ตัวอย่างจากสิงคโปร์ การจัดการโควิดระบาดเชิงรุกกับแรงงานต่างชาติ

สิงคโปร์ นอกจากจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับวัคซีนจาก Pfizer และ BioNTech แล้ว ล่าสุด กำลังสัญญาณถึงประชาคมโลกว่า สิงคโปร์ใกล้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องแรงงานต่างชาติ หรือแรงงานข้ามชาติ (migrant labors) ที่ต้องจัดการอยู่ มาดูกันว่าการจัดการเชิงรุกของสิงคโปร์เป็นอย่างไร

Lee Hsien Loong ลี เซียน ลุง
SINGAPORE, SINGAPORE – JUNE 30: Singapore’s Prime Minister Lee Hsien Loong, the secretary general of the ruling People’s Action Party, speaks to the media at a nomination center ahead of next month’s general election on June 30, 2020 in Singapore. The election on July 10 will elect Members to the 14th Parliament of Singapore since the country’s independence in 1965. (Photo by Ore Huiying/Getty Images)

สิงคโปร์กำลังเข้าสู่เฟส 3 ฟื้นประเทศคืนสู่ภาวะปกติ

สิงคโปร์เตรียมปล่อยให้มีการรวมตัวทางสังคมเป็นกลุ่มขนาดใหญ่มากขึ้น ปล่อยให้คนได้ชอปปิงตามห้างร้านทั่วไปได้อย่างสะดวกและเป็นอิสระมากขึ้น พวกการแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ ก็จะเริ่มกลับมาได้ภายใต้มาตรการที่ยังให้ความปลอดภัยสำหรับผู้คนอยู่ 

ขณะเดียวกัน สิงค์โปร์ก็เตรียมทำ travel bubble พิเศษสำหรับผู้ที่จะเดินทางเพื่อทำธุรกิจ สามารถเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องมีการกักกันโรค หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2021 ก็เตรียมเป็นเจ้าภาพเปิดบ้านให้คนมาประชุม World Economic Forum ด้วย แต่ท่ามกลางบรรยากาศที่กำลังจะให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตปกติอีกครั้งหลังวุ่นวายกับการจัดการคุมโรคระบาดโควิดเฉกเช่นประเทศอื่นๆ สิงคโปร์ก็ยังมีแรงงานต่างชาติรายได้น้อยที่ถูกกักกันโรคและยังอยู่ในความดูแลอย่างเข้มข้นอยู่

สิงคโปร์มีกลุ่มแรงงานต่างชาติหลากหลายรูปแบบ มีทั้งระดับสูง (Professionals), ระดับกลาง (Skilled and semi-skilled workers) มีทั้งที่มาฝึกงาน เป็นนักเรียน และครอบครัวเครือญาติคนทำงาน ตัวอย่างคร่าวๆ ดังนี้

  • Employment Pass (EP) คือได้รับใบอนุญาตให้ทำงานสำหรับคนต่างชาติระดับวิชาชีพ ระดับบริหาร
  • S Pass คือคนต่างชาติที่มีฝีมือแรงงานระดับกลาง เช่น ช่างเทคนิค 
  • Work Permit (Foreign Domestic Worker: FDW) สำหรับแรงงานต่างชาติที่ทำงานรับใช้ในบ้าน 
  • Work Permit (CMP: Cut, Make, Pack หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอ) และอื่นๆ

รวมแล้วแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์มีทั้งหมด 1,351,800 คน (ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงแรงงาน สิงคโปร์ ณ มิถุนายน 2020) จำนวนประชากรโดยรวมของสิงคโปร์มีอยู่ราว 5.7 ล้านคน แรงงานต่างชาติรายได้น้อยมักมาจากเอเชียใต้และยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสิงคโปร์ด้วย โดยเฉพาะในส่วนของการก่อสร้างและอู่ต่อเรือ

แรงงานต่างชาติ migrant workers สิงคโปร์
SINGAPORE: Migrant workers April 18, 2020 in Singapore. (Photo by Ore Huiying/Getty Images)

การติดเชื้อโควิดสะสมโดยรวมในสิงคโปร์ พบว่า 93% เป็นแรงงานต่างชาติและเริ่มติดเชื้อจำนวนมากในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการอยู่หอพักรวมของแรงงานต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน จากนั้นจึงทำให้เกิดการ lockdown หอพักแรงงานต่างชาติยาวนาน 28 วัน ก่อนจะค่อยๆ ให้กลับมาทำงานได้ในขณะเดียวกันก็จำกัดการเคลื่อนไหวระหว่างที่พักกับที่ทำงานอย่างเคร่งครัด 

หลังจากนั้นมีการติดเชื้อราว 47% เป็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงกว่าก่อนหน้า 3 เท่า ซึ่งก็เป็นผลมาจากการตรวจโควิด-19 ทั้งสองรูปแบบ คือการตรวจแบบ PCR คือตรวจหาเชื้อในทางเดินหายใจ พบว่าติดเชื้อ 54,505 คน และการตรวจโดยการเจาะเลือด ซึ่งการตรวจเลือดคือการตรวจหาภูมิคุ้มกัน ต้องตรวจเมื่อมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว มีผลเป็นลบ 98,289 คน

แรงงานต่างชาติในมิติสิทธิมนุษยชน: ไม่ควรกักกันนานเกินไปและไม่ควรเลือกปฏิบัติ

Surya Deva อาจารย์จาก City University of Hong Kong และสมาชิกกลุ่มทำงานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า แรงงานต่างชาติคือผู้ขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์เหมือนกับชาติอื่นๆ แต่รัฐบาลปฏิบัติกับแรงงานไม่ค่อยเป็นธรรม บางครั้งก็มีลักษณะเลือกปฏิบัติด้วย 

เขาบอกว่า เรากำลังตั้งคำถามว่าทำไมแรงงานต่างชาติที่เปรียบดั่งกระดูกสันหลังของชาติถึงต้องถูกนำมาอยู่ในหอพักรวมกันพร้อมกับข้อบังคับเข้มงวดหนักในประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงขนาดนี้ หมายความว่าควรมีการดูแลแรงงานต่างชาติที่ดีกว่านี้ได้ เพราะเขาเป็นกำลังหลัก กำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  

ขณะที่แรงงานต่างชาติผู้ที่มีผลตรวจเป็นลบหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันจะต้องได้รับอนุญาติก่อน ถึงจะออกมานอกหอพักได้เป็นเวลา 3 ชั่วโมงเพื่อให้ไปทำธุระส่วนตัวได้ และเมื่อสิงคโปร์เริ่มกลับมาเปิดประเทศ แรงงานต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เข้าถึงชุมชนได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง พวกเขาจะถูกให้ใส่เครื่องติดตามโควิดและถูกตรวจโรคเป็นประจำ 

สิงคโปร์ Singapore
Photo : Shutterstock

นักสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานต่างก็ไม่เห็นด้วยกับโยบายของสิงคโปร์ เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อในกลุ่มแรงงานต่างชาติลดลงแล้ว รัฐบาลก็ควรผ่อนคลายนโยบายหรือมาตรการที่มีต่อแรงงานมากกว่าที่จะจำกัดเขาให้อยู่ในหอพักรวมกันราวกับเป็นนักโทษของผู้ว่าจ้าง 

การจัดการเชิงรุก สร้างหอพักใหม่, จำกัดการเคลื่อนไหวชั่วคราว, ใส่เครื่องติดตามโรค

ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์นั้นระบุว่า ประเทศกำลังเข้าสู่เฟส 3 และกำลังจะให้แรงงานต่างชาติกลับเข้าสู่ชุมชนได้ภายใต้มาตรการจำกัดอย่างเข้มงวด โดยเริ่มจากไตรมาสแรกของปี 2021 จะอนุญาตให้แรงงานต่างชาติที่อยู่ในหอพักเข้าชุมชนได้เดือนละ 1 ครั้ง โดยต้องใส่เครื่องติดตามโควิดด้วยเพื่อความปลอดภัย 

ทางสิงคโปร์จะมีการตรวจโรคทุก 14 วัน (Rostered Routine Testing: RRT เพื่อตรวจหาโรค โดยให้แรงงานต่างชาติที่พักอยู่ในหอพักและเป็นผู้ที่ทำงานด้านก่อสร้างและอู่ต่อเรือและอุตสาหกรรมสิ่งทอต้องอยู่ในลูปตรวจโรคนี้ด้วย เพื่อสามารถควบคุมโรคได้ต่อไป) 

ภายในสิ้นเดือนธันวาคม สิงคโปร์จะแจกเครื่องติดตามโรค (BluePass) ให้กับแรงงานต่างชาติ 450,000 คนที่อยู่ในหอพัก หรือทำงานอยู่ในก่อสร้าง อู่ต่อเรือ และภาคส่วนอื่นๆ  เครื่องติดตามโรคนี้จะพัฒนาศักยภาพในการกักกันโรคและสามารถควบคุมการติดเชื้อใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น

การนำบลูพาสมาติดที่ตัวของแรงงานต่างชาตินี้ ไม่มี GPS แต่สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้หากมีการติดโรคโควิดเกิดขึ้น ว่าได้มีการสัมผัสหรือใกล้ชิดใครบ้าง ซึ่งคนที่แวดล้อมที่เหลือก็ต้องติดบลูพาสด้วยเช่นกัน 

migrant workers แรงงานต่างชาติ ติด BluePass ติดตามโควิด
migrant workers หรือแรงงานต่างชาติติด BluePass เพื่อติดตามโควิด

นอกจากนี้ สิงคโปร์ได้สร้างหอพักใหม่ให้กับแรงงานต่างชาติและพัฒนามาตรฐานความเป็นอยู่ให้ปลอดภัยมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ รัฐบาลเตรียมเดินหน้าทำงานกับหุ้นส่วนและชุมชนเพื่อทำให้บรรยากาศทั้งในการทำงานและความเป็นอยู่ของแรงงานต่างชาติเหล่านี้มีความปลอดภัยมากขึ้นพร้อมๆ กับการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่เฟส 3

ที่มา – Quartz, Ministry of Manpower (1), (2), Ministry of Health Singapore, SCAL (1), (2), (3)  

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์