ทำไมต้องมีบริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์?: บำรุงราษฎร์คือเอกชนรายแรกที่ได้รับรอง

เปิดเหตุผล ทำไมต้องมีบริการด้าน “การแพทย์จีโนมิกส์?” 

การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) หรือเวชศาสตร์จีโนม คือความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมมนุษย์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

Gemomic

ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การแพทย์จีโนมิกส์กำลังเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความร่วมมือกับสถาบันทางวิชาการและมหาวิทยาลัยทั้งภายในและต่างประเทศ

เราต้องการให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เราเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรอง

จากงานเสวนาเรื่อง “ความเป็นผู้นำด้านเวชศาสตร์จีโนม” มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

เหตุผลที่บำรุงราษฎร์ได้เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรองรับ?

ผศ.นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล Chief Scientific Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล่าว่า เวชศาสตร์จีโนม เริ่มต้นคุยอาจดูเข้าใจยาก เอาเป็นว่าเราศึกษายีนตัวเดียวและเริ่มเรียนรู้ว่าต้องใช้ความรู้เชิงลึกในระดับโมเลกุลมาต่อยอดเพื่อศึกษาเพิ่ม

เราเริ่มโครงการนี้ 2-3 ปีและได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์อาวุโสและผู้บริหาร เริ่มจากทีมเวศาสตร์เชิงป้องกัน และเป็นที่มาที่เราได้จดทะเบียนและได้รับรองเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ให้บริการด้านเวชศาสตร์จีโนมจากกระทรวงสาธารณสุข

เรานำยีนมาวิเคราะห์เชิงป้องกัน หลักๆ คือโรคมะเร็งและเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ

เรามีห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานระดับสากล มีการทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศ ความร่วมมือเหล่านี้ได้รับมาตรฐานระดับสากล

เรามีทีมแพทย์ที่ชำนาญ ไม่ใช่หมออย่างเดียว มีพยาบาล ผู้ให้คำปรึกษาเฉพาะทาง มีวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ 80 กว่าคน ระดับคุณวุฒิตั้งแต่ปริญญาเอกถึงหลังปริญญาเอก
เราเน้นเรื่อง Academic Hospital เราเน้นการร่วมมือกับสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ

Genomics
ผศ.นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล Chief Scientific Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การบริการจีโนมิกส์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์?

นพ. ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระบุว่า ผมอยู่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มาเกิน 15 ปีแล้ว โรงพยาบาลนี้เป็นที่หนึ่งหรือเทียบเท่า หรือนำหน้าโรงพยาบาลรัฐบางแง่ด้วยซ้ำไป เพราะมีทรัพยากรคล่องตัวกว่าผู้ป่วยใน Public Sector

การตรวจยีนมีประโยชน์ตั้งแต่ทารกในครรภ์ เพื่อทำนายโรค มีผลสำหรับคนปกติ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เพื่อป้องกันโรคได้ การตรวจยีนอาจมีผลต่อสมาชิกครอบครัวและบุตรหลานในอนาคตด้วย ชาย-หญิงจะแต่งงานกันสามารถรู้ล่วงหน้าก่อนจะมีบุตรคนแรกด้วยซ้ำ

การตรวจยีนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย มีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่ทีมแพทย์พร้อมอธิบายเพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่เหมาะสมมากขึ้น ผู้รับบริการจะได้รับประโยชน์เพื่อได้รับทางเลือกที่เหมาะสมกับท่าน เป็นการแพทย์แม่นยำ การใช้ยาเฉพาะบุคคล

การตรวจทางพันธุกรรม การทดสอบใช้ยาเฉพาะบุคคล เราออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเพราะมีคนไข้หลากหลาย รูปแบบการบริการเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงประชากรทั่วโลกเหมาะสมกับทุกเชื้อชาติ การตรวจแบบนี้ทำให้เก็บผลไปใช้ได้ตลอดชีวิต เราเอาผลแบบนี้ไปตรวจครั้งเดียวและใช้ได้ตลอด

เวลาตรวจทางพันธุศาสตร์เราเอาข้อมูลเข้าเวชระเบียน ทำให้แพทย์เห็นและรู้ว่าผู้ป่วยจะตอบสนองว่าแพ้หรือไม่แพ้ยาอย่างไร บางครั้งผู้ป่วยที่มารับบริการกลับประเทศไปรับการรักษาที่อื่น เราก็มีนวัตกรรมให้มีผลการตรวจเพื่อไปรักษาต่อที่อื่นได้

ตัวข้อมูลจะถูกนำเข้าสู่แอปพลิเคชัน ลงสามาร์ทโฟน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้

ศูนย์เวชพันธุ์ศาสตร์ได้พัฒนาโปรแกรมการแปรผลจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งเรารู้ว่าการตอบสนองต่อยาไม่ได้เกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรมเท่านั้น ไลฟ์สไตล์ของคนไข้ส่งผลต่อการตอบสนองต่อยาทั้งสิ้น

ศูนย์เวชศาสตร์จีโนมิกส์ของเราสร้างองค์ความรู้ใหม่ การตรวจยีนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลแล้ว เราสามารถทำ homecare ได้ เรามีกระบวนการเก็บ DNA ของผู้ป่วย ใช้นวัตกรรมที่สามารถทำได้ คือการเก็บตรงกระพุ้งแก้มเพื่อเก็บ DNA ได้

ปัจจุบัน ผลงานการตรวจยีนไม่ใช่ผลงานแพทย์หรือผู้บริหารแต่เป็นผลงานของทีมหลังบ้านของแล็บบำรุงราษฎร์นับสิบคน เราภูมิใจมากที่จะแปรผลกับนักวิทยาศาสตร์ทีมแล็บเพราะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเสนอการบริการเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม

เรากำลังมีการทดสอบตรวจยีนทารกเพื่อให้ตรวจเร็ว รู้ผลเร็วภายใน 4 สัปดาห์ บางโรคที่ซับซ้อน การตรวจยีนอาจช่วยเรื่องนี้ได้

Genomics
นพ. ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

มุมมองเภสัชกรรม การยกระดับให้เป็นศูนย์จีโนมิกส์มีผลดีอย่างไร?

ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล่าว่า เราอยากเน้นย้ำเรื่องคำว่าศูนย์ให้เป็นสถาบัน เราจัดให้เป็นสถาบัน บำรุงราษฎร์จัดเป็นสถาบันทางการแพทย์สร้างความรู้ทางวิชาการที่มีการแบ่งปันด้วย เราใช้นวัตกรรมด้านเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการได้รับการใช้ยาที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายแต่ละบาท

เราเอาไปใช้เพื่อลดการแพ้ยารุนแรง ที่อาจส่งผลต่อการเสียชีวิต พิการ หรือการไม่ตอบสนองต่อโรคต่อไป

ผศ. นพ. พลกฤต ทีฆศิริกุล Chief Scientific Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยว่าในฐานะที่เป็นตัวแทนของศูนย์จีโนมิกส์ อนาคตจะมาพูดถึงมัลติโอมิกส์ (Multi-omics) คือนวัตกรรมใหม่ๆ การดู RNA โปรตีน โมเลกุลต่างๆ เป็นองค์ประกอบทั้งหมดของชีวโมเลกุล ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์หรือทำนายความเสี่ยง ทั้งวินิจฉัยและติดตามเฝ้าระวังคนไข้

อย่างเรื่อง AI เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ พันธุกรรมก็เอามาแปรผลให้ได้แม่นยำมากขึ้นเพื่อให้ประหยัดเวลา

Genomics
ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การตรวจยีนเพิ่มความแม่นยำในการรักษาคนไข้มากยิ่งขึ้น

ศ.ดร.ภก. ชลภัทร สุขเกษม ที่ปรึกษาด้านเภสัชศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การใช้จีโนมิกส์คือการใช้ลักษณะพันธุกรรมของผู้ป่วยเพื่อเอามาทำนายการตอบสนองต่อยา ทำนายทั้งในมุมการเกิดผื่นแพ้ที่รุนแรงทางผิวหนังที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตหรือพิการได้

ใช้ทำนายการตอบสนองต่อยา ในเชิงประสิทธิผลด้วย ผู้ป่วยอาจเสียตังค์ในการรักษา อาจใช้ยาราคาแพงแต่อาจไม่ได้ประสิทธิผล การตรวจจีโนมิกส์จะทำให้ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

ศูนย์เวชศาสตร์จีโนมจะส่งผลช่วยป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่เฉพาะบุคคล ได้ประสิทธิผลจากยาเต็มที่ อย่างที่บอกก็คือ การใช้เวชศาสตร์จีโนม หลักๆ ที่เราทำเป็นการตรวจยีนที่มันไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต เราสามารถที่จะเก็บผลการตรวจไปใช้ได้ตลอด และการบริการในภาคประชาชนเราก็มีกระบวนการที่จะนำถ่ายทอดเทคโนโลยีเหล่านี้ไปสู่หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิกัน 

Genomics

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา