10 ปีผ่านไป รัฐไทยยังไม่มูฟออน วนมาพูดแต่เรื่องเก่าๆ อยากติดป้ายคำเตือนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

รัฐไม่ยอมเปลี่ยนแปลงของแท้ คือรัฐไทย

ล่าสุด หน่วยงานรัฐไทยยังวนลูปอยู่กับเรื่องเก่าๆ ด้วยการพยายามออกกฎให้มีการติดป้ายฉลากคำเตือนที่บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบขวดหรือกระป๋อง หรือไห เพื่อจะเตือนหรือป้องปรามให้คนรู้สึกถึงความโหดร้ายหลังการดื่มแอลกอฮอล์ รัฐไทยพยายามจะทำให้การติดคำเตือนดังกล่าวไม่ต่างจากซองบุหรี่ที่เคยมีคำเตือนมาก่อนแล้ว เราสามารถแยกประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

TABBA

(1) ตัวอย่างจากการสูบบุหรี่

เรื่องนี้ เราเห็นตัวอย่างจากการสูบบุหรี่กันมานานแสนนาน นานมากเหลือเกินแล้วว่าไทยพยายามอย่างหนักหน่วงที่จะติดป้ายฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ไม่ให้คนสูบบุหรี่มากขึ้น แต่ข้อมูลจำนวนมากได้เผยออกมาแล้วว่าคนสูบบุหรี่ไม่ได้มีจำนวนลดลง

ตัวอย่างข้อมูลจากหน่วยงาน “มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่” ข้อมูลช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือปี 2547-2557 พบว่า เยาวชนสูบเพิ่มขึ้น ผู้หญิงสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น อายุเฉลี่ยของเยาวชนมีแนวโน้มลดลง หมายความว่าคนสูบหน้าใหม่ที่อายุน้อยมีเพิ่มขึ้น และยังเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาสูบรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย

สรุปปัญหาจากการสูบบุหรี่พบว่า มีแนวโน้มคงที่ เยาวชนมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น มีการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะสูง สะท้อนให้เห็นว่า ป้ายฉลากคำเตือนที่แสนโหดของไทยไม่ได้ช่วยทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนหน้าใหม่ๆ ลดลง คนหน้าเดิมๆ ก็ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปในปริมาณที่เพิ่มขึ้น

(2) ประกาศจากคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องการอะไร?

คำประกาศดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 (1)  แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ออกประกาศ (อ่านรายละเอียดทั้งหมดเพิ่มเติมที่นี่ (bit.ly/48x8AN8)

คำอธิบายหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายหรือกฎหมายที่นำมารับฟังความคิดเห็น

ประกาศฉบับนี้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลากและข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้าไว้ ดังนี้

1. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาชนะบรรจุต้องมีปริมาณบรรจุสุทธิไม่น้อยกว่า 175 มิลลิลิตร

2. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องไม่ใช้ข้อความตามที่กฎหมายกำหนด 

3. กำหนดให้มีข้อความคำเตือนบนภาชนะบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4. กำหนดให้มีข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บนภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งให้จัดทำเป็นรูปภาพ 4 สี 9 แบบ สับเปลี่ยนกันไปตามลำดับในอัตรา 1แบบ ต่อ 1,000 ภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุ

5. กำหนดขนาดของข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. กำหนดข้อยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกับสุราสามทับและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายนอกราชอาณาจักร หรือผลิตหรือนำเข้าเพื่อเป็นตัวอย่างในการทดสอบ วิเคราะห์ หรือวิจัย โดยมีรายละเอียดในการผลิตหรือนำเข้าเพื่อการดังกล่าวอย่างชัดเจน และมิได้กระทำเพื่อประโยชน์ในทางการค้าในราชอาณาจักร

7. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้าที่ได้จัดทำขึ้นไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้ต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

8. กำหนดให้ประกาศมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อมูลที่กำลังต้องการรับฟังความคิดเห็น สามารถส่งความคิดเห็นภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2024 นี้ สามารถส่งความคิดเห็นได้ที่นี่ (bit.ly/4bTdgzC)

(3) รัฐไทยสุดโต่ง ขาดวิสัยทัศน์ การติดฉลากคำเตือนบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สะท้อนความล้าหลัง ดับฝันส่งออก Soft Power

ทางสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริการ โรงแรม ร้านอาหาร และเครื่องดื่อมแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจคราฟท์เบียร์ นายกสมาคมบาร์เทนเดอร์ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไร่องุ่นและผลิตไวน์องุ่นภายใต้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ไวน์เขาใหญ่”

ผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชน ผู้ประกอบการร้านอาหารและบาร์ ต่างคัดค้านและขอให้ยกเลิกประกาศฯ ดังกล่าว เพราะจะสร้างความเสียหายร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ดังนี้

แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ควรเน้นให้การศึกษาหรือเพิ่มแรงกระตุ้นมากกว่าเพิ่มข้อห้าม

TABBA

เขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) ระบุว่า กฎหมายนี้เคยถูกเสนอ 2 ครั้ง ปี 2009, 2014 ในที่ประชุมนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ โดย WTO หรือองค์การการค้าโลกก็เคยแสดงความกังวลว่า การพยายามจะติดป้ายคำเตือนดังกล่าวไม่เป็นสากล ส่วนใหญ่เขาจะใช้สัญลักษณ์กราฟฟิกเล็กๆ เช่น ดื่มไม่ขับ, ท้องไม่ดื่ม ซึ่งกฎหมายไม่ได้เรียกร้องให้ทำ แต่ผู้ประกอบการทำ ถ้าจะทำอย่างนี้กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ต้องทำกับขนม เครื่องดื่มน้ำอัดลมเพราะอยู่ในหมวดเดียวกัน

ขวดทรงเหลี่ยม จะให้แปะภาพคำเตือน 50% ในพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด ถ้าขวดทรงกลม แปะขนาด 30% แต่ของเดิมไม่ให้จำหน่ายอายุต่ำกว่า 20 ปี ขณะที่การสูบบุหรี่ มีการเปลี่ยนภาพให้น่ากลัวมากขึ้นเพราะคนไม่กลัว อัตราการสูบเพิ่มมากขึ้น จะต้องมีการประเมินผลกระทบทางกฎหมาย กฎหมายนี้สร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริโภคเกินจำเป็น หลักฐานเชิงประจักษ์คืออัตราการสูบเพิ่มขึ้นตลอด

ขณะที่รัฐบาลต้องการดึงนักท่องเที่ยวมากขึ้น แต่การติดฉลากนี้สะท้อนความไม่ศิวิไลซ์ เราจะกลายเป็นแห่งแรกของโลก ถ้าเป็นเจ้าของแบรนด์มูลค่าสูงก็จะไม่กล้าส่งออกมาไทย นี่ไม่ใช่การแก้ปัญหาตรงจุด สิ่งที่ควรเป็น คือให้การศึกษาเรื่องการดื่ม เหมือนเรื่องเพศสัมพันธ์ ไม่ควรเป็นสังคมดัดจริต ต้องให้ความรู้ ให้การศึกษาเพิ่มขึ้น

TABBA

สุวิสุทธิ์ โลหิตนาวี ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไร่องุ่นและผลิตไวน์องุ่น ในเรื่องของผลเสีย การติดฉลากทำให้เอกลักษณ์สินค้าหายไป ที่กราน มอนเต้ เราตั้งใจทำไวน์หลายระดับราคา การออกแบบฉลากเป็นการสร้างความแตกต่างเพื่อให้ผู้บริโภคมองแวบเดียวก็เข้าใจว่าชอบแนวนั้น แนวนี้ไม่เหมือนกัน หน่วยงานรัฐก็ใช้เรื่องหน้าตาเพื่อบ่งบอกระดับราคาและเคยเสิร์ฟระดับผู้นำโลกมาแล้ว มันไม่ใช่แค่น้ำไวน์แต่เป็นหน้าตาของมันด้วย 

รัฐบาลนี้บอกว่าขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านทางการท่องเที่ยว ซึ่งมันก็แฝงเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตในประเทศด้วย การออกกฎนี้มา ทำให้สินค้านี้หน้าตาน่าเกลียด ไม่มีจุดดึงดูด ขาดมูลค่าของสินค้า ไวน์ เบียร์ ไม่ว่าจะแพงหรือถูก ก็ไม่ควรต้องเจอเรื่องที่ทำให้เสียมูลค่า มูลค่าเป็นเรื่องนามธรรม แต่สิทธิเสรีภาพในการออกแบบควรเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น 

นอกจากนี้ การตั้งคำถามเพื่อขอความคิดเห็นจากร่างประกาศฯ ดังกล่าว เป็นการออกแบบคำถามที่ทำให้คนท้อแท้ในการออกความคิดเห็น อยากย้ำกับภาครัฐเวลาออกกฎ ประกาศ ทำง่ายสำหรับเขา คนทำงาน ผู้ประกอบการต้องทำงานกับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้ ดึงความสนใจของเราออกจากสิ่งสำคัญที่จะเติบโตสู่อนาคต เช่น พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่เราต้องให้ความสำคัญกับมัน ส่วนเรื่องประกาศคำเตือนเหล่านี้ทำให้เราเสียสมาธิ

TABBA

ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ กรรมการสมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจคราฟท์เบียร์ การทำคราฟท์เบียร์เราเน้นเรื่องการออกแบบฉลาก มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในนั้น ทั้งรูปกราฟฟิก ตัวเบียร์ที่มีความหลากหลาย เราใช้ฉลากในการอธิบายว่ามีอะไรบ้าง ปัจจุบันก็ใส่ได้น้อยมากแล้ว เพราะมาตรา 32 ถ้ามีตัวนี้เข้ามาอีกก็จะไม่เหลือพื้นที่ที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์นั้น

ฉลากที่ทำอยู่ เราออกแบบมา จ้างดีไซเนอร์ราคาสูง การแปะป้ายคำเตือนดังกล่าวทำให้ความสร้างสรรค์หายไป มูลค่าการออกแบบของคนจ้างงานก็จะหายไป ฉลากมีความสำคัญมากต่อตัวผลิตภัณฑ์ ถ้าลูกค้าเห็นและคล้ายกันไปหมดก็ไม่เลือก คนดื่มคราฟท์เบียร์เขาจะเอากระป๋องมาถ่ายรูปทุกครั้ง เป็นธรรมชาติ การติดฉลากคำเตือน พอวางบนโต๊ะอาหารมันก็ไม่เหมาะ ลองคิดดูว่าไปงานเลี้ยงผู้นำ สภาพจะเป็นยังไง

ปัจจุบัน มีกฎหมายควบคุมค่อนข้างเยอะมาก เป็นภาระของผู้ประกอบการอยู่แล้ว อีกทั้งเศรษฐกิจแอลกอฮอล์ก็ไม่ได้เติบโตอยู่แล้ว มีความยากลำบาก การออกกฎควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพื่อดูผลกระทบ ผู้ประกอบการแทบไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยเพื่อให้รู้ปัญหาที่แท้จริงและหาวิธีป้องกัน

TABBA

ทวีชัย ทองรอด ผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชน “สังเวียน” คนตั้งกฎไม่ได้ทำ แต่ละโรงมี 10 Lebel มันเพิ่มต้นทุนในการเปลี่ยนฉลากด้วย เขาห่วงสุขภาพประชาชน แต่สิ่งที่เขาเป็นห่วงด้วยการตั้งกฎเหล่านี้ มีหลักฐานอะไรบ้างที่จะยืนยันได้ว่าช่วยป้องกันได้ ฉลากคำเตือน ใหญ่กว่ามาตรฐาน 25% สำหรับคนที่ต้องการนำเสนอสินค้า ก็ถือว่าเป็นปัญหา ถ้ามีการเปลี่ยนรูปตลอด ลำบากแน่นอน 

ถ้าเราจะประนีประนอมกับเจ้าหน้าที่ได้ ในที่สุดแล้ว ต้องคุยกันก่อน ถ้าอยากได้ Lebel ให้มันศิวิไลซ์กว่านี้ไหม เช่น สัญลักษณ์ที่ใครเห็นก็เข้าใจแล้วนะ บางที ศิลปะนั่งมองก็ตีความอีก ถ้าคุณกินแล้วจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้  1 ภาพ 1,000 คำ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าถูกกฎหมายที่โดนควบคุมเยอะมาก มากกว่าอดีตยาเสพติด โดนบีบคออยู่เรื่อยๆ ผู้ประกอบการสุราไม่ได้มีความคิดจะทำร้ายลูกค้าตัวเองอยู่แล้ว หวังจะพัฒนสินค้าที่มีคุณภาพให้ผู้บริโภค ถ้าจะให้ยั่งยืนต้องให้ความรู้กับผู้บริโภคดีกว่า ทุกคนผ่านการฝึกฝนมาอยู่แล้ว ทำไมจะฝึกให้ดื่มแล้วดื่มให้ดีไม่ได้

TABBA

ผศ.ดร. เจริญ เจริญชัย นักวิชาการด้านเทคโนโลยีอาหารและเครื่องดื่ม ผมทำเรื่อง พ.ร.บ. ควบคุมมาตั้งแต่ก่อนแก้ พ.ร.บ. อีก เรายื่นเรื่องให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายว่าต้องแก้อะไรไหม เขาบอกไม่ต้องแก้ ซึ่งก็นานมาแล้ว เรื่องประกาศคำเตือนนี้ เหมือนหลับหูหลับตา ตอนที่ขอเปลี่ยนแปลงโดยประชาชน ก็เห็นอยู่ว่า ส.ส. ทั้งหลายอภิปรายต้องการให้ผ่อนคลายกฎลงบ้างทั้งนั้น แต่พอออกกฎแบบนี้มามันสะท้อนว่าหลับหูหลับตา ไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทำมาสิบปีแล้ว แต่ไม่ผ่าน สมัยนั้นผู้ใหญ่ไม่เซ็น การรับฟังความคิดเห็นของเขาทำเป็นพิธี ถึงเวลาก็ออกอยู่ดี เหมือนตอนขายออนไลน์ แม้จะคัดค้านก็ไม่ฟัง

รัฐบาลส่งเสริม Soft Power เรามีสุราชุมชน ซึ่งก็คือผู้ประกอบการรายเล็กๆ (ปัจจุบันเรียกว่าผู้ผลิตรายเล็ก) มีศักยภาพทำให้เศรษฐกิจในชุมชนกระเตื้องขึ้น กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบหนักสุด ข้อกำหนดออกมา ทุก 1,000 ขวดต้องเปลี่ยนแบบ 1 ครั้ง ต้องมีหกแบบ เราต้องมีฉลาก 6 แบบ 4 สี ผู้ประกอบการรายเล็กหลายรายต้องเลิกทำ คนสนับสนุน Soft Power ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น เหล้า สาเก ดังไปทั่วโลกแล้ว แต่ฝรั่งมาถามหากิน ก็ไม่รู้จัก รู้จักแต่แบรนด์ผูกขาดที่มีมานานแล้ว แทนที่จะพัฒนาเพื่อส่งเสริมรายย่อย ช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา เขาต้องออกแบบ ค่าพิมพ์ฉลากสี่สี เวลาพิมพ์ฉลากสี่สี ต้องพิมพ์จำนวนเยอะถึงจะคุ้ม ตอนนี้ต้องเปลี่ยนทีละพันใบ น่าจะครึ่งหนึ่งของผู้ประกอบการที่จะไปต่อไม่ได้

ลดภาษีไวน์นำเข้าถูกลง ลดภาษีสุราชุมชนบางส่วน แค่ที่ไม่เกิน 7 ดีกรี คนที่โดนเต็มที่ต้องขึ้นราคาคือยาดอง มี 2-3 ยี่ห้อ ขึ้นราคา 3 บาทต่อขวด จะส่งเสริมให้คนไปกินของผิดกฎหมาย ยาดองโหล และช่วยต่างประเทศ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกไป ปีหน้าก็มาอีก จะยกลิก คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สร้างปัญหาเรื่อยๆ เราจะยกเลิก พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่ม ไม่แก้แล้ว ประชาชนหนึ่งหมื่นรายชื่อเตรียมลงชื่อยกเลิก

 TABBA

สง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร การออกกฎหมายดังกล่าว ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ทำให้ประเทศไทยถอยหลังลงคลอง มัน Represent ว่าไทยอยู่ตรงไหน ฉลากบอกอยู่แล้วว่า 20 ปีขึ้นไปบริโภคได้ ซึ่งมันบรรลุนิติภาวะแล้ว พอทำฉลากก็ยังต้องเตือนคนที่บรรลุนิติภาวะอยู่อีก ผมเชื่อว่าวันนี้ต้องไปข้างหน้าแล้ว เราเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะข้าวสารเป็นภาพลักษณ์ เป็น Window ให้ไทย มีคนเที่ยว 20,000-30,000 คนต่อวัน

การติดป้ายคำเตือนจะกระทบยอดขาย คนจะบริโภคน้อยลง เพราะฝรั่งเขาดื่มจากขวดไม่เทใส่แก้ว ดื่มขวดใหญ่และเดินถือ สิ่งนี้กระทบหมดเรื่องของความรู้สึกสำคัญ

วิธีควบคุมก็คือการให้การศึกษา ให้ความรู้เยาวชน 

หนังต่างๆ มี Tie-in ตลอด เราสามารถทำได้ ถ้าแบนในไทยก็ทำไป แต่เมืองนอกเปิดให้ดูได้ จะได้การสนับสนุนมากขึ้น ยกระดับหนังไทยมากขึ้น ต้องคิดถึงผู้ประกอบการที่จะแข่งขันในเมืองนอกให้ได้ ภาครัฐต้องช่วยพัฒนา ไม่ใช่ปกครอง ต้องช่วย ไม่ใช่กดขี่ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ต้องปรับ Mindset ถ้าไม่ปรับ ก็ไม่ควรสร้างปัญหา

TABBA

พงษ์พันธุ์ สืบแสงไทย นายกสมาคมบาร์เทนเดอร์แห่งประเทศไทย เราคัดค้านเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2014 และต่อสู้มาตลอด แต่เรื่องฉลากมีปัญหาหลายปีแล้ว ตอนนั้นก็จึงเกิด TBBA ขึ้นมา เวลาเราทำงาน บาร์เทนเดอร์รวมทั้งซอมเมอร์ลิเยร์ด้วย ที่ต้อง represent ไวน์ กับเครื่องดื่มในร้านแบบไฟน์ไดนิ่ง มันให้ความรู้สึกคนละแบบ คนที่สูบบุหรี่ เคาะออกมาจากซองก็สูบไป ไม่มีใครดู ถึงวันหนึ่งอาจจะต้องมีขวดเหล้าที่ต้องใส่ปลอกและมีโลโก้อย่างเดียว

อย่างสนามบินสิงคโปร์ เครื่องดื่มเต็มไปหมด ทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มันสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศฯ ไหม ไม่ใช่ ต้องให้ความรู้ว่าเครื่องดื่มต้องดื่มแบบไหน ต้องแก้ข้อกฎหมาย เช่น ขับรถเมาแล้วชน ต้องแก้ที่ปัญหา อย่างฉลาก เหล้าคือยาตั้งแต่ต้น ฉลากเหล้า ไวน์ บอกเล่าเรื่องราว ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มันเป็นของสะสม เราจะเก็บสะสมจากฉลากรูปนี้เหรอ มีตัวเลขบอกปีการบ่มไวน์  10 ปีผ่านไป ยังวนอยู่ที่เดิม มันน่าเสียใจมากที่ของดีๆ ของเรา ส่งออกไปข้างนอก มันไม่ใช่แค่เรื่องการผลิต แต่เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ด้วย เหล้าทุกยี่ห้อ ไวน์ทุกยี่ห้อ มีเรื่องราวอยู่ในฉลากของเขา  

มองภาพกว้าง ตัวพื้นที่เขาจะยอมทำให้เราไหม ถ้าไม่ยอมจะเกิดอะไรขึ้น มันเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง น่าจะศึกษาก่อน ไม่งั้นจะพูดเหมารวมว่าเหล้าเป็นอันตราย น้ำดื่มสีๆ ก็อันตรายนะ ร้านอาหารตามสั่งหมูกรอบก็ต้องติดป้ายเตือนมั้ย ลองคิดว่าจัดงานแต่งและมีฉลากแบบนี้ติดอยู่บนขวดไวน์, เหล้า 

Soft Power ในส่วนของแอลกอฮอล์ ไม่สามารถออกสื่อได้ ผลักดันกันเอง บาร์เทนเดอร์เราเก่งระดับโลกเยอะมาก มีศิลปะคอกเทลเหมือนกับอาหาร พอเราไม่ได้ภาพสื่อสารออกไป ทำให้ความเชื่อเรื่องคอกเทล มันอยู่ในภาพ 30 ปีที่แล้ว คอกเทลคืออะไรก็ได้ ใส่ให้เมาก็พอ บาร์เทนเดอร์ทุกวันนี้เรียนแต่ละคนไม่ธรรมดา จัดงานแข่งก็แบบแอบๆ ไม่สามารถออกสื่อได้ ไม่ว่างานระดับโลก ไทย หรือระดับอำเภอ ต้องจัดแอบๆ Soft Power หลายประเทศมี Signature ของตัวเอง แต่ไทยมีคอกเทลดีมาก เหมือนสิงคโปร์ได้ ไทยมีแอลกฮอล์จากต่างจังหวัดที่รสชาติแตกต่างกันหมดเลย มีจุดจำหน่าย แต่ภาครัฐควรมองเรื่องนี้เป็น Soft Power แค่ปลดล็อคเล็กน้อยก็ขยับต่อได้

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา