รู้หรือไม่? บัตร Rabbit, True wallet ฯลฯ ที่เราใช้อยู่ทุกวันคือ E-wallet แล้วต่างจากบัญชีธนาคารอย่างไร

ตื่นเช้ามาเราก็ใช้บัตร Rabbit ขึ้น BTS บางคนอาจจะใช้บัตร MRT ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน พอเข้าร้านสะดวกซื้อก็ใช้ True Wallet Line Pay จ่ายเงิน และอีกสารพัด E-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ว่าแต่เรารู้จักมันดีหรือยัง? ถ้าเกิดปัญหาผู้ใช้จะร้องเรียน หรือเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง

Brandinside มีโอกาสได้พูดคุยกับ สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน (ผท.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะเล่าเรื่องนี้ให้ฟังกัน

E-wallet vs บัญชีธนาคาร ต่างกันอย่างไร?

สิริธิดา บอกว่า E-wallet คือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จุดต่างจากบัญชีธนาคารที่เห็นชัด คือ ไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ใช้

ส่วนใหญ่คนจะเก็บเงินใน E-wallet น้อยกว่าบัญชีเงินฝาก เพราะมีไว้แค่พอใช้จ่ายเท่านั้น แบงก์ชาติจึงต้องควบคุมให้ E-Wallet ให้มั่นคง ใช้จ่ายสะดวก และปลอดภัย เช่น ทำให้เงินที่คนเก็บไว้ใช้ E-wallet ไม่เยอะ เช่น หมวดการเดินทางหมวดการใช้จ่ายซื้อของ ฯลฯ 

ในขณะที่เงินออม ธปท. ต้องควบคุมไปถึงผู้ให้บริการ (สถาบันการเงิน non-bank) เพราะสถาบันการเงิน เอาเงินออมที่ได้จากประชาชนไปใช้ต่อเนื่อง ทั้งลงทุน ฯลฯ ไปก่อให้เกิดประโยขน์ เราก็ตามดู

ทั้งบัญชีธนาคารและ E-wallet อยู่ภาพใต้พรบ.ระบบการชำระเงิน เหมืแนกัน ซึ่งรวมมาจากกฎหมาย 3 ฉบับด้วยกัน ได้แก่ กฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน พรด.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ของประกาศกระทรวงการคลัง

ภาพจาก shutterstock

มีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Rabbit ถ้าบัตรหายเราจะได้เงินคืนไหม?

พอเป็น E-wallet ข้อมูลจะไม่ได้อยู่ที่ตัวบัตรอย่างเดียว ดังนั้นถึงบัตรหายก็ต้องได้เงินคืน แต่ลูกค้าต้องลงทะเบียนกับ E-wallet ที่ให้บริการก่อนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ

และ E-wallet ต้องมีมาตรฐานในการให้บริการลูกค้า เช่น มีช่องทางตอบคำถามลูกค้า มีช่องทางรับการร้องเรียน แต่เมื่อเกิดปัญหา ซึ่งแบงก์ชาติต้องดูแลคุ้มครองผู้บริโภคด้วย อย่างที่ผ่านมามีการร้องเรียนผ่านเบอร์ 1213 จะลงไปสุ่มตรวจสอบ 

จากปัญหาที่ BTS Rabbit และพันธมิตรด้านอื่นๆ ร่วมงานกันมากขึ้นแต่ไม่มีการประสานงานกัน จนให้ข้อมูลกับลูกค้าคลาดเคลื่อน สิริธิดา บอกว่า

“เรื่องนี้หลังเราได้รับการร้องเรียน แบงก์ชาติมีการสุ่มตรวจ เรียกผู้ประกอบการเข้ามาทำความเข้าใจ และตอนนี้ก็อยู่ระหว่างการแก้ไข”

แบงก์ชาติมอง E-wallet เติมเต็มสังคมไร้เงินสด

E-wallet เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไปแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่ได้ใช้เงินสด ขณะเดียวกันแบงก์ชาติไม่ได้ยึดติดว่า ต้องเป็นอะไร แต่มองว่ามีวิธีการใด หรือบริการอะไรที่ใช้ประโยชน์ต่อประชาชนได้บ้าง

นอกจากนี้ระบบการจ่ายชำระเงิน (E-Payment) ในอนาคตจะมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น Mobile Banking การจ่ายเงินผ่าน QRcode ฯลฯ ซึ่งต้องยอมรับว่าการแข่งขันในธุรกิจการเงินจะทำให้เกิดบริการใหม่ๆ และการเข้าถึงประชาชนในมีทางเลือกในการทำธุรกรรมการเงินมากขึ้น ภายใน 2-3 ปีนี้ E-Payment จะเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 150 ครั้งต่อคนต่อปี

“ในอดีตการที่คนจะโอนเงิน หรือทำธุรกรรมยอดเงินจะค่อนข้างสูง แต่พอมีค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามแบงก์ฟรี จ่ายบิล จ่ายเงินผ่าน QRcode ฯลฯ ฟรี ก็ทำให้คนหันมาใช้จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น บ่อยขึ้น แต่ยอดเงินจะน้อยลง

ในต่างประเทศคนใช้ E-wallet กันเยอะ เช่น สิงค์โปร์ อังกฤษ ฮ่องกง ฯลฯ ที่บัตร E-wallet สามารถใช้จ่ายในขนส่งสาธารณะ ร้านค้า ฯลฯ ส่วนในไทยเราก็ยังหวังว่าบัตรแมงมุมจะยังใช้ได้

สรุป

เช้าจรดเย็นคนไทยใช้ E-wallet กันจนชิน แต่ไม่รู้ว่าเป็น E-wallet เช่น BTS MRT True Wallet Line Pay ฯลฯ ซึ่งเวลาเกิดปัญหาขึ้นนอกจากติดต่อคอลเซ็นเตอร์บริษัทเหล่านี้ เรายังสามารถร้องเรียนกับแบงก์ชาติที่เป็นผู้กำกับดูแลได้ด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา