SCB Economic Intelligence Center เผยบทวิเคราะห์ GDP ไทยไตรมาส 3 หดตัวน้อยกว่าคาด ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด โดยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 หดตัวน้อยลงที่ -6.4% YOY หลังจากหดตัวสูงถึง -12.1% ในไตรมาส 2 ปี 2020 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังมีมาตรการผ่อนคลายการปิดเมือง และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาทั้งช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2020
เศรษฐกิจไทยมีการหดตัวน้อยลงทุกภาคส่วน ยกเว้นด้านที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังหดตัวสูง และยังได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาครัฐ
เศรษฐกิจไทยด้านการใช้จ่าย หดตัวในอัตราน้อยลงในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจ ยกเว้นการนำเข้าและส่งออกด้านบริการที่ยังหดตัวสูง ขณะที่การบริโภคและลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงหดตัวอยู่ที่ -23.5%YOY ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน
การส่งออกยังหดตัวในหลายอุตสาหกรรมสำคัญโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มยานพาหนะและชิ้นส่วนและเครื่องจักรกล การส่งออกภาคบริการหรือการท่องเที่ยวหดตัวสูงเร่งขึ้น -73.3%YOY หลังจากหดตัว -68.0%YOY จากการที่ไทยและหลายประเทศยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยว ไตรมาส 3 นักท่องเที่ยวหดตัว -100%YOY
มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงหดตัวน้อยลง การนำเข้าบริการหดตัวสูง -32.8%YOY จากการที่ไทยยังไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ การใช้จ่ายเพื่อบริโภคภาคเอกชนหดตัวชะลอลงที่ 0.6%YOY เป็นผลจาการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง การลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลงที่ -10.7%YOY เป็นผลจากการหดตัวของการลงทุนด้นเครื่องจักรเครื่องือ การบริโภคและกรลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาส 2 จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณหลังได้รับการอนุมัติ
ด้านการผลิตเกือบทุกสาขาการผลิตสำคัญหดตัวน้อยลง หมวดการก่อสร้าง การสื่อสาร และการเงินมีกาารขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ในอัตราที่ชะลอลง -0.9%YOY ตามการลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวชะลอลงที่ -5.3%YOY เป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรมตามอุปสงค์ในไทยที่เริ่มฟื้นตัว
การขายส่งและขายปลีกหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ -5.5%YOY การผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง ทำให้การผลิตสินค้าในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว สาขาที่พักแรมและอาหารหัวตัวชะลอลงที่ -39.6%YOY ก่อนหน้าหดตัวที่ -50.2% ปรับตัวดีขึ้นจากนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก
การขนส่งและจัดเก็บสินค้าหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ -23.6%YOY ตามปริมาณการขนส่งผู้โดยสารที่ลดลงจากการปิดน่านฟ้าและพรมแดน การผลิตในบางสาขาขยายตัวต่อเนื่อง อาทิ การก่อสร้าง ขยายตัวสูงเร่งขึ้นที่ 10.5%YOY
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ของปี 2020 หดตัวน้อยลงหลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง การใช้จ่ายเอกชนไม่รวมนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาขยายตัวถึง 3.8% YOY สะท้อนอุปสงค์ในประเทศเริ่มมีการฟื้นตัว ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อาทิ โครงการกำลังใจ เราเที่ยวด้วยกัน การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและการลงทุนภาครัฐขยายตัวสูงจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2020 แต่ภาคการท่องเที่ยวยังซบเซาจากการที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวสูง
เศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนฐานต่ำในปี 2019 มีการจัดทำงบประมาณล่าช้า ทำให้คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาครัฐจะยังขยายตัวในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยวยังซบเซาต่อเนื่อง แม้จะมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบ long stay แล้ว แต่เป็เป็นเพียงส่วนน้อย
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 หดตัวน้อยกว่าที่ EIC เคยคาด สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าที่เคยคาดไว้เล็กน้อย โดยเฉพาะส่งออกและการบริโภคภาคเอกชน ทำให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2020 มีโอกาสหดตัวน้อยกว่าที่เคยคาดที่ -7.8%
ปี 2021 คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ เป็นผลจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจ การค้นพบวัคซีนประสิทธิภาพสูงอาจทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสูงกว่าที่เคยคาดไว้ 3.5% การปิดกิจการยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบาง สะท้อนจากตัวเลขอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมที่ลดลงมากตามจำนวนงานเต็มเวลา งานโอทีที่หายไปบางส่วนกลายเป็นงานต่ำระดับ (underemployment) รวมถึงมีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวจำนวนมาก (furloughed worked) อีกจำนวนมาก
ส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวของรายได้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ประกอบกับภาระหนี้จากวิกฤตโควิด-19 ช่วงก่อนหน้า ทำให้ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมีแนวโน้มใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น ส่งผลทำให้การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงุทนภาคเอกชนเป็นไปอย่างช้าๆ ช่วงปีหน้า
ที่มา – EIC
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา