วันเดียว เเผ่นดินไหว เกือบ 30 ครั้ง นอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจากเกาะภูเก็ต 500 กม.ทุ่นเตือนวัดคลื่นสึนามิไม่ทำงาน

ข้อมูลจาก ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน) เเจ้งข้อมูลเกิดแผ่นดินไหว(ล่าสุด 05/07/2022@14:48) ขนาด 4.8 ที่ความลึก 87 กิโลเมตร นอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 570 กิโลเมตร รอบที่ 29

 

 

ทีมงาน Brand inside ตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์  https://www.ndbc.noaa.gov/ (องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา) พบว่า สัญญาณการรับแจ้งเตือนของทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน สถานี 23461 ซึ่งเป็นจุดที่ติดตั้งใกล้ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต  ไม่พบสัญญาณของการทำงานที่หน้าจอ

โดยทางทีมงานได้สอบถามไปยังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ถึงประเด็นที่ทุ่นเตือนวัดคลื่นสึนามิไม่ทำงาน ได้เปิดเผยว่า ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เก็บกู้ทุ่นเตือนวัดคลื่นสึนามิ สถานี 23461 เข้ามาซ่อมเเซมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่าน เนื่องจากระบบใช้การไม่ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการซ่อมเเซม เเล้วเสร็จเเละจะนำไปติดตั้งเดือนพฤศจิกายน นี้  เเต่ยังมีอีกหนึ่งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย สถานี 23401 ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทาง 965 กิโลเมตร

สถานี 23461 ระบบไม่ทำงาน

ส่วนประเด็นที่มีการรายงานเรื่องเเผ่นดินไหว นอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจากเกาะภูเก็ต 400 กิโลเมตร ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้รับรายงานการเเจ้งเตือนเเผ่นดินไหว ขนาด 4-5 ที่ความลึก 10-80 กิโลเมตร เเต่ไม่มีผลต่อฝ่าย 5โดยเฉพาะ 5 จังหวัดที่ติดฝั่งทะเลอันมามัน

ทางเพจ ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน) ระบุว่า  ทุกๆครั้งที่มีข่าวแผ่นดินไหวในทะเล ก็จะมีคำว่า สึนามิเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครั้งนี้ที่มีการบันทึกความสั่นสะเทือนตั้งแต่ระดับ 4.0 ขึ้นไป รวมได้ 28 ครั้ง (5/7/2022@13.30)

แน่นอนว่าสึนามิทุกครั้งเกิดในทะเล แต่ไม่ใช่จะเกิดทุกครั้งหลังแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิได้นั้น จะต้องประกอบด้วย 3 ประการคือ 1.) ความรุนแรงระดับ 6.5 ขึ้นไป* 2.) เกิดจากการงัด/มุดของแผ่นเปลือกโลก 3.) ความลึกสู่ผิวน้ำ

ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณนอกชายฝั่งนิโคบาร์ช่วงสองวันนี้ (4-5 ก.ค. 2565) เป็นการเกิดในช่วงความรุนแรงที่ 4.0-5.6 ในโซนแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบแนวระนาบ และความลึกที่ 10-250+ กม.

ดังนั้น สรุปได้ว่าแผ่นดินไหวชุดนี้ไม่อาจก่อให้เกิดสึนามิได้ แม้จะมีการเชื่อมโยงถึงแรงลมและระดับน้ำที่ท่วมล้นหาดทรายแก้วก็ตาม ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์ที่บังเอิญมาพร้อมกัน ถ้าเป็นน้ำที่มาจากสึนามิจริง ก่อนน้ำล้นจะต้องลดก่อน

สึนามิ (เกือบ) ทุกครั้งเกิดจากแผ่นดินไหว แต่แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่เกิดสึนามิ”

อ้างอิง ภาพข้อมูล ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา