การทำตลาดในจีนกำลังถึงจุดเปลี่ยน เมื่อผู้บริโภคเริ่มรู้สึกเบื่อกับการโพสต์รีวิวสินค้าของ Influencer หรือกลุ่มคนที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์
ตามรายงานการวิจัยตลาด Influencer จาก Business Insider Intelligence พบว่า ในปี 2565 ตลาด Influencer จะมีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลุ่ม Gen Z หรือผู้ที่มีอายุราว 20 ปี เริ่มรู้สึกเบื่อการติดตาม Influencer หรือบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดบนโลกออนไลน์ในการรีวิวหรือโพสต์สินค้าในโซเชียลมีเดีย
ในทางกลับกันกลุ่ม Gen Z หรือผู้ที่มีอายุราว 20 ปี กลับเชื่อหรือไว้ใจเพื่อนร่วมงานที่ใช้สินค้าและแนะนำมากกว่า เพราะมีความจริงใจและเป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองมากกว่า และมองว่า Influencer เป็นเครื่องมือในโลกของการทำตลาดของแบรนด์ต่างๆ
สำหรับการใช้ Influencer เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ผลักดันยอดขายทางออนไลน์ ในปี 2559 โดยตลาด KOL ของจีนมีมูลค่าประมาณ 8.6 พันล้านดอลลาร์ (58 พันล้านหยวน) และกว่า 70% ของนักการตลาดในประเทศจีนประกาศเพิ่มงบประมาณการตลาดดิจิทัลของพวกเขาในปี 2562 แต่สถานการณ์ดังกล่าวดูไม่สดใสเท่าที่ควร
ปัจจุบันในประเทศจีน มี Influencer หรือผู้มีอิทธิพลมากกว่า 1 ล้านคนที่มีผู้ติดตามผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียกว่า 10,000 คน โจทย์ของแบรนด์ต่อไป จะสามารถขายสินค้าของพวกเขาในช่องทางโซเชียลมีเดียของจีนได้อย่างไร หากปราศจากผู้มีอิทธิพล ดังนั้นแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
การตลาดแฮชแท็ก “แฮชแท็ก”
ในปี 2560 ผู้ใช้ Twitter สร้างแฮชแท็กมากกว่า 125 ล้านครั้งต่อวัน ดังนั้นการตลาดแฮชแท็กจึงมีศักยภาพที่เหลือเชื่อ และกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการตลาดและขณะเดียวเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ต่างให้กับแบรนด์ที่ไม่ควรมองข้าม
- เข้าถึงกลุ่ม Gen Z ได้ดีด้วยข้อความสั้นๆ เพราะเป็นกลุ่มคนมีช่วงความสนใจสั้นโดยเฉลี่ย 8 วินาที เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มมิลเลนเนียล มีช่วงความสนใจนานกว่า 12 วินาที
- แฮชแท็กช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของโซเชียลมีเดียและการรับรู้แบรนด์
- สามารถระบุจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ หรือดึงผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์
แบรนด์ Collaboration กับ Influencers
ในแต่ละวันจะมีเนื้อหาภาพและข้อความกว่าข้อความ 600,000 เท่า และมีเพียง 80% เท่านั้นที่พวกเขาสามารถมองเห็น โดย Gen Z อ่านเนื้อหาน้อยเพียง 20% เท่านั้นที่อ่าน
กลยุทธ์การตลาดที่ดี คือการที่แบรนด์ทำ Collaboration ร่วมกับ Influencers เพื่อทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ว่า Influencers ใช้ผลิิตภัณฑ์หรือบริการอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาผู้บริโภคฉลาดและรับรู้ว่า Influencers เหล่านี้บางครั้งแทบจะไม่ได้เป็นผู้ใช้สินค้าด้วยซ้ำ
การแชทสดเพื่อผลักดันยอดขาย
แชทสด เป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นยอดขายได้ เนื่องจากเปิดโอกาสผู้ซื้อสามารถแชทหรือพูดคุยกับแบรนด์ที่ขายสินค้าบนเว็บไซต์ได้เลย และเมื่อลูกค้าแชทมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าได้ถึง 82% มากกว่าผู้ที่ไม่ได้แชท อย่างอาลีบาบา มีการเปิดให้เล่นเกมและแชทสด และมีบอทคอยให้บริการลูกค้า
ยกตัวอย่าง ก่อนการเปิดแคมเปญ 11.11 ของ อาลีบาบา มีการสนทนาระหว่าง AliMe Shop Assistants กับลูกค้า 100 ล้านคน นำไปสู่การขายซึ่งคิดเป็น 15% ของปริมาณสินค้า และบริการนี้ช่วยให้แบรนด์ลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 50% ของค่าใช้จ่ายในศูนย์บริการ
คาดการณ์ว่าอีกไม่นานจะมีแบรนด์จำนวนมาก หันหน้าหนีจากการใช้ Influencers เพื่อสร้างเส้นทางใหม่ทำให้พวกเขามีความน่าเชื่อถือและเป็นของแท้สำหรับผู้บริโภค
สรุป
ผู้บริโภคปัจจุบันมีความฉลาดมากขึ้น ดังนั้น Influencer Marketing หรือการทำตลาดโดยใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด สร้างคอนเท้นต์ที่ใช้สินค้าและบริการแล้วดีอย่างไร และเผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube นั้นผู้บริโภคเชื่อถือน้อยลง ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่จีนเท่านั้น สำหรับประเทศไทยกลยุทธ์ดังกล่าวเริ่มใช้ได้ผลน้อยลง เพราะ Influencer เริ่มมีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้อยลง
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา