ตอนนี้วิกฤติของประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) อย่างตุรกี อาร์เจนตินา รวมถึงล่าสุดอินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบจนค่าเงินในประเทศอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่เป็นขาขึ้น การเมือง และสงครามการค้า (Trade War)
แน่นอนว่านักลงทุนจะเริมกังวลถึงความแข็งแกร่งของประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม Emerging Markets ว่าเศรษฐกิจจะเปราะบางหรือไม่ และเขาควรจะถอนเงินลงทุนออกจากประเทศเหล่านี้หรือไม่ วันนี้ Brand Inside รวบรวม 5 ประเทศหลักใน Emerging Markets ที่ได้รับผลกระทบขากความเชื่อมั่นของนักลงทุนมาให้ดูกัน
1.ตุรกี
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงิน Lira ของตุรกีอ่อนค่ากว่า 40% เพราะนักลงทุนกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมือง และความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันคนเห็นผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินในสกุลต่างประเทศของธุรกิจต่างๆ มีมูลหนี้สูงขึ้น
ด้าน Jason Tuvey นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Capital Economics มองว่า ความตำต่ำของค่าเงิน Lira จะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนตุรกี ซึ่งจะส่งผลต่อความเช่ือมั่นทางธุรกิจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งความเห็นจากหลายฝ่ายมองว่าเศรษฐกิจของตุรกีกำลังเข้าสู่ภาวะตกต่ำเป็นระยะยาว
2. อาร์เจนตินา
ตั้งแต่เดือนม.ค. 2561 ที่ผ่านมาค่าเงิน Peso ของอาร์เจนตินา อ่อนค่าลงประมาณครึ่งหนึ่ง (50%) เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา (27-31 ส.ค.) ค่าเงิน Peso ก็อ่อนค่าลงไปอีก ทำให้ทางรัฐบาลของอาร์เจนตินาทำเรื่องขอไปที่ The International Monetary Fund เร่งชำระหนี้ให้ในมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนก่อนหน้านั้นวันพฤหัสบดี (30 ส.ค.) ธนาคารกลางอาร์เจนตินาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็น 60% จากเดิมที่อยู่ระดับ 45% ซึ่งพยายามกระตุ้นให้นักลงทุนสนใจและกลับมาลงทุนในประเทศ เพื่อดึงให้ค่าเงิน Peso แข็งค่าขึ้น หลานนักวิเคราะห์มองว่าอัตราดอกเบี้ยนี้จะคงอยู่ไปถึงเดือนธ.ค.ปีนี้ และน่าจะปรับลดในกลางปีหน้า
อย่างไรก็ตามจุดที่ทำให้หนี้ของอาร์เจนตินามีมากเพราะ จากข้อมูลของ Moody’s หนี้รัฐบาลอาร์เจนตินากว่า 70% เป็นเงินตราต่างประเทศ
3. อินเดีย
ประเทศอินเดียเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจที่มีการเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาค่าเงิน Rupee ของอินเดียอ่อนค่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าอ่อนค่าที่สุดในประวัติการณ์ โดยปัจจัยที่จะกระทบกับค่าเงิน อีกคือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงสงครามการค้าระหว่างหลายประเทศ
ในมุมของเศรษฐกิจอินเดียแม้จะยังไม่เห็นสัญญาณความอ่อนแอ แต่การที่ประเทศต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงาน ก็ทำให้มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะตอนนี้ราคาน้ำมันอยู่ในเทรนด์ขาขึ้น ย่อมจะส่งผลกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคต
4. บราซิล
สำหรับบราซิล ตั้งแต่ต้นปีค่าเงินของบราซิลก็อ่อนค่าลง 20% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน คือ การเมือง จากต้นปีที่มีการประท้วงทั่วประเทศ และนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของบราซิล (ในเดือน ต.ค.) โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จะกำหนดทิศทางนโยบายต่างๆ
ส่วนในด้านการเงินธนาคารกลางของบราซิล ยังมีกระสุนสำหรับการดูแลเรื่องค่าเงิน เพราะทุนสำรองระหว่างประเทศในการรองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5. รัสเซีย
ฝั่งหมีขาวก็ไม่น้อยหน้า 2-3 เดือนที่ผ่านมาค่าเงิน Ruble อ่อนค่าลง 15% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลักๆ เพราะรัสเซียเจอการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (ปัญหาเรื่องความขัดแย้งในยูเครน) รวมถึงรัสเซียได้รับผลกระทบจากภาษีเหล็ก และอลูมิเนียมของสหรัฐฯ
และไม่ว่าอย่างไร ความกังวลของนักลงทุนโฟกัสไปที่มาตรการคว่ำบาตรของประเทศอื่นๆ ต่อรัสเซีย รวมถึงหลายคนจับตามองมาตรการของธนาคารกลางรัสเซีย และสุดท้ายยังมีมุมมองที่ดีว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นจะช่วยชดเชยค่าเงิน Ruble ที่อ่อนลงได้
ที่มา CNNMoney
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา