แพลตฟอร์มต่างชาติ ผูกขาดการค้าออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้าไทยยิ่งขาย กำไรยิ่งลด

เคยสงสัยกันไหมว่า ในเมื่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใช้กันทุกวันนี้ล้วนมาจากต่างประเทศ คนไทยได้ประโยชน์อะไรและเสียประโยชน์ตรงไหนบ้าง? 

ecommerce

ชวนมองอีกมุมกับ ‘ภาวุธ พงษ์วิทยาภานุ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ‘บริษัท เพย์โซลูชั่น จำกัด’ ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์แห่งแรกของไทยที่มองว่า แพลตฟอร์มต่างชาติกำลังผูดขาดการค้าออนไลน์ไทย

‘ภาวุธ’ อธิบายว่า แม้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี และอาจมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้านบาทภายในปี 2029 แต่เรากลับถูกผูกขาดจากแพลตฟอร์มต่างชาติเพียงไม่กี่รายคือ Shopee, Lazada และ TikTok 

ประเทศไทยกำลังถูกแพลตฟอร์มต่างชาติผูกขาดเบ็ดเสร็จ โดยพวกเขาสามารถขึ้นค่าธรรมเนียมตามใจชอบ ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าไทยกำไรหด แถมยังเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ไม่มาก

ยิ่งขาย กำไรยิ่งลด

ภาพ pixabay.com

‘ภาวุธ’ เล่าว่า ปกติแล้ว แพลตฟอร์มต่างชาติจะขึ้นค่าธรรมเนียมประมาณ 2-3 ครั้งต่อปี และในปี 2024 ทั้ง Shopee, Lazada และ TikTok ขึ้นค่าธรรมเนียมถึง 2 ครั้งแล้ว โดยการปรับครั้งล่าสุดนั้นเพิ่มขึ้นราวๆ 50-150% ส่งผลกระทบต่อกำไรผู้ขาย

“การที่ผู้ขายต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ทำให้มีอำนาจต่อรองน้อย หรือไม่มีเลย เขาสามารถเปลี่ยนนโยบาย กฎระเบียบ และเงื่อนไขการให้บริการได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงกะทันหันอาจส่งผลต่อธุรกิจ โดยไม่มีโอกาสตั้งรับ”

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยเสี่ยงพัง

Thai baht

จากมุมมองของ ‘ภาวุธ’ เหตุการณ์นี้ยังกระทบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างชาติ บริษัทมักจะเป็นเจ้าของข้อมูลลูกค้า ซึ่งมีมูลค่าสูง และสามารถนำไปใช้วิเคราะห์การตลาดได้

ในทางกลับกัน ผู้ขายไทยกลับไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าอย่างเต็มที่ ทำให้การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องยาก

ยิ่งไปกว่านั้น หากแพลตฟอร์มต่างชาตินำข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์และส่งสินค้าถูกๆ มาตัดราคา สุดท้ายแล้ว พ่อค้าแม่ค้าไทยจะอยู่ยากขึ้น

สร้างช่องทางขายของตนเองคือทางรอด

ประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรืออินโดนีเซีย ไม่เจอปัญหานี้ เนื่องจากมีแพลตฟอร์มท้องถิ่นเป็นของตนเอง และประชาชนก็สนับสนุนอีคอมเมิร์ซในประเทศ ทำให้บริษัทมีเงินทุนไปพัฒนา

ดังนั้น ภาวุธจึงแนะนำว่า ถ้าไทยอยากหลุดพ้นจากวิกฤตินี้ การสร้างช่องทางขายเป็นของตนเอง โดยไม่เก็บธรรมเนียม คือ ‘ทางออก’ เพราะมันจะเปิดโอกาสมากมายให้กับร้านค้า อาทิ

  • ได้ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านคอนเทนต์ 
  • มีฟีเจอร์ไลฟ์ ช่วยให้ผู้ขายได้นำเสนอสินค้าแบบเรียลไทม์ สร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นยอดขาย
  • มีฟังก์ชันการแชท ทำให้สื่อสารกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและเป็นกันเอง
  • ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า
  • สามารถสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น
  • ได้เก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์การตลาด
  • ปรับราคาหรือโปรโมชันได้อย่างอิสระ
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

นอกจากนั้น ภาวุธมองว่า ผู้ขายควรใช้ระบบการชำระเงินออนไลน์ของประเทศตนเองด้วย เพราะนอกจากช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมจากแพลตฟอร์มต่างชาติแล้ว ยังลดการพึ่งพาบริษัทต่างชาติ ช่วยรักษาข้อมูลการทำธุรกรรม และเงินทุนให้คงอยู่ภายในประเทศด้วย

อย่าง ‘Pay Solutions’ เองก็เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ฝีมือคนไทย สามารถชำระผ่าน เว็บไซต์ แอปพลิชัน หน้าเคาน์เตอร์ หรือเครื่องรูดบัตรเครดิตได้ โดยเร็วๆ นี้ บริษัทเตรียมที่จะเปิดบริการใหม่ให้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยตรวจสอบยอดชำระและจัดเก็บข้อมูลสำหรับการตลาดและโปรโมชันด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา