แฟชั่น หนึ่งในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปนับตั้งแต่ตื่นนอน ไปจนถึงนอนหลับ เพราะคำว่าแฟชั่นนี้มีความหมายที่กว้างมาก ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย รองเท้า กระเป๋า หรือแม้แต่เครื่องประดับ การจะใช้ชีวิตโดยปราศจากคำว่าแฟชั่นคงเป็นเรื่องยาก
เมื่อแฟชั่น เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ทำให้ธุรกิจแฟชั่นกลายเป็นสิ่งที่เติบโต สร้างแรงดึงดูดให้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME อยากเริ่มทำแบรนด์แฟชั่นเป็นของตัวเอง
สถานการณ์ธุรกิจแฟชั่นในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาจไม่ได้สดใสมากนัก เพราะตัวเลขการส่งออกผ้า และสิ่งทอของไทย แม้จะมีมูลค่าสูงถึง 1.95 แสนล้านบาทในปี 2020 แต่เมื่อเทียบกับปี 2019 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาด ถือว่าลดลงถึง 16.8% เลยทีเดียว
ในขณะที่ตัวเลขของ E-Commerce ไทยกลับเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่า 2.7 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ 62% เป็นการซื้อขายผ่านช่องทางที่เรียกว่า Social Commerce ที่ผู้ซื้อ และผู้ขายติดต่อกันโดยตรงผ่าน Social Media โดยข้อมูลจาก LINE พบว่า 3 กลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ความงาม แฟชั่น และอาหาร-เครื่องดื่ม
เมื่อสินค้าประเภทแฟชั่นติดอยู่ในกลุ่มท็อป 3 ของสินค้าที่ได้รับความนิยมบน Social Commerce แสดงให้เห็นว่าแม้มูลค่าการส่งออกผ้า และสิ่งทอไทยจะลดลง แต่ยังคงมีโอกาสที่ธุรกิจแฟชั่นจะเติบโตจากการบริโภคในประเทศ เช่นเดียวกันกับการเปิดรับเทคโนโลยีของคนไทย ที่หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นถึง 62% หลังจากโควิด-19 ระบาด
อย่างไรก็ตามแม้ดูเหมือนจะมีโอกาสใหม่ๆ รออยู่ แต่ต้องยอมรับว่าการทำธุรกิจแฟชั่นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป โดยเฉพาะในมุมมองของผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือ SME ยังคงมีความท้าทายสูง แถมยังไม่นับถึง Pain Point สำคัญที่ผู้ประกอบการแฟชั่นต้องเจอ
ขาดโอกาส ขาดเอกลักษณ์ ขาดความรู้ ปัญหาสำคัญธุรกิจแฟชั่นไทย
คุณทราย จารุเสน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ SME ของ LINE ประเทศไทย เล่าให้ฟังถึง Pain Point สำคัญในการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการแฟชั่น SME ไทยต้องเจอ โดยแบ่งออกเป็นประเด็นหลักๆ ได้แก่
- ขาดโอกาสในการพัฒนาฝีมือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจแฟชั่นได้มาตรฐานเทียบเท่าแบรนด์ใหญ่
- ขาดเอกลักษณ์ของแบรนด์ หากลองสังเกตแบรนด์แฟชั่นบางส่วนจะพบว่ามีความเหมือนๆ กันไปหมด
- ขาดความรู้ และความเข้าใจ โดยเฉพาะเรื่อง Digital Marketing ต้องรู้จักสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 ที่หน้าร้านออฟไลน์ถูกปิดไป
นอกจากนี้ คุณทราย ยังได้เน้นย้ำถึง Pain Point สำคัญอีกหนึ่งข้อซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ประกอบการ SME แฟชั่นไทยต้องเจอ นั่นคือการขาดเวทีแจ้งเกิดซึ่งเป็นพื้นที่ในการแสดงผลงานให้ลูกค้าชาวไทยเห็น
จาก Pain Point ข้างต้นนี้เอง ทำให้เกิดเป็นโครงการ LINE FASHION ANNUALE ซึ่ง LINE ตั้งใจทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME แฟชั่นไทย เพื่อแก้ไข Pain Point ดังกล่าว
สำหรับ LINE FASHION ANNUALE เป็นงานที่ LINE ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา Pain Point ให้ผู้ประกอบการแฟชั่น SME ไทย เริ่มตั้งแต่การเสริมความรู้ เพิ่มทักษะ สร้างความเป็นมืออาชีพ และสร้างเวทีแสดงผลงานให้กับผู้ประกอบการแฟชั่นไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญในวงการแฟชั่นที่มีชื่อเสียง เช่น ป้าตือ สมบัษร ถิระสาโรช และคุณฟอร์ด กุลวิทย์ เลาสุขศรี รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในวงการแฟชั่นคนอื่นๆ มากมาย มาเป็นผู้ให้ความรู้ พัฒนาสู่ความเป็น Professional ให้มากขึ้น
คุณทราย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ LINE FASHION ANNUALE เพิ่มเติมว่า เริ่มขึ้นตั้งแต่การคัดเลือกแบรนด์ SME แฟชั่นไทยจำนวนกว่า 500 แบรนด์ โดยคัดเลือกจนเหลือ 14 แบรนด์สุดท้ายที่มีศักยภาพ และโอกาสในการเติบโต โดยเป็นแบรนด์ที่มีความหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋า และรองเท้า
ทั้ง 14 แบรนด์แฟชั่นนี้จะได้รับการติวเข้มพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น เพื่อพัฒนาทั้งแนวคิด ทักษะ และฝีมือ รวมถึงหลักการบริหารแบรนด์แฟชั่น เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการถ่ายทำ Look Book ออกมาเป็นคอลเลคชั่นพิเศษสำหรับ LINE FASHION ANNUALE โดยเฉพาะ
หนึ่งในตัวอย่างของการติวเข้มจากผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นที่ผู้ประกอบการแฟชั่นทั้ง 14 แบรนด์ได้รับ คือการเรียนรู้ เทรนด์การทำธุรกิจแฟชั่นที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะการทำ Digital Marketing ผ่านการถ่ายทำ Look Book หลากหลายรูปแบบทั้งภาพนิ่ง และคลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจแฟชั่นในยุคที่เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการต้องหาวิธีนำเสนอผลงานการออกแบบ แสดงคุณภาพ และเนื้อผ้าให้ลูกค้าได้เห็น แม้ว่าลูกค้าจะไม่ได้จับเสื้อผ้าชิ้นนั้นจริงๆ เลยก็ตาม
หลังจากที่ทั้ง 14 แบรนด์ออกแบบ และผลิตผลงานคอลเลคชั่นพิเศษนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดรายการไลฟ์คอมเมิร์ซวาไรตี้กึ่งเกมโชว์ LINE FASHION ANNUALE: Pre-Collection เพื่อแสดงผลงานพรีคอลเลคชั่นสุดพิเศษจากทั้ง 14 แบรนด์ไทย โดยมีศิลปิน นักแสดง และเซเลปเป็นผู้นำเสนอสินค้า แต่ทำออกมาในรูปแบบการเล่นเกม ทำภารกิจแต่งตัวโดยใช้ผลงานพรีคอลเลคชั่นพิเศษจากทั้ง 14 แบรนด์ ซึ่งผู้รับชม LINE FASHION ANNUALE สามารถสแกน QR Code ของสินค้าที่สนใจเพื่อเลือกซื้อสินค้าชิ้นนั้น และชำระเงินได้ทันทีผ่าน LINE SHOPPING
ผลตอบรับที่ได้จาก LINE FASHION ANNUALE นี้ ถือว่าประสบความสำเร็จในฐานะการเป็นเวทีแสดงผลงานให้กับทั้ง 14 แบรนด์ที่ได้รับการคัดเลือก โดยคุณทรายให้ข้อมูลว่า ตลอดระยะเวลาการไลฟ์มีผู้รับชมรวมแล้วเกือบ 3 แสนคน พร้อมติดเทรนด์อันดับ 1 ของ Twitter ในเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ส่วนในด้านยอดขายสามารถทำได้รวมเกิน 3 แสนบาท ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษนี้จะอยู่บน LINE SHOPPING ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนนี้ แล้วจึงสามารถนำไปขายได้ในช่องทางอื่นๆ ต่อไป โดยสินค้ามีจำนวนจำกัด
นอกจาก LINE FASHION ANNUALE แล้ว LINE ยังมีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่ช่วยเหลือการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ SME เช่น ช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซอย่าง LINE SHOPPING, ช่องทางสร้างตัวตนของแบรนด์บนโลกออนไลน์อย่าง LINE OA, เครื่องมือช่วยเสริมประสิทธิภาพการขายบน LINE OA อย่าง MyShop รวมถึง LINE Ads Platform ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME สามารถสร้างความเป็นที่รู้จักได้ด้วยการซื้อโฆษณาบน Platform ของ LINE ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 50 ล้านคนทั่วประเทศ และแม้ LINE FASHION ANNUALE: Pre-Collection จะจบลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว LINE ก็ยังช่วยโปรโมทสินค้าจากทั้ง 14 แบรนด์แฟชั่น ผ่านสื่อต่างๆ ใน LINE Ecosystem และพาร์ทเนอร์ เพื่อผลักดันให้คนทั่วไปได้เห็นสินค้าในพรีคอลเลคชั่นสุดพิเศษของ 14 แบรนด์ SME ไทยเหล่านี้ต่อไปด้วย
สรุป
ธุรกิจแฟชั่นไทยยังคงมีโอกาสในการเติบโตทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งจากกระแส Social Commerce ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน หากแต่ขาดเวทีในการแสดงผลงาน รวมถึงขาดความรู้ และเครื่องมือที่ช่วยในการขาย LINE FASHION ANNUALE จึงถือเป็นโครงการนำร่องสำคัญที่ LINE จัดขึ้นด้วยความตั้งใจช่วยเหลือผลักดันผู้ประกอบการแฟชั่น SME ไทย เป็นเวทีในการแสดงผลงาน และพัฒนาความรู้ให้เข้ากับการขายในยุคสมัยปัจจุบัน
สำหรับรายละเอียดความเป็นมาของ LINE FASHION ANNUALE 2021 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/news/20210514_1
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา