ผลสำรวจสำมะโนประชากรใน Facebook ไม่ตรงกับโลกความเป็นจริง!!

นอกจาก Mark Zuckerberg จะประกาศอย่างชัดเจนว่า Facebook จะลด Reach ของเพจต่างๆ ลง ทำให้เพจทั้งหลายต้องเตรียมใช้เงินเพื่อซื้อโฆษณากันมากขึ้น แต่กระนั้น สำมะโนประชากร หรือ Demographics ใน Facebook จะเชื่อถือได้แค่ไหน

จากข้อมูลของกรมการปกครองพอจะสรุปออกมาเป็นกราฟได้ประมาณนี้ โดยเรียงลำดับตามปีเกิด

คราวนี้ก็นำข้อมูลประการดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับ Facebook Populations เรียงตามอายุตั้งแต่ 13–64 ปี (ปีที่เริ่มอนุญาตให้มีบัญชี Facebook ได้) แล้วนำมาเทียบกับข้อมูลประชากรจริงๆ ของไทยในอายุที่เท่ากัน จากนั้นนำมาพล็อตกราฟ ได้ผลออกมาแบบนี้ครับ

  • สีส้ม — คือกราฟของจำนวนประชากรจริงๆ จากฐานข้อมูลประชากรของกรมการปกครองในแต่ละช่วงวัย
  • สีน้ำเงิน — คือกราฟที่แสดงจำนวนประชากรบน Facebook ในแต่ละช่วงวัย (13-64)

พอจะสรุปได้ว่า Demographics ที่เกิดขึ้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าในช่วงอายุ 20 กว่าๆ จนถึง 30 ต้นๆ ประชากรบน Facebook มีมากกว่าประชากรจริงๆ อยู่ราวๆ 2–3 เท่า ในขณะที่ยิ่งอายุมากขึ้นประชากรจริงๆ ก็จะค่อยๆ มากกว่าประชากรบน Facebook จนเรียกว่าแทบจะสวนทางกัน

ไม่ได้แปลว่าข้อมูล Demographics บน Facebook เชื่อถือไม่ได้ แต่ทำให้เราได้รับรู้ว่าการที่เราสนใจข้อมูลช่วงอายุในการทำการตลาดบน Facebook มันอาจจะได้ไม่ได้ผลตามที่มันควรจะเป็นเสมอไป ไม่ว่าจะมาจากการกรอกข้อมูลอายุผิดๆ เพราะไม่ใช่แอคเคาท์หลัก หรืออาจจะมี fake account ไว้ทำกิจกรรมที่เป็นส่วนตัวหรือเล่นกิจกรรมอื่นๆ

คนทำงาน Social Media ควรทำอย่างไร

1. เข้าใจและระมัดระวังในการใช้ข้อมูล Demographics บน Facebook มากขึ้น ทั้งการใช้เพื่อการวิเคราะห์แฟนเพจ ว่าแฟนเพจของเราคือใครกำลังสื่อสารกับคนกลุ่มไหน เวลาเราเห็นกลุ่มตัวเลข 18–34 เยอะๆ (ซึ่งก็แทบจะทุกเพจ) ให้เราเผื่อใจไว้ก่อนว่ามันอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง อาจต้องการวิธีการทดสอบด้วย Poll ที่ทำขึ้นเอง หรือทดสอบด้วยคอนเทนต์

แต่ส่วนที่ส่งผลกระทบค่อนข้างมากคือการยิงโฆษณา เพราะหากเรากำหนด Ads Audience ด้วย Demographics ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ทำให้ Performance ของ Ads ต่ำลง

2. สนใจ Conversation, Psychographics มากกว่า Demographics เพราะบน Social Media ข้อมูล Conversation, interest ของผู้บริโภคมีประโยชน์มากกว่าข้อมูล Demographics เพราะ แม้ประชากรจะมี Fake Account หรือกรอกอายุไม่ตรงตามความเป็นจริงอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่เค้าแสดงความเห็น แปลว่ามันออกมาจากสิ่งที่เค้าคิดจริงๆ

เช่น เค้าบอกว่าเค้าอยากได้จักรยาน แปลว่าเค้ามีความสนใจจะซื้อจักรยานและเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการขายจักรยาน ไม่ว่าเค้าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม

นอกจากในด้านการทำตลาดบน Social Media แล้ว ยังแอบอยากเห็นงานวิจัยต่อยอดว่าทำไมประชากรบน Facebook ช่วงอายุ 20–30 กว่าๆ ถึงมีมากกว่าประชากรจริงๆ หรือแตกต่างกันขนาดนี้ หากเราได้เห็นผลลัพธ์และสาเหตุตรงนั้น คิดว่าน่าจะเอากลับมาเป็นแบ็คอัพในการแปลความหมายข้อมูลได้เฉียบคมยิ่งขึ้นไปอีก

ภาพจาก ShutterStock

โดยสรุปแล้ว Social Media ก็ยังคงเป็นโลกที่แสนสลับซับซ้อน ดำมืด เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ที่ท้าทายคนทำงานในสายนี้เป็นอย่างยิ่ง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

เรียกสั้นๆ ว่าต่อได้ครับ ตอนนี้ทำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในบริษัทให้บริการข้อมูลบน Social Media แห่งหนึ่ง แต่สนใจความเคลื่อนไหวของธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและสังคม ชอบใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการมากนักจะได้เหมือนเพื่อนมาเล่าให้ฟัง หวังว่าคนอ่านชอบนะครับ, Enjoy Reading!