ภาคการส่งออกไทยเป็นกำลังหลักของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ที่เติบโตรวดเร็วในไทยช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ญี่ปุ่นย้ายฐานมาผลิตในไทย เสริมด้วยนโยบายรถคันแรก แต่หลังโควิด อุตสาหกรรมกลับฟื้นตัวได้ช้า ยอดขายหดตัว
อุตสาหกรรมยานยนต์เรียกได้ว่าเติบโตพุ่งสูง ในช่วงนโยบายรถคันแรก ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 1.3-1.4 ล้านคันต่อปี ในปี 2011-2012 ต่อมาเมื่อมีผลสะท้อนของการปลดล็อกเงื่อนไขนโยบายรถคันแรก ยอดขายก็ขึ้นไปแตะ 1.1 ล้านตันต่อปีอีกในปี 2017-2019 เทียบกับปีก่อนหน้านั้นที่ขายได้ 7.8 แสนคัน
แต่หลังจากช่วงโควิดที่เกิดปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน ตลาดรถยนต์กลับฟื้นตัวได้ช้า จนมาถึงครึ่งแรกของปีนี้ ยอดขาย 5 เดือนแรกกลับหดตัวอย่างหนักที่ 23.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ttb analytics ได้วิเคราะห์ว่าปี 2024 นี้มีแนวโน้มที่ยอดขายรถยนต์ในไทยจะหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี และอาจไม่สามารถกลับเข้าสู่ระดับเดิมกับช่วงก่อนโควิด-19 ได้
ttb analytics ให้ข้อมูลว่า การชะลอตัวขอความต้องการซื้อรถยนต์มาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ
ตลาดรถยนต์ในประเทศอิ่มตัว ตอนนี้ประเทศไทยมีรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนนทั่วประเทศเกือบ 20 ล้านคัน ตัวเลขรถยนต์นำหน้าเพื่อนบ้านไปไกล เพราะหากเทียบประชากร 1,000 คนและคนไทยยังใช้รถยนต์ค่อนข้างนาน เฉลี่ย 12 ปี เทียบกับประเทศอื่นที่ใช้อยู่ประมาณ 6–8 ปี ทำให้คนไทยไม่ค่อยซื้อรถยนต์ใหม่เพื่อมาแทนรถยนต์คันเก่า
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การที่รถยนต์ไฟฟ้าของจีนบุกตลาดยานยนต์ ทำให้บรรดาบริษัทรถยนต์ตั้งราคากันต่ำลงจากเดิม ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น บางคนยังเลื่อนการซื้อรถยนต์ออกไปก่อนจนกว่าจะเจอราคาที่ถูกใจ รวมทั้งคนรุ่นใหม่ยังนิยมเช่ารถยนต์มากกว่าซื้อเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตและลดภาระค่าใช้จ่าย
แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง รถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ ไปจนถึง ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการค้าโลกช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น การส่งออกของไทยยังมีจุดอ่อนด้านไหนและต้องปรับโครงสร้างอย่างไร เพื่อยังเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทย
นอกจากนี้ข้อมูลของ KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ยังมองไปทางทิศทางเดียวกันว่า ภาคส่งออกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมากว่า 30 ปีกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะจากข้อมูลสินค้าส่งออกสำคัญของไทยเริ่มแสดงถึงปัญหาของภาคส่งออกที่กำลังอ่อนแรงใน 3 ประเด็น คือ
- ไทยเป็นฐานการผลิตของสินค้าโลกเก่า ตลาดโลกต้องการสินค้าไทยลดลง จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด ในขณะที่ไทยยังไม่สามารถดึงดูดและพัฒนาเทคโนโลยีของสินค้าที่เข้ามาทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์สันดาปและชิ้นส่วนยานยนต์ ที่กำลังถูกตีตลาดจากรถยนต์ไฟฟ้า, Hard Disk Drive (HDD) ที่กำลังถูกแทนที่ด้วย Solid State Drive (SSD) รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ความต้องการตลาดโลกลดลงตามกระแสเศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้น
- ไทยไม่มีสินค้าดาวรุ่งในโลกใหม่ สินค้าที่กำลังเติบโตได้ดีและเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในตลาดโลกตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ Smart phone, semiconductor, และ SSD ไทยกลับมีส่วนแบ่งตลาดลดลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
สวนทางกับข้อมูลของ อีเบย์ (eBay) ที่ระบุว่า “อะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ของไทย เติบโตอย่างต่อเนื่อง”
โดยข้อมูลจาก eBay ที่เผยแพร่ภายในงาน Exporter of the Year 2024 ซึ่งเป็นงานมอบรางวัลให้ผู้ขายชั้นนำจากทุกตลาดทั่วโลก ระบุว่า ในปีนี้ มีผู้ขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายรายที่ประสบความสำเร็จสามารถติดอันดับในกลุ่มท็อป 100 ผู้ขายดีเด่น เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดโลกยังมีความต้องการสินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับสูง ซึ่งในบรรดาผู้ได้รับรางวัลทั้ง 24 ราย มี 6 รายเป็นผู้ขายจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ที่ทำผลงานได้โดดเด่นในหมวดที่มีการแข่งขันสูงอย่างอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่ง นาฬิกา และการ์ดเกม
โดยสินค้าเหล่านี้เป็นที่นิยมในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร แคนาดา และเยอรมนี
นาย อรรถกร อนุพงศ์กุลจากร้าน จากร้าน AMC Autoworld ซึ่งเป็นผู้ขายดีเด่น (Top Performer) จากประเทศไทย เปิดเผยว่า การส่งออกขายอะไหล่และของตกแต่งรถยตน์มีมูลค่าสูงถึง 15,000 ดอลลาร์ต่อชิ้น
ซึ่งข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า สาเหตุที่อะไหล่รถยนต์ส่งออกดี เนื่องจากผู้บริโภคหันมาใช้รถยนต์เก่ามากขึ้น ซึ่งจากสถิติมูลค่าการส่งออกอะไหล่รถยนต์รายงานโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่ามีการขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอะไหล่สำหรับรถยนต์นั่ง รวมถึงรถบัสและรถบรรทุก
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา