ทำ FinTech ให้เป็นของจริง !! Digital Ventures พาเรียนรู้-ทดลองใช้ FinTech แบบเข้าใจง่าย ที่งาน Money Expo

 

FinTech หรือ เทคโนโลยีทางการเงิน เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่เข้าใจ หรืออาจยังนึกภาพไม่ออกว่า เทคโนโลยี จะเข้ามาช่วยให้เรื่องการเงิน หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน สะดวก ง่ายและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ที่บูท Digital Ventures หรือ DV ในงาน Money Expo 2017 ที่เมืองทองธานี ซึ่งจัดวันที่ 11- 14 พ.ค. นี้ ได้หยิบยกการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจการเงิน รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แบบจำลองมาให้เป็นรูปธรรม จับต้องได้ เพื่อสร้างความเข้าใจ ที่สำคัญ เทคโนโลยีบางส่วนจะถูกใช้งานจริงในปีนี้ด้วย

Brand Inside อาสาพาไปดูว่าในบูท DV มีอะไรบ้าง แต่แนะนำว่าใครว่างต้องมาที่งาน นอกจากมาเดินดูดอกเบี้ยเงินกู้ โปรโมชั่นเด็ดๆ จากธนาคารแล้ว ก็ต้องมาสนุกสนานกับเรื่องเทคโนโลยีล้ำๆ กันด้วย

ดูโหงวเฮ้ง 4.0 ด้วย Machine Learning เพื่อบริการที่ดียิ่งขึ้น

หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกกล่าวถึงมากคือ Machine Learning เป็นลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ และประมวลผล เพื่อให้สะดวกกับการนำมาใช้ประโยชน์ ตัวอย่างที่นำมาเสนอคือ การดูโหงวเฮ้ง

การดูโหงวเฮ้ง เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีหลักการรับรอง ทาง DV ได้นำข้อมูลและรูปแบบการดูโหงวเฮ้งมาบันทึกในระบบกว่า 7,000 หน้า และจัดรูปแบบการวิเคราะห์ผ่านกล้องเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำที่สุด ผู้มาเยี่ยมชม สามารถวิเคราะห์ลักษณะต่างๆ เช่น ความโอบอ้อมอารี, โชคลาภ, ความซื่อตรง, การเข้าสังคม และไหวพริบ เป็นต้น

ตัวระบบ จะจดจำและวิเคราะห์ลักษณะของโหงวเฮ้งต่างๆ ตามข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้ ซึ่งการดูลักษณะดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการให้บริการกับลูกค้าที่มาใช้บริการที่สาขาของธนาคารได้ เช่น การอ่านสีหน้า เรียนรู้อารมณ์ของลูกค้า เพื่อจัดสรรบริการได้อย่างเหมาะสม หรือนำไปพัฒนาเป็นบริการ Robo-Advisory แนะนำการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

AR-VR สร้างประสบการณ์เสมือนจริงในการใช้บริการ

สำหรับเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) หลายคนอาจจะรู้จักแล้ว ที่บูท DV มีเทคโนโลยี VR ให้ทดลองเล่น โดยสามารถออกแบบดีไซน์ทุกอย่างได้อย่างอิสระในโลกเสมือนจริง ขณะที่ AR คือการสร้างวัตถุเสมือนจริงขึ้นมาบนโลกผ่านหน้าจอต่างๆ

VR ในต่างประเทศ ถูกใช้เพื่อให้บริการผ่านโลกเสมือนจริง ดังนั้นต่อไปหากต้องการใช้บริการธนาคาร อาจใช้งานผ่าน VR แค่ใส่กล้องอยู่ที่บ้านก็เหมือนได้อยู่ที่สาขาจริง ขณะที่ AR มีการใช้งานจริงที่บูทของ SCB โดยให้ลูกค้าเก็บสะสมเหรียญผ่านแอปพลิเคชั่น Life.SCB โดยใช้มือถือส่องไปยังโลโก้ SCB หรือ Digital Ventures แล้วสามารถนำเหรียญไปทดลองใช้จริง เพื่อสัมผัสประสบการณ์ Cashless Society และยังถือเป็นรูปแบบของ Customer Relation Management รูปแบบหนึ่งด้วย

Blockchain เทคโนโลยีการเงินที่อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ขึ้นชื่อว่า Blockchain หลายคนส่ายหน้า เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่ความจริงไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าเห็นภาพเป็นรูปธรรมจะเข้าใจทุกอย่างมากขึ้น ซึ่ง DV ใช้วิธีการอธิบาย Blockchain แบบเข้าใจง่ายๆ ผ่านกระบวนการซื้อรถยนต์

ปกติรถยนต์จะมีทะเบียนรถ และเลขตัวถังเป็น ID ยืนยันตัวตอนของรถและความเป็นเจ้าของ ถ้ามีการซื้อขายเปลี่ยนมือ จะมีการบันทึกไว้ แต่ระบบเดิมหากมีการแก้ไขตัวเล่มทะเบียนรถ ก็เป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบ หรือแค่จะค้นหาว่า รถยนต์คันนี้เคยชน เคยซ่อมมาแค่ไหน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

แต่ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่เป็นการบันทึกข้อมูลที่ห้ามลบ และสามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบ ดังนั้น หากรถยนต์มีการซื้อขายมาแล้วกี่ครั้ง เคยชน เคยซ่อมมาอย่างไร ถ้ามีการบันทึกไว้ใน Blockchain ก็สามารถตรวจสอบได้ทันที ซึ่งอนาคตอันใกล้ จะเริ่มมีการนำมาทดลองใช้จริง เช่น ต่อไปในบริการ My Car My Cash ของ SCB ลูกค้าสามารถสบายใจได้กับประวัติของรถยนต์ และได้รับบริการตรวจสอบอนุมัติวงเงินที่รวดเร็วด้วย เป็นต้น

หยอดกระปุกแบบสนุก นับเหรียญแบบเรียลไทม์ ด้วย Internet of Things

ความสนุกในการหยอดกระปุกคือ การหยอดให้เต็มเพื่อรอว่า จะได้เงินกี่บาท และนำเงินนั้นไปฝากธนาคาร แต่ด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoTs) ไม่จำเป็นต้องรอขนาดนั้น แค่หยอดเหรียญปุ๊ป ก็รู้ได้ทันทีว่าใส่ลงไปเท่าไร มีประวัติว่าสัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการหยอดเงินออมไปวันละกี่บาทผ่านทางแอปพลิเคชั่น เป็นการสร้างความสนุกสนานให้กับการออมแบบที่ไม่เคยมีก่อน

และเมื่อนำเงินออกจากกระปุก นำเงินไปฝากธนาคาร สามารถไปที่เครื่อง Coin Machine หรือเครื่องฝากเหรียญอัจฉริยะ แค่ใส่เหรียญลงไป และเลือกเป้าหมายที่ต้องการทำ เช่น โอนเงินทั้งหมดเข้าบัญชีธนาคารโดยไม่เสียค่านับเหรียญ หรือจะเปลี่ยนเหรียญนั้นเป็นบริการเงินสดในบัตรต่างๆ ก็ทำได้ทันที ในต่างประเทศ มีเกมให้เล่นเพื่อดึงดูดให้มาใช้บริการด้วย

edf

นี่คือรูปแบบเทคโนโลยี IoTs ที่สามารถจับต้องได้ เข้าใจง่าย และใช้งานได้จริง ซึ่ง SCB ได้ผลิตกระปุก SCB Pook (เอสซีบี ปุก) รุ่นทดลองออกมาแล้ว ถ้าได้รับความนิยมอาจผลิตจำนวนมากออกมาให้ลูกค้า

ปิดท้ายด้วย FinTech การลงทุนสร้างบริการแห่งอนาคตในปัจจุบัน

หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่า SCB เปิดตัว DV ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบงานด้านนวัตกรรมและ startup ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมา มีการลงทุนร่วมกับกองทุน startup ในต่างประเทศ เช่น Golden Gate Ventures, DYMON ASIA, nyca เป็นต้น เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ startup ทั่วโลก

รวมถึงได้ลงทุนโดยตรงกับ startup ในต่างประเทศ เช่น ripple ผู้ให้บริการ Blockchain, PulseiD ผู้ให้บริการ Geolocation ซึ่งการลงทุนทั้งหมด จะเป็นการสร้างเครือข่ายด้าน startup, นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น

และสุดท้ายคือ startup ที่ผ่านโครงการ DVA b0 ที่เพิ่งจบไป เป็นกลุ่ม startup ในประเทศไทยที่มีความสามารถและน่าจับตามอง ก็มาออกบูทร่วมกันกับ DV ในงานนี้ด้วย เช่น OneStockHome, ETRAN, FlowAccount เป็นต้น

สรุป

DV ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานด้านนวัตกรรม คิดค้นเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สนับสนุน startup และลงทุนเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่จากทั่วโลก นี่คือผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้ากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ความน่าสนใจอยู่ต่อจากนี้ ที่บริการบางส่วนจะกลายเป็น “ของจริง” คอยให้บริการกับลูกค้าเร็วๆ นี้ เราอาจจะเห็นธนาคารแตกต่างไปจากเดิมและใกล้ชิดกับผู้ใช้บริการมากขึ้น ไปงาน Money Expo ที่เมืองทองธานี อย่าลืมแวะไป

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา