เปิดรายได้เจ้าแห่งสายลม ฮาตาริ อดีตเด็กกวาดพื้นร้านขายข้าวสารสู่มหาเศรษฐีอันดับที่ 49

เปิดรายได้มหาเศรษฐีไทย เจ้าแห่งสายลม “ฮาตาริ” ที่บริจาคครั้งใหญ่ด้วยเงินมูลค่า 900 ล้านบาทจนเป็นกระแสไวรัลไปทั่วตอนนี้ จุน วนวิทย์ เริ่มงานจากเด็กกวาดพื้นสู่การพัฒนาธุรกิจพัดลม ต้องบอกว่ารายได้ของฮาตาริมาจากหลายช่องทาง มีจำนวนมหาศาลจริงๆ หัวเรือใหญ่ของฮาตาริก็คือจุน วนวิทย์ เขาเกิดเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2480

Hatari
ภาพจากมูลนิธิรามาธิบดี

อดีตเด็กที่เรียนภาษาไทยด้วยตัวเองและเรียนจีนจากครูสอนพิเศษตามบ้าน เริ่มทำงานจากการเป็นลูกจ้างกวาดพื้นร้านขายข้าวสารที่ส่งออกต่างประเทศแถวนถนนสี่พระยา ตั้งแต่อายุ 12 ปี จากนั้นก็เริ่มไปเป็นช่างทำทอง ขับรถโดยสารรับจ้าง ลูกจ้างทำป้ายพลาสติก โรงกลึง ช่างทำแม่พิมพ์สำหรับฉีดช้นงานพลาสติกและเริ่มออกแบบและผลิตของเล่นเด็กจำหน่ายตั้งแต่อายุ 28 ปี ต่อมาก็เริ่มทำโครงพัดลมด้วยพลาสติกในขณะที่ตลาดส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะอลูมิเนียม เริ่มเสนอขายชิ้นงานให้โรงงานผลิตพัดลม จากนั้นก็ได้ไปเรียนรู้การพันมอเตอร์ที่ไต้หวันแล้วจึงมาผลิตพัดลมด้วยชิ้นพลาสติกทั้งหมด

Hatari
ภาพจากมูลนิธิรามาธิบดี

รายได้มหาศาล หลากหลายช่องทาง ที่พบตอนนี้มีอย่างน้อย 7 ช่องทาง จุน วนวิทย์ยังเคยติดอันดับมหาเศรษฐีรวยอันดับที่ 49 ของไทยจาก Forbes ในปี 2559 แหล่งสร้างรายได้ ดังนี้

(1) บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า
วันจดทะเบียน 13 มิถุนาน 2528
ทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 5,774 ล้านบาท
กำไร 645 ล้านบาท

ปี 2563
รายได้รวม 5,270 ล้านบาท
กำไร 603 ล้านบาท

ปี 2562
รายได้รวม 4,857 ล้านบาท
กำไร 402 ล้านบาท

(2) วนวิทย์ เมทัล เวิร์ค จำกัด

ประกอบธุรกิจ ผลิตชิ้นส่วนพัดลม
วันจดทะเบียน 18 ตุลาคม 2536
ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 478 ล้านบาท
กำไร 45.3 ล้านบาท

ปี 2563
รายได้รวม 357 ล้านบาท
กำไร 45.6 ล้านบาท

ปี 2562
รายได้รวม 412 ล้านบาท
กำไร 44.3 ล้านบาท

(3) บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด

ประกอบธุรกิจ พัดลมเครื่องฟอกอากาศ เครื่องซักผ้า
วันจดทะเบียน 8 สิงหาคม 2533
ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 6,336 ล้านบาท
กำไร 65 ล้านบาท

ปี 2563
รายได้รวม 6,240 ล้านบาท
กำไร 73 ล้านบาท

ปี 2562
รายได้รวม 6,520 ล้านบาท
กำไร 58 ล้านบาท

Hatari
ภาพจากมูลนิธิรามาธิบดี

(4) บริษัท ฮาตาริ คอนเน็คท์ จำกัด

ประกอบธุรกิจ ขายอุปกรณ์สื่อสาร (ขายส่งโทรศัพท์และอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม)
วันจดทะเบียน 20 เมษายน 2555
ทุนจดทะเบียน 9 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 2.3 ล้านบาท
กำไร 3.9 แสนบาท

ปี 2563
รายได้รวม 7.01 แสนบาท
ขาดทุน 9.37 แสนบาท

ปี 2562
รายได้รวม 4.8 ล้านบาท
ขาดทุน 6.12 แสนบาท

(5) บริษัท ฮาตาริ อีคอมเมิร์ซ จำกัด

ประกอบธุรกิจ ขายพัดลมทางอินเตอร์เน็ต
วันจดทะเบียน 30 กรกฎาคม 2562
ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 7.8 ล้านบาท
กำไร 1.53 ล้านบาท

ปี 2563
รายได้รวม 10.7 ล้านบาท
กำไร 1.49 ล้านบาท

ปี 2562
รายได้รวม 7.46 แสนบาท
ขาดทุน 1.91 แสนบาท

(6) บริษัท ฮาตาริ เทคโนโลยี จำกัด

ประกอบธุรกิจ กิจกรรมอื่นๆ ด้านสุขภาพมนุษย์
วันจดทะเบียน 3 สิงหาคม 2538
ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 29.7 ล้านบาท
ขาดทุน 4.2 ล้านบาท

ปี 2563
รายได้รวม 14.1 ล้านบาท
ขาดทุน 16.6 ล้านบาท

ปี 2562
รายได้รวม 6 ล้านบาท
ขาดทุน 21 ล้านบาท

(7) บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลส จำกัด

ประกอบธุรกิจ กิจกรรมการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคอมพิวเตอร์
วันจดทะเบียน 20 มกราคม 2546
ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท

ปี 2564
รายได้รวม 506 ล้านบาท
กำไร 23 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนหน้า 10.7%)

ปี 2563
รายได้รวม 551 ล้านบาท
กำไร 26.3 ล้านบาท

ปี 2562
รายได้รวม 1,271 ล้านบาท
กำไร 18 ล้านบาท

Hatari
ภาพจากมูลนิธิรามาธิบดี

จุน วนวิทย์ มีกลยุทธ์ในการทำงานดังนี้ “ใช้ต้นทุนเท่าเดิม แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น” และ “ใช้ต้นทุนลดลง แต่ได้ผลผลิตเท่าเดิม” วิสัยทัศน์ของบริษัท “ฮาตาริ คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายลม”

บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด โดยจุน-สุนทรี วนวิย์และครอบครัว บริจาคเงิน 900 ล้านบาทแก่มูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อสมทบทุนโครงการปรับปรุงอาคารโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีศาลายา 160 ล้านบาท โครงการศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา 300 ล้านบาท และโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี 440 ล้านบาทเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565

ที่มา – Data for Thai, Data.Creden, มูลนิธิรามาธิบดี, MFU

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา