GUNKUL SPECTRUM เปิด 3 เมกะเทรนด์พลังงานที่กระทบผู้ใช้ไฟฟ้าในอนาคต

GUNKUL SPECTRUM หน่วยงานพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานของ Gunkul Engineering มองเมกะเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนภาพการใช้ไฟฟ้าไปในรูปแบบที่ไม่คุ้นเคย ซึ่ง ในฐานะผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเตรียมพร้อมเพื่อเป็น Smart User ได้

MEGATREND I: ENERGY AS A RECHARGEABLE WORLD

แนวคิดแรก โลกที่ชาร์จได้จะไม่มีวันหลับไหลกับพลังงานที่พกพาไปได้ทุกที่

นั่นคือความคิดที่ว่า แบตเตอรี่จะเปลี่ยนโลก ทั่วโลกกำลังมองหาแบตเตอรี่ที่ชาร์จได้รวดเร็ว ใช้งานได้นาน น้ำหนักเบา และราคาถูก นำมาสู่การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการพลังงานและวงการยานยนต์ รวมถึงขับเคลื่อนการพัฒนา Microgrid โครงข่ายไฟฟ้าอิสระขนาดเล็กที่บริหารจัดการตัวเองเพื่อลดการพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้าหลัก และอีกหลากหลายนวัตกรรมให้ถึงมือประชาชนได้รวดเร็วขึ้น 

วันนี้หลายคนสามารถกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมได้จากการติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อป แต่ปัญหาคือยังกักเก็บพลังงานสะอาดเพื่อมาใช้ในเวลาที่เราต้องการจริงๆ ไม่ได้ ซึ่งแบตเตอรี่จะเป็นจุดที่ทำใช้ผู้ใช้ไฟมีความเป็น Self-reliant พึ่งพาตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการพัฒนาองค์รวมของแบตเตอรี่จะต้องประกอบไปด้วย 4 แกนหลักด้วยกัน

GUNKUL SPECTRUM

เทรนด์ราคาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าช่วง 10 ปีที่ผ่านมาราคาลดลงมากกว่า 89% โดยในปี 2020 แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ 137 USD/kWh (4,119 บาท) ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้น 264 เท่า โดย BloombergNEF พยากรณ์ว่าราคาแบตเตอรี่จะสามารถลงไปแตะที่ 100 USD/kWh (3,022 บาท) ภายในปี 2024 ซึ่งจะทำให้เกิด Price Parity หรือ ความเท่าเทียมทางราคา กับรถยนต์น้ำมัน 

(Ref : https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-12-16/electric-cars-are-about-to-be-as-cheap-as-gas-powered-models)

หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ Pack improvement คิดเป็น 30% ของราคาตัวแบตเตอรี่ โดยในงาน Battery Day ที่ผ่านมาของ Tesla คาดว่าจะสามารถทำราคารถยนต์ไฟฟ้าลงมาได้ถูกกว่ารถใช้น้ำมันหรือเทียบเท่ารถ Eco-car อยู่ที่ 25,000 USD หรือประมาณ 755,000 บาท ในอีก 3 ปีข้างหน้า

นอกจากบ้านทุกหลังจะมี Home Energy Storage มีรถยนต์ไฟฟ้าใช้งาน จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น PM 2.5 ในประเทศไทยปัจจุบันมีรถยนต์ที่จดทะเบียนอยู่จำนวน 40 ล้านคัน หากสนับสนุนให้เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างอากาศบริสุทธิ์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้กับประชาชน

energy light
ภาพจาก shutterstock

MEGATREND II: POWER AS COMMODITY: LIBERALIZATION OF ENERGY – POWER OF PEOPLE

แนวคิดที่สอง พลังงานที่ประชาชนชนเลือกซื้อเลือกขายให้เหมาะกับตัวเองได้

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมีผลต่อต้นทุนชีวิต ถ้าเราเลือกกำหนดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ สามารถแลกเปลี่ยนและเพิ่มมูลค่าให้กับไฟฟ้าที่เราผลิตได้ในฐานะผู้ขายไฟฟ้าให้กับใครก็ได้อย่างเสรี นำไปสู่แนวคิดการซื้อขายพลังงานแบบ Peer-to-Peer Energy Trading 

Peer-to-peer Energy Trading ไม่ใช่เทรนด์ที่เกิดใหม่ แต่เป็นเทรนด์ที่จะเอื้อประโยชน์และใกล้ชิดกับผู้ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด โดยมีแนวคิดว่าพลังงานสมควรเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้อย่างอิสระ แต่เดิมโครงสร้างการบริหารจัดการพลังงานจะเป็นการ Bundle มีลักษณะเป็นเส้นตรง จาก ผู้ผลิต-ผู้ส่ง-ผู้ขาย-ผู้ใช้ แต่ถ้าอยากให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดต้อง Un-Bundle เพิ่มการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งพลังงาน สร้าง ไฟฟ้าเสรี ให้เกิดขึ้น

(Ref : https://www.next-kraftwerke.com/knowledge/liberalization-energy-markets)

Peer-to-peer Energy Trading คือการทำให้พลังงานเข้าใกล้ความเป็น Commodity หรือความเป็นสินค้าปลีกที่ซื้อขายได้อย่างอิสระ เพิ่มทางเลือกในการเลือกแหล่งพลังงานในราคาที่ตัวเองพึงพอใจจะซื้อ หรือเลือกตั้งราคาขายเพิ่มมูลค่าให้ไฟฟ้าที่ตัวเองผลิตได้ นี่จะนำไปสู่โครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่บน Demand – Supply ที่แท้จริงซึ่งจะมีความน่าสนใจและยืดหยุ่นกว่าแนวทางเดิม และยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจด้านพลังงานอื่นๆ เข้ามาช่วยทำให้การซื้อขายมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และซื้อ-ขายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นจนถึงขั้น Real-Time เพื่อรองรับปริมาณการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ผกผันได้เสมอ

ยกตัวอย่างแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานในสิงคโปร์อย่าง SolarShare ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ตั้งราคาซื้อขายได้ตลอดเวลาโดยอ้างอิงจากค่ามิเตอร์ไฟฟ้าทุกๆ 30 นาทีและจัดทำเป็น Priority Matching เสมือนซื้อขายไฟฟ้าแบบ One-on-One กับ Pool Matching คือ การส่งคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายไปไว้ในพื้นที่กลางเพื่อรอการจับคู่

ความน่าสนใจของ SolarShare คือการเข้ามาร่วมของ Senoko Energy ที่ทำหน้าเป็นแหล่งรับไฟฟ้าส่วนเกินหรือจ่ายไฟฟ้าสำรองเพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบ หรืออย่างในกรณีของ Arcadia ซึ่งให้บริการแมตช์ชิ่งการซื้อ-ขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียนที่เรียกว่า REC หรือ Renewable Energy Certificate ผ่านการวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ซึ่งลูกค้าผู้ใช้จะสามารถมั่นใจได้ว่าพลังงานที่ใช้นั้นซื้อมาจากแหล่งที่เป็นพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง 

MEGATREND III: ENERGY-AS-A-SERVICE: GROWTH OF RETAIL ENERGY MARKET

แนวคิดที่สาม การเติบโตของพลังงานไฟฟ้าสู่ตลาดของผู้บริโภค

การเปลี่ยนแปลงของ Retail Energy Market ทำให้ตลาดไฟฟ้าจะมีความเป็น Distributed Market หรือมีการกระจายตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดบริการทางไฟฟ้าที่เรียกว่า EaaS หรือ Energy-as-a-Service หรือไฟฟ้าคือบริการซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ อุปกรณ์บริหารจัดการพลังงานภายในบ้านอย่าง Smart Home Device ไปจนถึง Microgrid และการบริหารจัดการพลังงานในระดับประเทศหรือภูมิภาค 

(Ref : Deloitte_UK_ENERGY_AS_A_SERVICE_2020)

ลักษณะเฉพาะของ EaaS ที่ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้อย่างแพร่หลายคือการใช้ตัวข้อมูลรูปแบบการใช้ไฟฟ้าที่ได้จาก Monitor Center หรือ Smart Device มาแปลงเป็นบริการที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องลงทุนจ่ายค่าใช้จ่ายล่วงหน้าใดๆ แต่สามารถชำระเงินค่าบริการในรูปแบบของ Subscription Model (ระบบสมัครสมาชิก) หรือ Pay for What You Consume (จ่ายเท่าที่ใช้) ทำให้สามารถแบ่ง EaaS ออกเป็น 3 รูปแบบธุรกิจด้วยกัน

  • Energy Management – ระบบบริหารจัดการที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
  • Energy Advice – บริการให้คำแนะนำด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • Energy Assets – บริการติดตั้งหรือสนับสนุนด้านการเงินในการติดตั้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า

ปัจจุบัน EaaS ช่วยผู้ใช้ไฟฟ้าลดค่าใช้จ่ายช่วง Peak-time ได้ 3-10% เช่น บริษัท BeeBryte สตาร์ทอัพจากฝรั่งเศส สร้างบริการโดยใช้ AI ในการคาดคะเนสร้างความร้อนหรือความเย็นเพื่อช่วยสร้างอุณหภูมิที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานอาคาร ซึ่งส่งผลให้สามารถลดราคาค่าไฟได้ 40% โดยเก็บค่าบริการเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าไฟที่ประหยัดได้ หรือ ENGIE บริษัทรับบริหารจัดการพลังงานจากสหรัฐอเมริกาที่มอบบริการในลักษณะของ Resource Management Program ดึงข้อมูลจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาประมวลบนระบบบริหารจัดการพลังงาน โดยในช่วงปี 2012-2017 สามารถประหยัดค่าไฟให้ลูกค้าในเครือได้ 3.2 พันล้านบาท 

ขณะที่ประเทศไทย มีการเสนอบริการ EaaS ในบางรูปแบบ เช่น โครงการ Private PPA (Power Purchase Agreement) โดยผู้ประกอบการเป็นผู้ลงทุนเข้าไปติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แล้วเก็บค่าไฟฟ้าจากผู้บริโภคโดยตรงแบบ Pay for What You Consume ในราคาที่ถูกกว่า หรือรูปแบบธุรกิจ EaaS อื่นๆ ที่ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า ลดภาระการใช้งานไฟฟ้าให้กับธุรกิจต่างๆ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานไฟฟ้าให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น

energy wind
ภาพจาก shutterstock

THE ENERGY ECOSYSTEM WE LOOK FORWARD TO
บริบทที่ต้องสร้างเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของพลังงาน

จาก 3 เมกะเทรนด์แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความตื่นตัว และเริ่มดำเนินการสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้า 

ภาครัฐมีการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานหมุนเวียนอย่างสมดุลและเป็นระบบในกรอบระยะเวลา 15-20 ปี หรือภาคเอกชน เริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมรองรับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ดังนั้นไม่ต้องรอไปอีก 10 ปี แต่น่าจะเห็นการบริการด้านพลังงานรูปแบบใหม่ในอนาคตอันใกล้ การศึกษาบริบทและสร้างพันธมิตรในภูมิภาคเดียวกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุนให้นวัตกรรมและธุรกิจทางด้านพลังงานเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญที่สุดคือ การที่ภาครัฐออกแบบนโยบายที่เอื้อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสถียรภาพทางไฟฟ้า

อยากให้ทุกคนจินตนาการถึงอนาคตที่พลังงานไฟฟ้าเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้าบริการด้านพลังงานไฟฟ้าเหมือนบริการส่งอาหาร เป็นบริการ On-demand ให้กับคนที่ต้องการ ในปริมาณที่ต้องการ ทุกที่ทุกเวลา นั่นคืออนาคตที่เกิดจาก 3 เมกะเทรนด์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GUNKUL SPECTRUM หรือดาวน์โหลด MEGATREND ได้ที่ www.gunkulspectrum.co

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา