คำต่อคำ ประธานสภาอุตสาหกรรม: รัฐต้องเสริมภาคเกษตรฯ ปรับกฎระเบียบราชการ หนุนรถยนต์​ EV

Brand Inside สัมภาษณ์สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สะท้อนภาพอุตสาหกรรมไทยจากนี้ไปจะต้องเผชิญอะไรบ้าง ปีนี้ ทุกอุตสาหกรรมต้องระมัดระวังตัว มีทั้งรอดและไม่รอด ขึ้นอยู่กับการปรับตัว รัฐต้องเสริมภาคเกษตรฯ ปรับกฎระเบียบราชการ หนุนพัฒนารถยนต์​ EV 

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

สภาพอุตสาหกรรมในไทย ไตรมาส 2 และครึ่งปีหลังจากนี้ พบว่า ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ทั้งในด้านการท่องเที่ยว ทั้งการส่งออก และอีกหลายอุตสาหกรรม โดยไตรมาส 3 จะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ยังได้รับผลกระทบอีกมาก ไปจนถึงไตรมาส 4 ซึ่งถ้าพูดถึงการผลิตวัคซีนในปีนี้ก็ถือว่ามีโอกาสน้อยมาก 

ปีนี้ ทุกอุตสาหกรรมต้องระมัดระวังตัว มีทั้งรอดและไม่รอด

อุตสาหกรรมในไทยจะรอดหรือไม่รอดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการปรับตัว ในอุตสาหกรรมเดียวกันมีทั้งรอดและไม่รอด เราไม่อยากให้พังไปทั้งหมด ที่น่าเป็นห่วงคือภาคการท่องเที่ยวที่มีปัญหา

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้า luxury ก็น่าเป็นห่วง เพราะผู้คนระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ดังนั้นทุกอุตสาหกรรมต้องลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไร ต้องมีนวัตกรรม โดยเศรษฐกิจทุกประเทศทั่วโลกที่แข็งแรงเกิดจากนวัตกรรม ช่วยทำให้ภาคเศรษฐกิจอยู่รอด

นวัตกรรมและอุตสาหกรรมไทยตอนนี้ ภาครัฐจะต้องส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเติบโต ภาคเอกชนเราแข็งแรง แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐจริงๆ โดยเฉพาะบริษัทเล็กและกลางที่มีเงินทุนทำนวัตกรรมไม่เยอะ

กระแสเงินสดและการเงินคือจุดอ่อนของภาคอุตสาหกรรมไทย

ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี กระแสเงินสดถือเป็นปัจจัยหลังผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย ทำอย่างไรให้เขาอยู่รอด ภาครัฐต้องขับเคลื่อนให้คนใช้เงินมากขึ้น สนับสนุนสินค้าไทยมากขึ้น การเงิน การคลัง ภาษี รัฐทำอยู่ แต่ต้องทำให้เข้าเป้ามากสุด ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุด

จุดอ่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยคือ ไทยไม่ค่อยเก่งเรื่องกระแสเงินสด เรื่องการเงิน เรามุ่งขยายไซส์ แต่ไม่เน้นเรื่องการเงิน รวมถึงนวัตกรรม ไม่ค่อยพัฒนาเพื่อตอบสนองตลาด ต้องมาดูว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดแล้ว โควิดเข้ามาทุกอย่างเปลี่ยนไป เรื่องอีคอมเมิร์ซจะทำยังไงให้ผู้บริโภคสนใจมากขึ้น

ในส่วนของการล็อคดาวน์นั้น ครั้งแรกถือว่ามีความจำเป็นเพื่อหยุดการระบาดของโรค วันนี้เราล็อคดาวน์ได้ดีแล้ว เป็นประเทศแรกๆ ที่ล็อคดาวน์ได้ดีสุด แต่เศรษฐกิจแย่ที่สุด IMF ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยแย่ที่สุดในอาเซียน เรานำเสนอให้ตั้งคณะฟื้นฟูเศรษฐกิจ เหมือนตั้งคณะโควิด เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นฟูได้เร็ว

Photo by Dennis Rochel on Unsplash

ภาคการเกษตรเกี่ยวพันกับผู้คนจำนวนมาก ต้องให้ความสำคัญ

ภาคเกษตรกรรมเกี่ยวข้องกับคนไทยเยอะมาก แม้จะเป็นสัดส่วนจีดีพีไม่ถึง 10% ดังนั้นต้องเน้นพัฒนาเกษตรให้มีคุณภาพ โฟกัสว่าจะทำอะไร คนที่เกี่ยวข้องมากสุดคือประชากรเกษตร จะเป็นครัวโลก สมุนไพรโลก เราโฟกัสได้ สร้างอุตสาหกรรมแปรรูป ส่งเสริมได้

ส่วนสำคัญคือ ต้องแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำขาด น้ำเกินตลอดเวลา เจาะโซนให้เกษตรมีคุณภาพต่อไร่ดีขึ้นเพื่อทำให้ประเทศแข็งแกร่งมากขึ้น

กฎระเบียบมากมาย เข้มงวดจนขับเคลื่อนลำบาก 

ภาคการผลิตตอนนี้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคเป็นหลัก อีอีซีจำเป็นต่อนักลงทุน และต้องทำให้เป็นประโยชน์กับคนไทยมากสุด ให้คนไทยเติบโตและได้ประโยชน์มากสุด ไม่ใช่เอาแค่นักลงทุนเข้ามาและได้ประโยชน์ภาษีไป ต้องได้ know how และ r&d ด้วย

ส่วนเรื่องการย้ายฐานการผลิต เราไม่ได้อยู่ในลำดับต้นๆ ตอนนี้มีทั้งสงครามการค้า มีโควิด-19 เมื่อก่อน globalize อะไรที่ซัพพลายเชนสั้นที่สุด เราก็ยังมีโอกาสเพราะโครงสร้างพื้นฐานเราดี ถ้าเรารวมตัวกัน แก้กฎเกณฑ์ให้รวดเร็วมากขึ้น เราจะได้เปรียบทั้งภูมิประเทศ คน และพื้นที่ 

กลไกต่างๆ อาทิ ค่าแรงสูงขึ้น กฎระเบียบสูงขึ้น การตัดสินใจของภาครัฐในการลงทุนไม่ง่าย บางประเทศเขา customize บางประเทศได้ แต่เราแก้ไม่ได้ เราเข้มงวดจนเราไม่สามารถเดินได้ อันนี้คือ จุดอ่อน

ส่วนจุดแข็งที่ทำให้ไทยดึงดูดต่างแระเทศเข้ามาลงทุน คือเรื่องภูมิประเทศ โครงสร้างพื้นฐานและการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่หลายประเทศพึ่งพาเรามาก สินค้าไทยมีภาพลักษณ์ดี เหนือจีนในหลายๆ อุตสาหกรรม น้ำ ไฟเราพร้อม สำหรับผู้ที่จะมาลงทุน เรามีวัฒนธรรมที่ค่อนข้างดี 

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

บทบาทสภาอุตสาหกรรมไทย หลังจากนี้ถึงต้นปีหน้าในการผลักดันอุตสาหกรรม

ช่วงนี้ เศรษฐกิจแย่ ส.อ.ท. กำลังรื้อบทบาทใหม่ให้เป็น service organization เพื่อแก้โครงสร้างที่ช่วยดูแลเรื่องต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ เช่น การเงิน อีคอมเมิร์ซ ให้แมทช์กันมากที่สุด มีนวัตกรรม ช่วยดูแลเรื่องนวัตกรรม สถาบันการศึกษา มีหน่วยงานที่ดูแล มี FTI  Academy ที่เชื่อมกับทุกมหาวิทยาลัย นำหลักสูตรและข้อมูลให้ผู้ประกอบการได้ เราเตรียมรองรับผู้ประกอบการในอนาคต เป็น One Stop Services 

สำหรับประเทศเวียดนาม อินเดีย เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่เรียกว่าเสียเปรียบ ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมต่างๆ ถ้าใช้แรงงานเยอะ เราอาจไม่ได้เปรียบ ถ้าใช้อุตสาหกรรมที่เป็นนวัตกรรม เราก็ผลักดันได้ คนของเราไม่ได้ไม่เก่ง แต่เก่งเยอะมาก

ในด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวหายไปสามสิบล้านคน จะช่วยการท่องเที่ยวยังไงบ้าง เราก็ต้องพึ่งพาคนในประเทศเป็นหลัก โรงแรมอาจต้องลดดาวลงมา รัฐต้องช่วยส่งเสริมให้มีสัมมนา หรือใช้บริการมากขึ้น ใช้เวลาตอนนี้รีเซ็ตการท่องเที่ยวเราเลย ต้องจัดการมาเฟีย คิวแท็กซี่ เพื่อให้เกิดการยอมรับของผู้บริโภค เราเน้นเรื่องสินค้าไทย คนไทย ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเราดีขึ้น

ในส่วนของยานยนต์ ยอดขายลดลงทั่วโลก ไม่ใช่แค่ไทย ทำไมเราไม่ส่งเสริมรถไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้าให้มีโอกาสโต ต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ ขึ้นกับเศรษฐกิจ ถ้าข้าวราคาดี เกษตรดี รถก็ขายดี ต้องให้นวัตกรรมใหม่ในไทยยังอยู่กับเรา

EV จะลำบาก ถ้ารัฐไม่สนับสนุน หลายประเทศรัฐบาลสนับสนุน เช่น จีน ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาล เช่น เริ่มจากผลักดันรถสาธารณะ ให้เกิดตลาดมากขึ้น 

ภาพจาก Shutterstock

ส่วนเรื่อง E-Commerce เราเน้น b2b เพราะ b2c ตามเค้าไม่ทัน เรื่องแมชชิ่งยังตามทันอยู่ ตรงนี้เราโฟกัสมาก กำลังทำ b2b อาจจะมี b2c บางส่วน ตอนนี้เป็นปกติแล้ว คนกำลังใช้มากขึ้นตลอดเวลา เป็นร้อยล้านเกือบพันล้านแล้ว กำลังทำให้ friendly ต่อ user มากขึ้น เรากำลังจัดตั้งคณะกรรมาธิการอยู่

ตอนนี้ติดเรื่องการลงทุน ที่ผ่านมา เรามีไทยเน็ตดอทคอม เราก็ใช้เงินลงทุนของเราด้วย เราอยากให้เป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดในไทย 

อยากให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่า เราพยายามพัฒนาให้เป็นที่พึ่งของผู้ประกอบการให้ได้อยู่ ทุกคนช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทยได้อย่างไ วันนี้โลกเป็นอย่างนี้เราควร Local Economy เน้นพึ่งพาตัวเองให้มาก

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา