GPSC กับเทคโนโลยี SemiSolid แบตเตอรี่เพื่ออนาคต แห่งแรกในอาเซียน

รถยนต์ไฟฟ้ากำลังถูกพูดถึงอยู่ทั่วโลก เป็นหนึ่งในกระแสที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ และมีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า รถยนต์ไฟฟ้าจะมียอดขายรวมแซงหน้ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปแบบปกติ

gpsc

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า คือ แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บและปล่อยพลังงานเพื่อใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ โดยปัจจุบัน ประเทศไทย ถือเป็นอีกประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และมี บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ที่ลงทุน วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและผลิต ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

แบตเตอรี่ หัวใจสำคัญสู่การเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC บอกว่า แนวโน้มและความต้องการใช้งานแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในช่วงหลายปีมานี้ ปัจจัยสำคัญ คือ รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานแทนน้ำมันเชื้อเพลิง

gpsc

รถยนต์ไฟฟ้า ประหยัดพลังงานมากกว่า ไม่มีมลภาวะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาโลกร้อนลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้น GPSC จึงลงทุนเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน G-Cell ด้วยเทคโนโลยี SemiSolid แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เป้าหมายคือเพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรถยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค มี Ecosystem ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่า แบตเตอรี่ คือองค์ประกอบสำคัญ

gpsc

SemiSolid เทคโนโลยีอนาคต

รสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) บอกว่า GPSC ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี SemiSolid เป็นลักษณะกึ่งแข็ง กึ่งเหลว ถือเป็น Process Innovation เป็นสิทธิบัตรของบริษัทสตาร์ทอัพ มีชื่อว่า 24M Technologies, Inc. หรือ 24M ที่ GPSC ถือหุ้นอยู่

เทคโนโลยี SemiSolid มีกระบวนการผลิต (Process) ที่สั้นกว่า ไม่มีการใช้วัสดุที่ไม่จำเป็น (Inactive Material) ช่วยให้ค่าใช้จ่ายต่ำลง การออกแบบ (Design) ป้องกันการเจือปน เพราะขั้นตอนผลิตแต่ละเซลล์แยกจากกันโดดเด็ดขาด ทำให้แบตเตอรี่มีความปลอดภัยสูง และทำให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับขั้นตอนประกอบด้วย Casting & Converting, Unit Cell Assembly, Pouch Cell Assembly เมื่อจบแล้วนำไปทำการบ่มที่ Aging Room เก็บข้อมูลทุกอย่างและควบคุมดูแลด้วย Robot เพื่อให้เกิดความเสถียรและปลอดภัยเมื่อนำไปใช้งาน

gpsc

ไม่ใช่แค่ผลิต แต่ต้องให้ความรู้

ปัจจุบันโรงงานของ GSPC ผลิตแบตเตอรี่แบบ Li-ion เป็นหลัก และมีการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Li-S อยู่ ซึ่งในอนาคตเมื่อการวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีการผลิต Li-S ออกมาใช้งานจริงต่อไป\

อย่างที่รู้กันว่า เป้าหมายของการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถเก็บพลังงานได้มาก มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ดังนั้นนอกจากการผลิตแล้ว ที่โรงงานของ GPSC ยังมีห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ เรียกว่า Experience Center เพื่อให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

GPSC ได้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับใช้งานในรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Energy Storage System (ESS) เช่น

  • MICRO ESS หรือ ระบบกักเก็บพลังงานขนาดเล็ก G-Box Residential (R) เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน หรือผู้ต้องการกักเก็บพลังงานขนาด 5-10 kWh
  • MINI ESS หรือ ระบบกักเก็บพลังงานขนาดกลาง G-Box Electric Vehicle (E) สำหรับติดตั้งที่สถานีบริการน้ำมัน ช่วยป้องกันไฟกระชาก ทำให้ระบบชาร์จเป็นแบบ Fast Charge และไม่ต้องเปลี่ยนระบบไฟฟ้าใหม่ ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เหมาะสำหรับผู้ต้องการกักเก็บพลังงานขนาด 50-200 kWh
  • ESS และ Large ESS หรือ ระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ G-Box Commercial and Industrial (CI) และ G-Box Commercial and Industrial MAX (CI MAX) สำหรับเชิงพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับผู้ต้องการกักเก็บพลังงานขนาด 500 kWh ขึ้นไป

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การใช้แบตเตอรี่ G-Cell ในรถสามล้อไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ 80 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เครื่องยนต์เงียบ ไม่มีมลภาวะ

gpsc

ขณะนี้ GPSC กำลังวิจัยและพัฒนาและออกแบบระบบแบตเตอรี่ สำหรับแท่นชาร์จไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน หากเสร็จสมบูรณ์จะกระจายการติดตั้งไปทั่วประเทศ เพื่อรองรับการใช้งานทั้งที่สถานีบริการน้ำมัน พื้นที่สาธารณะ และอาคารพาณิชย์ต่างๆ

ด้วยความร่วมมือกับบริษัทแม่ของ GPSC คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทุกคนสามารถเชื่อมั่นได้ว่า ทุกเป้าหมายและแผนการลงทุนสามารถเป็นไปได้ ดังนั้นจึงมีโอกาสเห็นไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตแบตเตอรี่ของภูมิภาคนี้ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน

ตอน: GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร

  1. คุณวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)
  2. คุณรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา