GC กับเป้าหมาย Together to Net Zero ที่ทุกคนเป็น “ฮีโร่” ร่วมกันสร้างสังคมยั่งยืน กู้วิกฤตโลกร้อน

เรื่องของสิ่งแวดล้อม โลกร้อน ไม่มีใครมองเป็นเรื่องไกลตัวเพราะผลกระทบที่ได้รับชัดเจนจากอากาศที่ร้อนขึ้นมาก ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการผลิตสินค้าจากโรงงาน การทำปศุสัตว์หรือแม้แต่การเกษตรกรรม เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น

คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ เราจะมีส่วนร่วมในการลดปัญหานี้อย่างไร?

net zero

Together to Net Zero 

ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่ากระบวนการในกิจกรรมของมนุษย์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการหลักทำลายชั้นบรรยากาศนำมาซึ่งสภาวะโลกร้อน นำไปสู่การคิดค้นแก้ปัญหาที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.. 2564 หรือ COP 26 มีการวางเป้าหมายที่จะคงรักษาอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซนเซียสโดยการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ซึ่งไทยได้ประกาศเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปีค.ศ. 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีค.ศ.2065

และครั้งนี้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล ได้จัดการประชุมระดับนานาชาติ GC Circular Living Symposium 2022 : Together to Net Zero เพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero

net zero

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันชัดเจนประการหนึ่งว่า เรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อม และ Net Zero เป็นเรื่องที่จะทำเพียงคนเดียวไม่ได้ ดังนั้น GC ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ จะต้องช่วยเหลือ สนับสนุนให้องค์กรขนาดกลางและเล็กมาร่วมมือกัน รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนเป็นฮีโร่ด้วยกัน

เขาย้ำให้เห็นว่า GC เริ่มขยับปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยการนำ GC Circular Living คือ การดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในองค์กร เพื่อมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดห่วงโซ่คุณค่า และชี้ให้เห็นความคืบหน้าที่โดดเด่นที่ทำมาต่อเนื่อง 2 ด้านคือ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการลดขยะพลาสติกซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้มีความเกี่ยวโยงกัน

net zero

ทุกคนเริ่มต้นได้จากความเข้าใจ

สิ่งที่ GC ทำคือแพลตฟอร์ม “YOUเทิร์นด้วยการให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นให้ความรู้ในเรื่องประโยชน์ของพลาสติก ขั้นตอนเก็บ แยกขยะพลาสติก โดยมีระบบโลจิสติกส์ จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการ รีไซเคิล อัพไซเคิล จนกลายเป็นสินค้า ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดเป็น EcoSystem ที่สามารถไปต่อได้อย่างยั่งยืนโดยชาวบ้านชุมชนที่เก็บแยกขยะก็จะมีรายได้มีอาชีพและได้ความภาคภูมิใจขณะที่เอสเอ็มอีธุรกิจเล็กๆก็สามารถร่วมได้หมดยกตัวอย่างที่ชุมชนวัดจากแดงชาวบ้านเก็บพลาสติกนำมารีไซเคิลทำเป็นเส้นใยแล้วส่งต่อให้ชุมชนทอเป็นจีวรสร้างรายได้ให้กับชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมครบวงจร

“ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้จากความเข้าใจ เพียงคัดแยกขยะก็ช่วยได้มากแล้ว ส่วนภาคธุรกิจ ต้องนำกระบวนการผลิตเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน นำวัสดุและวัตถุดิบรีไซเคิลเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขณะที่ GC ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่ต้องลดคาร์บอน ลดปริมาณขยะ และสร้างอีโคซิสเต็ม สนับสนุนการร่วมกันทำ Net Zero ให้สำเร็จ เพราะการทำคนเดียวไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นทุกคนต้องเป็นฮีโร่ร่วมกัน”

GC ได้ตั้งเป้าปี 2030 จะลดการปลดปล่อยลง 20% ปี พร้อมปรับพอร์ตการดำเนินธุรกิจเพื่อลดปริมาณคาร์บอน 25% และปรับปรุงโรงงานโดยใช้นวัตกรรมต่างๆ และใช้เทคโนโลยี CCS เพื่อกักเก็บปริมาณคาร์บอน ตั้งเป้าการเป็น Together to Net Zero ภายในปี 2050

net zero

ภาคธุรกิจต้องเริ่มด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล

ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบและ ผู้ร่วมก่อตั้ง Qualy กล่าวว่า การนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้เป็นความท้าทายของภาคธุรกิจไม่น้อย เริ่มจากแนวคิดเศรษฐกิจหมุเวียน เพื่อลดปริมาณขยะไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ของจากธรรมชาติ และยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มคนที่ดูแลเรื่องรีไซเคิล ทั้งคือทางรอดของทุกคน

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจเองจะต้องเจอกับกฎเกณฑ์และกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Net Zero ถ้าในกระบวนการผลิตไม่มีวัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบ ก็อาจจะไม่สามารถขายสินค้าได้ ผู้บริโภคจะเรียกร้องให้ภาคธุรกิจรับผิดชอบ เรื่องของกำแพงภาษี การกีดกันทางการค้า จะเป็นสิ่งบังคับ ถ้าองค์กรไหนเริ่มต้นก่อน ก็ได้เปรียบ

นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า การจะก้าวไปสู่ Net to Zero ไปเพียงคนเดียวไม่ได้ ไม่สำเร็จ แต่ต้องทำร่วมกัน ทุกคนคือฮีโร่ที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและทำให้โลกดีขึ้นได้

“ในขั้นตอนการนำวัสดุรีไซเคิล ถ้าทำแล้วไม่มีใครใช้ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องนำหลัก User Centric มาใช้ อาศัยการออกแบบเพื่อผลิตสินค้าจากความต้องการของลูกค้า สร้างคุณค่าให้สินค้าจากการเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก”

ธีรชัย กล่าวต่อไปว่า การได้ร่วมมือกับ GC มีการพัฒนาเรื่องนวัตกรรมวัสดุที่เป็นรีไซเคิลออกมาให้เสถียร ซึ่ง GC ได้พัฒนาสูตรต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตแบบแมสเพื่อรองรับความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาโรงงานรีไซเคิล มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ระดับ Food Grade ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีอย่างมากในทางธุรกิจ

net zero

สรุป

ไม่มีใครเป็นฮีโร่แต่เพียงคนเดียว แต่ทุกคนสามารถเป็นฮีโร่ร่วมกันได้ อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่าการนำวัตถุดิบใหม่มาใช้ ซึ่งแบบนั้นก็จะไม่ตอบโจทย์คือการมุ่งสู่ Net Zero ซึ่งหลายคนอาจตั้งคำถามว่า ทำได้จริงหรือ?

จากการร่วมแชร์ประสบการณ์บนเวที GC Circular Living Symposium 2022 : Together to Net Zero แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นไปได้ มีหลักฐานพิสูจน์แล้ว เพราะถ้าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ก็คงไม่เกิดการลงมือทำตั้งแต่แรก

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา