บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานชั้นนำจับมือกับช่างภาพระดับแนวหน้าของไทย ภูริต เนติมงคลชัย (Vin Buddy) จัดนิทรรศการภาพถ่าย Portrait of Passion เปิดตัวแนวคิด CSR “Embracing Potential, Energizing People: เสริมศักยภาพ สร้างพลังแห่งอนาคต”
สินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ระบุว่า บ้านปูให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพให้แก่ผู้คน เขามองว่า คนรุ่นใหม่ก็สำคัญ แต่ผู้นำจริงๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนรุ่นใหม่ แต่ต้องทำให้องค์กรสำเร็จสิ่งสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ตอนนี้ คือ Accountability ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำวันนี้ เพราะมันจะมีผลต่อเราในอนาคต
สินนท์เล่าว่า Charlie Munger เคยกล่าวไว้ว่า คนที่เป็นผู้นำจำเป็นต้องมี Role Model มันเหมือนเราต้องยืนอยู่บนภูเขา เป็นการผสมผสานกันระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นก่อนหน้าที่มีประสบการณ์กว่า บ้านปูมีเมนทอร์ที่มีประสบการณ์มากๆ หล่อหลอมเราอยู่
ซีอีโอบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า มีสิ่งสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้ เรื่องแรก เราต้อง Show up (เราต้องแสดงตัว) สอง เราต้องใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา สาม ผู้นำที่ดีต้องหยุดไม่ได้ ต้องไม่หยุดยั้ง สามเรื่องนี้สำคัญต่อการ transform องค์กรเช่น บ้านปู
บ้านปูมีพนักงาน 6,000 คน 9 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
บ้านปูมีพนักงานหลายสัญชาติ สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของวัฒนธรรมขององค์กร (Culture) วัฒนธรรมก็คือนิสัยของบริษัทให้ทำธุรกิจร่วมกันได้ เหมือนคนเป็นเพื่อนกัน หรือคนในองค์กรเดียวกัน ต้องมี Value เดียวกันที่ต้องคุยกัน เรามีองค์กร Banpu Academy สร้างโปรแกรมให้พนักงาน สอนให้พัฒนาความรู้และทักษะพนักงานตลอดเวลา
ส่วนศักยภาพที่คนควรได้รับการพัฒนาและตอบโจทย์โลกยุคใหม่นี้ สินนท์มองว่าในส่วนของพนักงานตอนนี้ สิ่งที่เป็นโจทย์ที่โลกต้องการแก้ปัญหา คือดีมานด์ ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นทุกวัน อีก 20 ปี พลังงานต้องเพิ่มอีกเท่าตัว เราต้องเพิ่มพลังงานสะอาดเข้ามา และพลังงานดั้งเดิมแบบก๊าซหรือถ่านหินก็ยังสำคัญอยู่ จากบ้านปูในมุมมองพลังงานดั้งเดิมและพลังงานใหม่ เราต้องมีทักษะสำคัญที่แบ่งเป็นขนมชั้นได้ 3 ระดับ ดังนี้
ระดับพื้นฐาน คือ ธุรกิจดั้งเดิม ขุดถ่านหิน ทำโรงไฟฟ้า ดูแลคน ดูแลแผนการก็ยังต้องสานต่อ
ระดับสอง พลังงานจะเป็นตลาดเสรี พอเสรีแล้วจะมีการเทรดไฟให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ล่าสุด เราทำกักเก็บคาร์บอนลงดิน ทำให้เราทำธุรกิจแก๊สสีเขียวได้มากขึ้น
ระดับสาม เราทำไฮโดรเจน และทำดาต้าเซ็นเตอร์เรื่องนี้
การพัฒนาทักษะที่น่าสนใจนั้น อย่างที่ประธานฯ เราพูดมาตลอด คือการทำธุรกิจหรืออุตสาหกรรมจะสำเร็จได้ต้องเน้นเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ ESG ซึ่งก็ตรงกับที่บริษัทต่างๆ ต้องเน้นเรื่องนี้มากขึ้นด้วย สองทักษะที่สำคัญก็คือ ESG และการดูแลสิ่งแวดล้อม
โดย Decarbonization (การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์) และการ Digitization ก็เป็น 2D ที่สำคัญ ถ้าเราไม่มีแผนด้านนี้ก็จะทำธุรกิจได้ไม่ยั่งยืน เราเน้นเรื่องพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เรามีแผนทำการกักเก็บคาร์บอนลงดิน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ด้วย ถือเป็น New S-Curve ของบ้านปูด้วย (ธุรกิจ New S-Curve ของบ้านปู ประกอบด้วยธุรกิจ 5 กลุ่มคือ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแบตเตอรี่ ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ และธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน)
Passion ของบ้านปู ก็คือ บ้านปู ฮาร์ท (Banpu Heart) ซึ่งก็คือ Passionate ส่งเสริมพนักงาน Innovative ให้ความสำคัญกับความคิด ความสร้างสรรค์ และ Committed คือความมุ่งมั่นและหยืนหยัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หลังจากที่มี Passion ก็ต้องมีพื้นที่ให้พนักงานได้ทดลองได้ เราพยายามทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ประเทศทั้งความรู้ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ตัวแทนจากโครงการ CSR ของบ้านปูมี 3 คน ดังนี้
รัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ระบุว่า บ้านปูเข้าสู่ทศวรรษที่ 5 แล้ว เรามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเรื่องกิจกรรม CSR เรายกระดับให้มีคุณค่ามากขึ้น โดยร่วมมือกับสถาบันธุรกิจของเรามาร่วมทำเวิร์กชอป เพื่อยกระดับ CSR ให้เป็น Purpose-driven CSR นำไปสู่ธีมใหม่ของ CSR พัฒนาให้เข้มข้นขึ้น ซึ่งก็คือ “Embracing Potential, Energizing People เสริมศักยภาพ สร้างพลังแห่งอนาคต”
เรื่องเสริมศักยภาพเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมาก สิ่งที่เราพยายามเชื่อมโยงกับคุณค่าที่บ้านปูมองและสิ่งที่สังคมต้องการคือการพัฒนาศักยภาพคน เรามองว่าคนเรามีพลังมาก แต่ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพด้วยการ Embrace มัน
เราให้ความสำคัญ 4 เรื่อง
สนับสนุนพลังความรู้, ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, สร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่ และส่งต่อพลังงานยั่งยืน
ส่งเสริมเรื่องความรู้
จะส่งต่อความรู้อย่างไรเพื่อส่งต่อศักยภาพนั้นไปให้คนอื่นได้ มุ่งเน้นพัฒนาคนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 สโมสรนี้เกิดขึ้นเพราะบ้านปูมีโรงไฟฟ้าในจีน เมื่อจีนเป็นแชมป์โลก จะดึงศักยภาพนี้มาสู่คนไทยอย่างไร เรามีโค้ชต้อม เรามีเยาวชนทีมชาติ 14 คน และมีเครือข่ายเยาวชนที่เป็นจิตอาสา
ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
เรามองว่าต้องการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม เรายกระดับพี่บั๊มทำให้ชุมชนพี่บั๊มเข้มแข็ง สร้างผลกระทบเชิงบวก 2.5 ล้านคนไทย
สร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่
เราต้องการขับเคลื่อน สร้างเครือข่ายปกป้องสิ่งแวดล้อมและรักษาระบบนิเวศน์ให้คงอยู่ มีเครือข่ายเยาวชนกว่า 1,000 คน มีมาต่อเนื่องยาวนาน 19 ปี ทำกิจกรรมให้เข้มข้นและปฏิบัติใช้ได้จริง
ส่งต่อพลังงานที่ยั่งยืน
บ้านปูทำธุรกิจพลังงาน เราพยาามทำให้คนเข้าถึงพลังงาน เราติดตั้งโซลาร์ให้กับโรงเรียนชายแดน ชายขอบกว่า 70 แห่ง
“โค้ชต้อม” อาสาฬห์ อมรรัตนสุชาติ หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู และโค้ชใหญ่เทเบิลเทนนิสหญิงทีมชาติ โอลิมปิก 2024
โค้ชต้อมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ได้เป็นโค้ช น้องตามศูนย์เยาวชนใน กทม. ไม่มีผู้ฝึกสอน เราก็อยากไปสอนเขาเพราะมีทักษะอยู่บ้าง เพราะเป็นกีฬาที่รักและออกกำลังกายแบบนี้มาตลอด โดยเริ่มเป็นโค้ชเทเบิลเทนนิสที่บ้านปูจากรุ่นพี่ที่เป็นโค้ชทีมชาติเก่า ได้มีโอกาสไปที่เหอเป่ย จีน เอาประสบกาณณ์นั้นมาต่อยอดให้น้องในไทย ทั้งบ้านปู
“บั๊ม” ลักขณา แสนบุ่งค้อ ผู้ก่อตั้งธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อชุมชน “Banana Land” ผู้ก่อตั้งและขับเคลื่อน Banana Land ที่จังหวัดเลย ได้พาโครงการนี้เข้าร่วมประกวดที่บ้านปูด้วย
บั๊ม ลักขณา เล่าว่า อยากให้คนเลยรู้จักรักบ้านเกิด ให้คนอีสานมีอาชีพ ขจัดความยากจน หาตัวตนให้เจอว่าที่จังหวัดเลยบ้านเรามีอะไร รู้จักบ้านปูปี 2557 ตอนนั้นทำ Banana family คือแปรรูปกล้วยมาก่อน จากนั้นก็เข้าสมัคร ไม่เหมือนที่คิด พี่เขาถามเรื่องเงิน ได้เงินมาแล้วจัดการยังไงต่อ เราไม่มีบัญชี ไม่มีเรื่องเสียภาษี
เราทำฟาร์มที่อยู่ต่อหน้าเรา ชุมชนไม่คิดว่าเผาฟางเป็นเรื่องผิด เพราะเผาในพื้นที่ตัวเอง ถ้าคนอย่างเราไม่ลุกขึ้นมาปกป้อง แล้วใครจะทำ เมื่อก่อนหน้านี้เป็นภูเขาหัวโล้น ในหลวง ร.9 ขอคืนพื้นที่ จนภูเขากลับคืนมา และเรารวมผู้คนที่เก่งด้านท่องเที่ยวมาทำ Banana Land
“ฟิวส์” ณภัทร ปรุงศรีปัญญา ตัวแทนเยาวชนจากค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพาเวอร์กรีน รุ่นที่ 17
ฟิวส์ ณภัทร เล่าว่า เขามี Passion ในการสนใจสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ ป.5-ป.6 เพราะพ่อเป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่จังหวัดขอนแก่น และทำเรื่องคัดแยกขยะ จัดการขยะ เขาเป็นเด็กประถมที่เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มเรียนรู้ว่าการจัดการขยะสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นได้
พอ ม.ปลาย ก็เริ่มคิดว่าจะเรียนอะไรดี ได้เข้าร่วมค่าย Power Green Camp เราได้เรียนรู้มากขึ้น มีเรื่องมลพิษทางดิน และมองเห็นว่ามีปัญหาสิ่งแวดล้อมมีเรื่องมากกว่าขยะ มีอากาศ มี Climate Change ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ทำให้ตอนนี้ได้เข้ามาเรียนที่คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เขาอยากเป็นนักสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคม
ปีหน้า Power Green จะครบ 20 ปี จะมีการทำงานเล็กๆ เพื่อรวมเครือข่าย โดยโครงการ Social Enterprise ของพี่บั๊มเกิดขึ้นเพื่อให้คนทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น บ้านปูต้องร่วมกับพาร์ทเนอร์และหลายภาคี กีฬาปิงปองก็เป็นโครงการที่เราภาคภูมิใจ พัฒนาต่อเนื่องยาวนาน เราจะปลูกฝังนักกีฬาให้มีจิตอาสา ทำค่ายเพื่อเอาความรู้ด้านกีฬาไปสอนเด็กเยาวชนในที่ห่างไกล
โครงการด้านการศึกษา บ้านปูทำมาแล้วต่อเนื่อง เราช่วยเหลือโรงเรียนในภาคใต้ ทำมาสิบกว่าปี ทำพาร์ทเนอร์ชิป ให้การสนับสนุนโรงเรียน เราให้ความสำคัญเรื่องการศึกษา เห็นปัญหาเด็กออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ปีหนึ่งเด็กออกนอกระบบเป็นปีละเป็นล้านคน ความยากจนส่งต่อรุ่นต่อรุ่น เพราะไม่ได้รับการศึกษาที่เพียงพอ
ด้านภูริต เนติมงคลชัย (Vin Buddy) ช่างภาพชื่อดัง เล่าว่า ผมมองตัวเองเป็นคนเล่าเรื่องด้วยภาพ Portait of Passion ทำงานกับบ้านปู รู้จักมานานแล้ว รู้สึกตื่นเต้น ไม่เคยรู้ว่าองค์การใหญ่ทำงานเพื่อสังคมเงียบๆ ผมมีโอกาสลงพื้นที่ โดยก่อนจะเล่าเรื่องต้องตีโจทย์ให้ได้ เล่าให้จบภายในภาพเดียว มีความยาก อย่างหมู่บ้านที่ไปลงพื้นที่มา น้องๆ ไม่มีไฟฟ้า
เขาเดินไปเดินมาด้วยการมีไฟฉายติดอยู่ที่หัวเดินไปอาบน้ำที่น้ำตก ต้องชาร์จไฟที่โรงเรียน เราทดลองอยู่มา 1 คืน เป็นความลำบากที่เราจินตนาการไม่ได้ มีคน 200 กว่าคน มีเสาไฟ 5 ต้นทั้งหมู่บ้าน
ขณะที่ลงพื้นที่สิ่งที่อยากได้จากเด็กพวกนี้คือความอารมณ์ดี มีความสุข สิ่งที่พบคือ เขาไม่มีอารมณ์ ไม่ตอบสนอง เพราะเขาไม่ค่อยเจอผู้คน ก็ต้องพยายามสร้างบรรยากาศเพื่อให้ได้ภาพตามที่ตั้งใจไว้
สำหรับกิจกรรมภายในงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-15 กันยายน
วันที่ 13 กันยายน Passion in the Dark เรียนรู้อักษรเบรลล์ผ่านมุมมองนักเขียนผู้พิการทางสายตา พลอย สโรชา กิตติสิริพันธุ์ มีกิจกรรม 2 ช่วงเวลาที่ให้เข้าร่วมคือ 11.00-12.00 น. และ 14.00-15.00 น. (รับจำนวนจำกัด)
วันที่ 14 กันยายน Ping Pong with Purpose ร่วมสนุกแข่งขันปิงปองกับนักกีฬาทีมชาติภายใต้สโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู แต้มจากการแข่งขันจะเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อบริจาคให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล มีเวลาเข้าร่วม 2 ช่วงคือ 11.00-12.00 น. และ 14.00-15.00 น. (ไม่จำกัดผู้เข้าร่วม) และร่วมพูดคุยกับเจ้าของผลงาน ภูริต เนติมงคลชัย (Vin Buddy)
วันที่ 15 กันยายน Passionate Voices: Power Green youth Debate on an Environmental Topic รับฟังเสียงสะท้อนของตัวแทนโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เข้าร่วมได้เวลา 14.00-15.00น. ไม่จำกัดผู้เข้าร่วม
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา