เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บางประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื้อหอมมากจากการลงทุนภายในและการส่งออก บางประเทศเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือที่เราเรียกกันว่า Economic Recession บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับเรื่องนี้กัน รวมถึงมองย้อนกลับไปว่าโลกนี้เคยเผชิญกับภาวะนี้มาแล้วอย่างไรบ้าง
Economic Recession คืออะไร
เป็นระยะที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว เแนวโน้มการลงทุนอยู่ในขาลง ซึ่งมักจะใช้ GDP เป็นตัววัดโดยหากเมื่อไหร่ที่ GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ใช้เชิงเทคนิคแล้วจะถือว่าเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
การเกิด Economic Recession เกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายภายในประเทศลดลง อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น การลงทุนในประเทศจากนักลงทุนลดลง ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนั้นล้วนมีผลต่อ GDP ของประเทศและนำมาสู่กับการเกิด Economic Recession ในที่สุด
ในช่วงปีต้นปี 2566 IMF มีการประกาศออกมาว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจทั่วโลกนั้นกำลังจะเข้าสู่ภาพวะ Recession ซึ่งครั้งนี้จะหนักหนามากขึ้น รวมถึงผลกระทบจากการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่ส่งผลต่อ Supply-Chain ของโลกอยู่ไม่น้อย
แน่นอนว่าเมื่อเกิดภาวะนี้ รัฐบาลต้องมีแผนในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อทำให้ GDP กลับมาสูงขึ้นและฟื้นตัวจากภาวะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบายทางการเงินเพื่อจูงใจประชาชนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในประเทศให้มาขึ้น จัดเก็บภาษีบางประเภทให้น้อยลง เป็นต้น
การฟื้นตัวหลังจากเกิด Economic Recession
หลังจากเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วนั้นโอกาสที่จะเกิดการฟื้นตัวมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน ซึ่งจะถูกอธิบายในรูปแบบของ Shape หรือรูปร่างของกราฟที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
-
V-Shaped
นี่คือรูปแบบการฟื้นตัวที่ทุกประเทศคาดหวัง เพราะ V-Shape นั้นฟื้นตัวจากขาลงสู่ขาขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมากจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ตรงจุด แก้ปัญหาทุกระดับอย่างทันที ทำให้ใช้เวลาไม่นานเศรษฐกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด
-
U-Shaped
การฟื้นตัวที่คล้ายกับ V-Shaped แต่ใช้ระยะเวลาที่นานกว่า เนื่องมาจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่อาจจะยังไม่ตรงจุด หรือยังต้องรอคอยปัจจัยอื่นๆ ในการฟื้นตัว
-
W-Shaped
รูปแบบการฟื้นตัวนี้เกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลอย่างดีแต่ก็หดตัวอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย การเกิดโรคระบาดครั้งใหม่ที่คาดการณ์ไม่ได้
-
L-Shaped
จากรูปร่างของตัว L นั้นบ่งบอกได้ถึงการหดตัวของเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวที่ช้ามาก กินเวลานาน ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก นี่จึงเป็นรูปแบบการฟื้นตัวที่หลายประเทศไม่ต้องการให้เกิดขึ้น บางครั้งกินเวลายาวนานถึง 10 ปีเลยทีเดียว
-
K-Shaped
การฟื้นตัวในลักษณะนี้สังเกตได้ว่าจะมีเส้นการฟื้นตัวอยู่สองเส้น เส้นหนึ่งค่อยๆ ปรับตัวขึ้นสูง อีกเส้นหนึ่งปรับตัวลดลง เป็นลักษณะของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศที่หลายอุตสาหกรรมมีการฟื้นตัวที่ไม่เท่ากัน
ตัวอย่างการเกิด Economic Recession ในอดีต
Great Depression ช่วงปี 1930
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง ทหารที่ปลดประจำการต้องหางานทำทำให้เกิดแรงงานในภาคเกษตรกรรมพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาพืชผลตกต่ำ ค่าแรงตกตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดการปล่อยกู้เงินเป็นจำนวนมากและนำมาซึ่งการเกิดฟองสบู่แตกในที่สุด
The International Debt Crisis ช่วงปี 1980
สาเหตุการเกิด Recession นี้เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้น เงินเฟ้อพุ่งอย่างก้าวกระโด หลายประเทศในแถบละตินอเมริกามีการกู้เงินจากสหรัฐเนื่องจากดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ จากนั้นหลายประเทศเกิดขาดดุลทางบัญชีส่งผลให้ขาดความสามารถในการใช้หนี้กันเป็นทอดๆ
วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 1997
วิกฤตินี้เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการเงินทำให้สามารถหาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศได้ง่ายขึ้น เมื่อเกิดการกู้เงินจากต่างประเทศที่มีดอกเบี้ยน้อยกว่าการกู้เงินในประเทศหลายภาคส่วนจึงมีการกู้มาเพื่อลงทุนมากมาย ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือวงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีโปรเจคใหญ่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และสุดท้ายเกิดเป็นภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดอาคาร ตึก เมก้าโปรเจคขนาดใหย่ที่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ และวิกฤตินี้ก็ได้ขยายตัวออกไปเป็นระดับเอเชียในที่สุด
วิกฤติซับไพร์ม ปี 2008
วิกฤติทางเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดจากภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาฯของสหรัฐอเมริกา การเก็งกำไรอสังหาฯ การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยที่มากเกิน ทำให้เกิดการผิดนัดชำระของสินเชื่อประเภทซับไพร์มและสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ส่งผลให้กิดปัญหากับภาคการเงินของสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างหนัก อัตราการว่างงานสูงถึง 10%
วิกฤติโควิด-19 ปี 2020
สาเหตุเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกที่ประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น จากนั้นก็เกิดการระบาดระดับ Pandemic ไปทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการหยุดชะงัก หลายกลุ่มธุรกิจเกิดการล้มละลายเนื่องจากประชาชนถูกคำสั่งล็อคดาวน์ห้ามออกจากเคหะสถาน การจับจ่ายใช้สอยจึงลดต่ำลงทันที
Recession กับผลกระทบต่อนักลงทุน
แน่นอนว่าการที่เศรษฐกิจในประเทศไม่เติบโตย่อมส่งผลโดยตรงกับนักลงทุนและตลาดหลักทรัพย์ การค้าขายไม่สู่ดี เงินในมือประชาชนก็น้อยลง การว่างงานมากขึ้น คนตกงานมากตามไปด้วย นักลงทุนจึงต้องอาศัยข้อมูลในการลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม ปรับเปลี่ยนมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ลดความเสี่ยงลงมาจากเดิม
Source: bot.or.th, Money Buffalo, longtunman.com, FINNOMENA, beartai
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา