จากกรณี “ขวัญ – อุษามณี” ถึงบทเรียนธุรกิจครอบครัวในปัจจุบัน

14350451_306718989711234_3555532987447640064_n
รูปจาก Instagram kwanusa9

เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใครจริงๆ นะครับ

อย่างล่าสุด ดาราตัวท็อปช่องมากสี ขวัญ – อุษามณี ไวทยานนท์ ก็เจอกับปัญหาเงินๆ ทองๆ เหมือนกัน

อ้างอิงตามข้อมูลของ มติชน http://www.matichon.co.th/news/315367

จะพบว่า ปัจจุบัน ขวัญ ที่อายุใกล้จะ 30 ปี ได้เงินเดือน เดือนละ 40,000 บาท

ในทางกลับกัน ละครช่อง 7 ที่ ขวัญ แสดงสร้างรายได้ถึง 1 แสนบาท/ตอน ออกอีเวนต์ก็ 1 แสนบาท/งาน

ถามว่าหากมีการบริหารจัดการดีกว่านี้ เรื่องแบบนี้คงไม่เกิดขึ้น

เช่น แพนเค้ก – เขมนิจ จามิกรณ์ ก็ใช้แม่เป็นผู้จัดการส่วนตัว แต่ก็ไม่มีข่าวระหองระแหง

business-841174_1280
รูปจาก pixabay.com

ความเห็นส่วนตัว กรณี ขวัญ ก็เปรียบได้กับการทำธุรกิจครอบครัวย่อมๆ

ถ้าทุกอย่างอยู่ในครอบครัว และบริหารอย่างไม่เป็นมืออาชีพ

สุดท้ายธุรกิจนั้นก็ล้มเอาง่ายๆ ถึงจะมีรากฐานแข็งแกร่งมาก่อน

ตัวอย่างที่ดีคือ ธุรกิจที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ทำมาดี แต่พอรุ่นลูกขึ้นมาทำกลับไปไม่ถึงไหน

ยิ่งธุรกิจใหญ่ บางรายจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

การตั้งทายาทขึ้นมาดูแลธุรกิจ

โปรไฟล์ไม่ดี หรือไม่มีประสบการณ์มาก่อน

นักลงทุนคงขาดความเชื่อมั่น

ดังนั้นถ้าจะปิดจุดอ่อนนี้

ถึงเวลาหรือยังที่ธุรกิจครอบครัวจะจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาทำงาน

และดันรุ่นลูกให้ไปศึกษางานให้เรียบร้อยตั้งแต่ 1 – 100 ในบริษัท ก่อนเข้ามานั่งเป็นผู้บริหาร

ส่วนฝั่งผู้ก่อตั้งอาจนั่งเป็นบอร์ดบริหาร เพื่อให้ผู้บริหารมืออาชีพแจ้งอัพเดทในเรื่องต่างๆ แทน

ข้อดีคือ ธุรกิจไม่ล้มง่ายๆ เพราะมีคนเชี่ยวชาญเข้ามาดูแล

และผลประโยชน์ก็ยังเติบโตในครอบครัวอยู่ดี ถึงจะเสียบางส่วนให้กับผู้บริหารที่จ้างมาบ้าง

businesswoman-454874_1280
รูปจาก pixabay.com

ตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ก็เริ่มใช้วิธีนี้บ้างแล้ว

เช่น บมจ.โพสต์ พับลิชชิ่ง ก็ดึง ป๊อก – ภัสสรกรณ์ จิราธิวัฒน์ ลูกชาย สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เข้ามาศึกษาเรื่องดิจิทัล และการจัดอีเวนท์ และก็มีผู้บริหารมืออาชีพคอยบริหารอยู่

บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ให้ ภู – กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ลูกชายของ ศุภชัย เจียรวนนท์ ไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสตาร์ทอัพก่อน เผื่อจะได้ความรู้ใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาธุรกิจ

หรือในอดีต บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ก็มีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพอย่าง เข้ามาทำงาน แทนที่จะเป็นลูกหลานตระกูลชินวัตร (ในสมัยนั้น) เช่น บุญคลี ปลั่งศิริ หรือ สมประสงค์ บุญยะชัย ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้บริหารระดับสูงที่นำมาพาเอไอเอสเจริญก้าวหน้าได้อย่างมาก

แต่ก็มีบางบริษัทเลือกใช้คนครอบครัว เข้ามาดูแล เช่น บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด หรือ บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสต์ จำกัด ในเครือบริษัท วัชรพล เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ซึ่งหากสามารถบริหารงานได้ดี ก็สร้างความเจริญให้กับธุรกิจครอบครัว แต่ถ้าไม่เก่งพอ หรือมือไม่ถึง ก็อยู่ที่กลุ่มบริษัทนั้นๆ พร้อมใช้ผู้บริหารมืออาชีพหรือไม่

ไม่เช่นนั้น สุดท้ายก็คงเหมือนกรณี ขวัญ

เปรียบง่ายๆ ขวัญ ก็เหมือนโปรดักต์เรือธงของบริษัท

แต่มีการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ที่อาจจะไม่มืออาชีพเพียงพอ

ก็มีความเป็นไปได้ที่จะผิดพลาดหรือล้มเหลว

11850287_1487821251513737_1521366032_n
รูปจาก Instagram momkwanusa

มิฉะนั้นจะมีคนอย่าง เอ – ศุภชัย ศรีวิจิตร ผู้จัดการดาราชื่อดังไว้ทำไม

เอ เป็นมืออาชีพ ทำทุกอย่างตั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนส่งไปถึงมือผู้บริโภค

แม้จะหักรายได้จากดาราเป็นค่าบริการจัดการที่โหดไปบ้าง

แต่เรียกว่าเป็นผู้บริหารมืออาชีพ

และใครๆ ก็อยากเป็นเด็กพี่เอกันทั้งนั้น

เนื่องจากไม่ได้วัดว่าเสียประโยชน์ไปเท่าไหร่

แต่เอาชื่อเสียงและผลตอบแทนที่ได้กลับมาเป็นดัชนีชี้วัด

คุ้มไม่คุ้ม ลองไปถาม อั้ม – พัชราภา ไชยเชื้อ ดู

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา