายปันผลในระดับใกล้เคียงกันที่ 0.4-0.5 บาทต่อหน่วย หรือคิดเป็นปันผลประมาณ 2.7% ต่อปี เมื่อคิดจาก NAV ในปัจจุบันที่ 16.2893 บาทต่อหน่วย (ณ วันที่ 13 มกราคม 2560)
PHATRA DIVIDEND: ปันผลอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 0.6-0.75 บาท หรือคิดเป็นผลตอบแทนประมาณ 5.35% ต่อปี เมื่อคิดจาก NAV ในปัจจุบันที่ 12.1469 บาทต่อหน่วย (ณ วันที่ 13 มกราคม 2560)
ถ้าซื้อกองทุน ณ สิ้นปีผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้าง ?
เนื่องจากกองทุนหุ้นปันผล คือ กองทุนหุ้นที่มีนโยบายปันผล ดังนั้นเราควรพิจารณาผลตอบแทนโดยรวม ทั้ง Capital gain และผลตอบแทนในส่วนของเงินปันผล จากตัวอย่างผลตอบแทนโดยรวมถ้าลงทุนตั้งแต่สิ้นปี 2013 อยู่ที่ประมาณ 6-10% เฉพาะส่วนของปันผล อยู่ในช่วง 2-10% อย่างไรก็ตามข้อมูลที่นำมาแสดงเป็นข้อมูลในอดีต ไม่สามารถบอกได้ว่าผลการดำเนินงาน หรือ ผลตอบแทนในอนาคตจะเป็นอย่างไร ดังนั้นหากท่านใดสนใจลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลควรศึกษาข้อมูลด้านอื่นประกอบด้วย เช่น นโยบายการลงทุนหลัก นโยบายการจ่ายเงินปันผล ค่าธรรมเนียมในการจัดการต่าง ๆ
นอกจากกองทุนหุ้นปันผลที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว มีกองทุนหุ้นปันผลที่น่าสนใจเข้ามา IPO ช่วงวันที่ 19-27 มกราคม 2560
แนะนำกองทุนหุ้นปันผลใหม่
CIMB-Principal Thai Dynamic Income Equity Fund (CIMB-PRINCIPAL TDIF)
MONEY TALK – กองทุนหุ้นปันผล CIMB Principal – มกราคม 2560
กลยุทธ์ในการเลือกหุ้นเพื่อลงทุนหุ้นต้องมีดี 3 ข้อ
- บริษัทที่จะทำการลงทุนต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้รับ CG Score ระดับ 3 ดาวขึ้นไป
- บริษัทมีอัตราการจ่ายปันผลในระดับที่ดี หรือ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
- บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายเงินปันผลได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
นอกจากคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาแล้ว กองทุนอาจพิจารณาเลือกบริษัทที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลต่ำ เนื่องจากบริษัทต้องการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต แต่ด้วยวิธีการคัดเลือกบริษัทเพื่อลงทุนทำให้กองทุนนี้เป็นกองทุนที่อาจลงทุน Focus อยู่ในบริษัทน้อยราย (15-25 บริษัท)
วัตถุประสงค์การลงทุน
เพื่อสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอจากเงินปันผลรวมทั้งผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นผลจากกลยุทธ์ในการคัดเลือกหุ้นรายตัว โดยให้น้ำหนักกับผลตอบแทนโดยรวม
ค่าธรรมเนียม:
สำหรับท่านใดสนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของ CIMB-PRINCIPAL TDIF สามารถเข้าไปดูได้ตาม Link ที่แนบมา http://www.cimb-principal.co.th/fund_pdf/CIMB-PRINCIPAL%20TDIF.pdf
นอกจากกองทุนหุ้นปันผลจะสามารถสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้แล้ว ยังมีกองทุนอีกประเภทคือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราจะแนะนำกองทุนที่น่าสนใจในครั้งถัดไป
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา