[บทความโดย มาโนช พฤฒิสถาพร – บทความเป็นความคิดเห็น ส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการ Brand Inside]
ข่าวใหญ่ในอาทิตย์นี้คือ KBank และ SCB ประกาศโอนเงินและจ่ายบิลฟรีไม่ เสียค่าธรรมเนียมอีกต่อไป
ถ้ามองดูคร่าวๆเหมือนทั้ งสองแบงก์จะเสียรายได้จากค่ าธรรมเนียมซึ่งน่าจะเป็นหลักพั นล้านบาทหรืออาจจะหมื่นล้ านบาทสำหรับรายได้จากค่าธรรมเนี ยมในส่วนนี้ ดูเหมือนเยอะแต่ก็ ไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับรายได้ รวมหลายแสนล้านบาท
ภาพจาก Shutterstock
ที่ได้กลับมาคือ สามารถลดจำนวนสาขา ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ และยังได้ข้อมูลการใช้งานจริ งของผู้ใช้ ช่วยให้ธนาคารเข้าใจผู้ใช้ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ เหมาะสม
และที่น่าจะคุ้มค่าที่สุดสำหรั บแบงก์ทั้งสองคือ การปิดประตูไม่ให้ e-wallet app เจ้าอื่นๆและเจ้าใหม่ ให้มาแย่งผู้ใช้ได้
E-wallet คืออะไร
E-wallet app คือ app ที่ใช้เป็นกระเป๋าเงินออนไลน์ ไว้ซื้อสินค้าออนไลน์ ไว้โอนเงินให้เพื่อน ไว้ชำระค่าบริการต่างๆ นอกจาก app ธนาคารแล้ว ก็จะมี TrueMoney, Rabbit Line Pay และ Airpay ของ Garena ที่เป็นผู้เล่นสำคัญมีผู้ใช้เกิ นล้านคน
การใช้งาน TrueMoney
ถามว่าทำไม app พวกนี้ถึงสำคัญนักทั้งที่ผู้ให้ บริการก็แทบเก็บค่าธรรมเนี ยมอะไรก็ได้
เหตุผลคือเป็น app ที่ผู้ใช้ใช้บ่อยมากรองจาก chat และ social media ที่สำคัญคือเป็นข้อมูลการใช้เงิ น รู้ว่าเราจ่ายเงินซื้ออะไร ซื้อร้านไหนซึ่งเป็นประโยชน์กว่าการรู้ว่ าเรากด Like เพจไหนบน Facebook ธนาคารสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ นำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินที่ เหมาะสมกับเรา หรือแม้แต่เอามาใช้เป็นส่วนหนึ่ งในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ เพิ่มเติมหรือใช้แทนหลั กฐานการอนุมัติสินเชื่อทั่วไป
wallet app ที่ไม่ใช่ของธนาคาร ประสบความสำเร็จมากในเมืองนอก เช่น Venmo เป็น app ที่คนอเมริกาใช้โอนเงินให้กั นมากที่สุด ในเมืองจีนคือ Alipay และ Wechatpay
ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้แบงก์ ในไทยตื่นตัวไม่อยากเป็นเหมื อนแบงก์ในจีนและอเมริกา ที่แพ้ฟินเทคไป
ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไม่ใช้ app ธนาคารทั้งที่มีเงินอยู่ในนั้น แต่กลับใช้ e-wallet app คือ
โอนเงินข้ามแบงก์เสียค่าธรรมเนี ยม
App ธนาคารแย่ ไม่น่าใช้งาน
ไม่มีบัญชีธนาคาร
การบังคับจ่ายด้วยบัตรเครดิตบน App Store และผู้ใช้ไม่มีบัตรเครดิต
บาง App โดยเฉพาะเกม กำหนดให้ผู้ใช้ต้องสมัคร
รายได้หลักถูกโอนเข้าบัญชี e-wallet โดยตรง
E-wallet เชื่อมต่อกับช่องทาง saving และ investment ที่ผู้ใช้ชอบ
App เช่น Wechat ที่กลายเป็น App ที่ App อื่นไปสร้างบริการไว้หมด ผู้ใช้สามารถทำทุกอย่างทั้งเรี ยก taxi สั่ง food delivery จองตั๋วหนังได้บน app เดียว
Venmo กลายเป็น app อันดับหนึ่งที่คนอเมริกาใช้ โอนเงินเพราะข้อ 1 และ 2 ทำให้ผู้ใช้โอนเงินให้เพื่ อนไม่เสียค่าธรรมเนียมและตัว App ทำออกมาดีมาก
Wechat Pay เริ่มจากข้อ5 คือเป็นที่เติมเงินเล่นเกม และเ ติบโตสุดขีดด้วยข้อ 1 3 และ 8 โอนเงินหากันฟรีบน Wechat ที่คนจีนใช้กันทุกคนทุกวัน และเมื่อ Wechat กลายเป็น app ที่คนจีนใช้ทำทุกอย่าง จะจองโรงแรม จะสั่งอาหาร จะเช่าจักรยาน Wechatpay ได้ทำให้การทำธุรกรรมจ่ายเงินทุ กอย่างบน Wechat ง่ายและสะดวกสบายไร้รอยต่อ
Alipay เริ่มจากข้อ 6 สำหรับทั้งผู้ขายและผู้ซื้ อบนเว็บในเครือ Alibaba ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ซื้อและผู้ ขายไม่ไว้ใจกันในช่วงแรกของecommerce ทำให้ Alibaba ต้องสร้าง Alipay ขึ้นเพื่อใช้เป็นระบบจ่ายเงินที่ เงินของผู้ซื้อจะถูกเก็บไว้ ในระบบก่อน รอจนผู้ซื้อคอนเฟิร์มสินค้าแล้วจึงโอนให้ผู้ขาย ด้วยความยิ่งใหญ่ของ Alibaba ฝั่ง ecommerce ทำให้คนใช้ Alipay เป็นจำนวนมาก และ Alibaba ก็ต่อยอดด้วยข้อ 7สร้าง Alipay เป็น Ant Financial ที่ผู้ใช้สามารถซื้อกองทุน ซื้อประกันได้ โดยไม่ต้องมีขั้นต่ำ
ขณะที่ในเมืองไทย TrueMoney ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากก่ อนหน้านี้ด้วยข้อ 3 4 5 นั่นคือ TrueMoney มีผู้ใช้กลุ่มแรกคือกลุ่มเล่ นเกมและขยายไปยังวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ที่ ยังไม่มีบัญชีธนาคารและบั ตรเครดิต แต่อยากซื้อ sticker Line และซื้อเพลงบน itune
ขณะที่ Rabbit Line Pay เกิดจากบัตร BTS ซึ่งเป็นสิ่งที่คนกทมนับล้านที่ ขึ้น BTS ต้องใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ส่วน Airpay นั้นเกิดจากเกม
ใครจะเป็นผู้ชนะในตลาดนี้?
ที่จีนและอเมริกาแล้วว่า app ธนาคารก็ยังมีคนใช้อยู่ เพราะเงินเดือนยังเข้าบัญชี ธนาคาร แต่คนไม่ได้ใช้เป็น app หลัก
ด้วย network effect ของ e-wallet app ที่ความน่าใช้จะเพิ่มขึ้นเมื่ อมีคนใช้ app นี้มากขึ้น เมื่อมีคนใช้มากขึ้น ร้านค้าและบริการต่างๆก็อยากเป็ นพันธมิตรด้วย ทำให้เมื่อตลาดพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ ง จะมีผู้ชนะเพียงไม่กี่ราย
ในเมืองไทยนั้นต้องยอมรับว่า KBank และ SCB ปรับตัวได้เร็วมาก พัฒนา app ได้โอเค ไม่แย่ ถึงจะมีผู้ใช้บ่นอยู่ไม่น้อย ทำการตลาดได้ผู้ใช้ไปอย่ างรวดเร็ว และปิดจุดอ่อนไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าธรรมเนียม
ด้วยฐานผู้ใช้ App กว่า 5 ล้านคนของ SCB และ 8 ล้านคนของ KBank ทำให้เป็นเรื่องยากมากที่ App อื่นจะสร้างสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้ รู้สึกว่าใช้App นั้นแล้ว ดีกว่า สะดวกกว่า หรือประหยัดกว่า อย่างชัดเจน สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่มีบัญชี ธนาคาร
การจะเกิดกรณีอย่าง Alipay ที่เกิดจากคนใช้ e-ecommerce เว็บนึงเป็นอย่างมากมายและใช้ ระบบจ่ายเงินที่ทางเว็บพั ฒนามาเอง ปัจจุบันเราไม่ได้มีปัญหาเรื่ องผู้ซื้อผู้ขายไม่ไว้ใจกันเหมื อน Alibaba ในช่วงแรก
เช่นกันกับการจะเกิดกรณีอย่าง Wechat ที่กลายเป็นแอปที่ผู้ใช้ใช้ทำทุ กอย่างนั้นก็น่าจะยาก พฤติกรรมการใช้มือถือของคนไทยกั บจีนนั้นต่างกัน Line ที่ใกล้เคียงกับ Wechat สุด ก็ยังห่างไกลมาก
ภาพจาก Shutterstock
โอกาศ อนาคตและทิศทางของ wallet app
KBank และ SCB ได้ประกาศแผนอย่างชัดเจนว่าต้ องการเป็นมากกว่า app ธนาคาร หนึ่งคือเอาบริการด้านการเงิ นมาให้บริการบน app ไม่ต้องไปสาขา สองคืออยากเป็นให้ได้อย่าง wechat ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะซื้ออะไรออนไลน์ก็ซื้ อได้หมดบน App สามคือกระตุ้นให้ผู้ใช้ใช้QR Code ไม่ใช่เงินสด และสุดท้ายคือใช้ AI นำเสนอสิ่งที่ตรงกั บความสนใจของผู้ใช้
สิ่งที่ต่างกันคือ SCB เริ่มจากสิ่งที่เราสามารถซื้ อออนไลน์ได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องมีการเปรียบเทียบ เช่น ตั๋วหนัง
ขณะที่ KBank ต้องการใช้เครือข่าย SME ที่มีมากสุดในไทย มานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้น่ าจะสนใจ ผ่านรูปแบบ marketplace บน app K PLUS ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากกว่าเพราะต้ องแข่งกับ ecommerce เจ้าตลาด
ช่องว่างที่ทั้งสองแบงก์ยั งขยายได้ไปอีกคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีบัญชี ธนาคาร หรือมีแต่ไม่มีบัตรเครดิต พวกเขาซื้อ stickers ซื้อเพลงออนไลน์ ปัจจุบันพวกเขาใช้ TrueMoney
ตลาดนี้นั้นน่าสนใจมากเพราะอายุ ยังน้อย จะเป็นลูกค้าธนาคารได้อีกนาน และคุ้นเคยกับการซื้อออนไลน์
อีกช่องว่างคือกลุ่มคนสูงอายุที่ ไม่คุ้นเคยกับ smartphone นัก และกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็ นอย่างยิ่ง SCB เริ่มแล้วกับโครงการ Senior Buddy สอนผู้สูงอายุ ใช้ SCB Easy
TrueMoney นั้นมีผู้ใช้ประจำเกือบล้านคน ปัญหาของ TrueMoney คือผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวั ยรุ่นที่ไม่มีบัตรเครดิตมีกำลั งเงินไม่มาก ใช้โอนเงินให้กันครั้งละไม่เยอะ เฉลี่ยครั้งละ 120 บาท และใช้เติมเงินเล่นเกม
อาวุธเด็ดสุดในมือ True คือ 7-11 ที่คนหลายล้านคนเข้าทุกวัน ปัจจุบัน TrueMoney มีการทำโปรโมชั่นร่วมกับ 7-11 คือ ใช้ TrueMoney ครั้งแรกลด 30 บาท มีการติดป้ายอย่างชัดเจนที่ เคาน์เตอร์จ่ายเงิน แต่จากที่สังเกตคือเกือบทุกคนก็ ยังใช้เงินสดอยู่ และในอนาคตอันใกล้จะมีการติดตั้ งเครื่องรูดบัตรเครดิต ซึ่งยิ่งทำให้คนที่มีบัตรเครดิ ตและไม่จ่ายเงินสดก็จะเลือกจ่ ายบัตรเครดิตแทนใช้ TrueMoney เพราะยังได้พอยท์บัตร
ถ้า True จะผลักดัน TrueMoney ให้สุด อาจต้องทำโปรโมชั่นที่จูงใจผู้ ใช้ชัดเจนว่าถูกกว่าและยอมเข้ าเนื้อกว่านี้ เช่น ลด 1% ทุกครั้งที่จ่ายด้วย TrueMoney
การใช้งาน Rabbit LINE Pay
ผู้เล่นสำคัญรายสุดท้ายคือ Rabbit Line Pay ที่ดูจากอาวุธในมือแล้วมี โอกาสมากเพราะ Line คือ App ที่คนไทยใช้บ่อยสุดแล้ว และคนซื้อstickers บน Line จำนวนมาก บัตร Rabbit นั้นก็แก้ปัญหาเรื่องการแลกเหรี ยญแล้วต้องไปหยอดเหรียญอีกทีได้ อย่างชัดเจนและผูกขาดเจ้าเดียว ส่วน AIS นั้นเป็นผู้ให้บริการมือถื อรายใหญ่ที่สุด
แต่ผ่านมาหลายปีแล้ว เรายังไม่สามารถเติมเงิน BTS ผ่านมือถือได้ เรียกว่าช้ากว่าคู่แข่งเป็นอย่ างมาก
การทำให้สามารถเติมเงิน BTS บนมือถือ ไม่ต้องไปต่อคิวที่เคาน์เตอร์นั้ นน่าจะทำให้คนใช้ Line Pay เพิ่มขึ้นมากและบ่อยขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่พอ เพราะคนส่วนใหญ่น่าจะเติมเดื อนละครั้ง
อีกสิ่งหนึ่งที่ Rabbit Line Pay พยายามทำคือขยายร้านค้าออฟไลน์ ที่รับบัตร Rabbit
คำถามคือถ้าคนไม่ใช้เงินสด คนจะใช้ QR Code หรือบัตร Rabbit ไม่นับรวมถึงฝั่งร้านค้าที่ การติดตั้ง QR Code ที่ร้านนั้นสะดวกกว่าการติดตั้ งเครื่องรับบัตร Rabbit
บทสรุป
ในอีก 2-3 ปีนี้ เราน่าจะได้เห็นผู้ชนะใน e-wallet ที่จะมีผู้ใช้รายวันมากกว่าเจ้ าอื่นและยอดการใช้จ่ายอย่างเที ยบกันไม่ได้
ระหว่างนี้เราน่าจะได้เห็ นโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมเพื่อจู งใจให้คนใช้ เราน่าจะได้ใช้บริการทางการเงิ นที่ครบวงจรบน app เดียวตั้งแต่เปิดบัญชี ฝากเงิน ลงทุน ถอนเงิน โอนเงิน ขอสินเชื่อ จ่ายเงิน เราน่าจะได้เห็น wallet app ที่ฉลาดรู้ใจเรามากขึ้น เปิด app มา ก็แสดงสิ่งที่เราสนใจ ไม่ใช่แค่สรุปสถานการณ์การเงิ นของเรา แต่บอกเลยว่าเราควรทำอะไรต้ องทำอะไรเกี่ยวกับเงินเราบ้างวั นนี้ และบางอย่างก็ทำให้เลยโดยอั ตโนมัติ
อีกคำถามที่เราควรกลับมามองคือ ต่างชาตินั้นนวัตกรรมด้านนี้ถู กผลักดันและครองตลาดโดยฟินเทค ขณะที่ในไทยไม่มีฟินเทคทำด้านนี้ เลย มันเป็นเพราะกฎระเบียบที่ปกป้ องธนาคารมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้ฟินเทคได้เกิด หรือเพราะธนาคารเมืองไทยนั้นเก่ งจริงสร้างความเชื่อมั่นให้กั บผู้ใช้และปรับตัวเร็วมาก หรือเพราะฟินเทคไทยไม่เก่งเอง
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา
Related