พนักงานเป็นคน ไม่ใช่เครื่องจักรไร้ชีวิต การบริหาร “คน” ในยุคนี้ต้องให้อิสระกับการทำงาน

รูปแบบการทำงานมีการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตั้งแต่การทำงานตามรูปแบบของสายพานการผลิต หลังปฎิวัติอุตสาหกรรม จนถึงการทำงานในสำนักงานตามยุคสมัยใหม่

แต่ปัญหาของการทำงาน มีอยู่ทุกๆ ยุค ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในยุคไหนๆ ก็ตาม โดยเฉพาะการทำงาน ที่ผู้เป็นหัวหน้า มองพนักงานคนอื่นๆ เป็นเหมือนหุ่นยนต์ไร้ชีวิตทำงานตามคำสั่งไปเรื่อยๆ และไม่มีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง

ความจริงแล้ว จากประวัติศาสตร์การทำงานของคนที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงปี 1930 รูปแบบการทำงานส่วนใหญ่จะมองพนักงานเป็นเครื่องจักร ทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย จนในยุคถัดมาจึงรู้ว่าการทำงานตามคำสั่งไม่ใช่เรื่องดี แต่การทำงานที่ดีพนักงานจะต้องมีส่วนร่วมกับการทำงานด้วย

ยิ่งสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีความผันผวนสูง ทำให้บริษัทต้องหาทางลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ได้มากที่สุด จนกลายเป็นว่า “ความสุขของพนักงาน” หายไป

ภาพโดย Austin Distel จาก Unsplash

พนักงานคือ “คน” ไม่ใช่สินค้าที่ถูกซื้อมาทำงาน

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวน สิ่งที่บริษัทมองหาคือ ความยืดหยุ่นในการจ้างพนักงาน เพื่อปรับตัวกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา ดังนั้นพนักงานจึงถูกมองว่าเป็นสินค้า มากกว่าคนทำงาน สังเกตได้จากปัจจุบันบริษัทหลายแห่งนิยมจ้างพนักงานในรูปแบบพนักงานชั่วคราว และพนักงานสัญญาจ้างมากกว่าการจ้างพนักงานประจำ

แต่ความจริงแล้วการจ้างพนักงานชั่วคราว หรือพนักงานสัญญาจ้าง อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับองค์กรเสมอไป เพราะกลายเป็นว่า พนักงานชั่วคราว หรือพนักงานสัญญาจ้างมักได้รับมอบหมายให้ทำงานสำคัญๆ จนเมื่อถึงวันที่บริษัทอยากปรับลดพนักงานก็ทำไม่ได้ ความยืดหยุ่นที่บริษัทอยากได้จึงไม่มีอยู่จริง

ส่วนในมุมของพนักงานประจำ ก็ได้รับผลกระทบในแง่ลบจากการจ้างพนักงานชั่วคราว หรือพนักงานสัญญาจ้างด้วยเช่นกัน คือ พนักงานประจำจะมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง และลดความภักดีต่อองค์กร

เทคโนโลยี ตัวช่วยที่สร้างความอึดอัดให้คนในองค์กร

เมื่อการพนักงานชั่วคราวไม่ตอบโจทย์ หลายบริษัทจึงหันมามองการใช้เทคโนโลยี ที่ต้องการเข้ามาทดแทนการทำงานของคน โดยหวังลดจำนวนพนักงานลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ทั้ง AI และระบบ Algorithm เข้ามาตัดสินใจสิ่งสำคัญแทนที่พนักงาน

แต่กลายเป็นว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็ไม่ได้ตอบโจทย์อย่างแท้จริงเช่นเดียวกัน เพราะมีต้นทุนจำนวนมาก ที่ยากจะคำนวน ส่วนในมุมของพนักงานเมื่อหน้าที่ความรับผิดชอบในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ไปอยู่ในมือของ AI และ Algorithm แล้ว ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ เพราะความรับผิดชอบของตัวเองหายไป

ตรงกันข้ามกับการทำงานในบริษัทที่ให้อิสระการทำงานมากกว่า ให้พนักงานได้มีสิทธิ์คิด และมีส่วนร่วมกับงานที่ตัวเองทำ ซึ่งพนักงานจะทำงานได้ดีกว่าถ้าพนักงานมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น และไอเดียในการทำงาน

หาจุดสมดุลระหว่าง ความสุขของพนักงาน และประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าไม่มีรูปแบบการทำงานใด ที่มีแต่ข้อดีไม่มีข้อเสีย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบให้อิสระกับพนักงาน ใช้พนักงานชั่วคราว พนักงานสัญญาจ้าง หรือจะใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานสำคัญๆ แทน เพราะแน่นอนว่า หากบริษัทได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว แต่พนักงานก็จะไม่มีความสุขกับการทำงาน สุดท้ายแล้วก็จะไม่สามารถรักษาพนักงานดีๆ ที่ทำงานให้กับบริษัทไว้ได้

การหาจุดสมดุลจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อรักษาทั้งผลประโยชน์ของบริษัท ที่อยากได้งานที่มีประสิทธิภาพ และพนักงานที่อยากได้ความสุขจากการทำงาน หน้าที่นี้จึงกลายเป็นของผู้ที่มีหน้าที่จัดการทรัพยากรบุคคลภายในบริษัท ที่ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ เพราะสุดท้ายแล้วความสุขในการทำงาน จะกลายเป็นผลลัพธ์ที่สร้างประสิทธิภาพการทำงานที่ดี

ประสิทธิภาพ และความสุข หาจุดสมดุล ไม่ใช่เรื่องง่าย

แน่นอนว่าการหาความสมดุลให้กับทั้งบริษัท และพนักงานไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ที่มีหน้าที่จัดการทรัพยากรบุคคลจึงต้องรู้จักวิธี ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานภายในองค์กร เพื่อดึงศักยภาพของพนักงานออกมาให้มากที่สุด

แต่ถ้าอยากรู้ว่าจะมีวิธีในการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร สามารถมาหาคำตอบกันได้ที่งาน Brand Inside Forum 2020: New Workforce “ทิศทางการทำงานในอนาคต ตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชั่น” ที่กำลังจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ที่สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์ ซึ่งจะมีอีกหลากหลายวิธีการบริหารจัดการองค์กร และทรัพยากรบุคคล จากผู้เชี่ยวชาญด้านงาน HR ขององค์กรชั้นนำหลายแห่ง

สามารถซื้อบัตรผ่าน Event Pop ได้ที่ >> http://go.eventpop.me/Brandinsideforum2020 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล: forum@brandinside.asia

ที่มา – HBR

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา