รัฐประหารไม่กระทบ dtac เน้นลูกค้าแรงงานต่างประเทศ​ เมียนมา-กัมพูชา ยอดใช้งานโต

ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนที่มีแรงงานต่างประเทศเข้ามาทำงานในปัจจุบัน โดยมีจำนวนกว่า 2.3 ล้านราย ซึ่ง 90% เป็นคนเมียนมาและกัมพูชา ซึ่งในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่น่าสนใจ เพราะมีการใช้งานต่อเนื่องและแนวโน้มเติบโตขึ้น

แต่เดิม dtac ก็เน้นให้บริการลูกค้ากลุ่มนี้มากว่า 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะคนเมียนมา โดยมีบริการภาษาเมียนมา มีคอลเซ็นเตอร์สำหรับรองรับการให้บริการ แม้ว่าเวลานี้เมียนมาจะอยู่ในสถานการณ์ไม่สงบ มีการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร แต่ dtac ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่กระทบกับการใช้งาน แรงงานต่างประเทศในไทยยังคงใช้งานตามปกติ

dtac myanma

ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บอกว่า พฤติกรรมการใช้งานของคนเมียนมาและกัมพูชามีการใช้งานดาต้า เพิ่มขึ้น 15% มีการใช้บริการ ดีแทคใจดี 5 ล้านครั้ง แพ็คเกจที่ใช้งาน จะเป็นแบบรายวัน เพื่อให้สามารถวางแผนเรื่องการเงินได้ดีขึ้น

ดีแทค เป็นผู้ให้บริการเน้นกลุ่มลูกค้าแรงงานต่างประเทศมานานที่สุด ตั้งแต่ ส.ค.​54 ด้วย 3 แนวทางหลักคือ สร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลหรือ Digital Inclusion ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเชื่อมต่อทุกคนกับทุกสิ่งที่สำคัญที่สุด ขยายเครือข่ายเสาสัญญาณลงไปในชุมชนที่คนเมียนมาและกัมพูชาทำงานและอยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีคนเมียนมาและกัมพูชาทำงานมากที่สุด รวมทั้งมุ่งขยายบริการที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมียนมาและกัมพูชาตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

dtac network for covid

dtac ได้เปิด 3 บริการใหม่ ให้บริการกลุ่มแรงงานคนเมียนมาและกัมพูชา

  1. ดีแทคแอป ภาษาพม่า พร้อมเปิดบริการภาษากัมพูชาภายในปีนี้
  2. แพ็กเกจเสริมตอบโจทย์ช่วงโควิด-19 เน็ตเต็มสปีด 1GB ราคา 10 บาท/วัน และ โทรกลับเมียนมาและกัมพูชาผ่าน 00400 ครบ 5 นาที ฟรีอีก 5 นาที
  3. ขยายบริการใจดีช่วยค่ายา ให้สามารถดูแลรักษาสุขภาพในราคาประหยัด จากร้านยาคุณภาพที่มีใบอนุญาต โดยทั้งระบบเติมเงิน และรายเดือน สามารถซื้อคูปองช่วยจ่ายค่ายาในราคา 59 บาทและ 89 บาท สามารถนำไปซื้อยาที่ร้านขายยาที่ร่วมโครงการ ได้ในมูลค่าสูงสุด 100 และ 200 บาท โดยโชว์ข้อความ SMS จากโทรศัพท์มือถือที่ร้านขายยา ก็รับยากลับบ้านได้เลย

จากข้อมูลการใช้งานคนเมียนมาและกัมพูชาในไทยบนเครือข่ายดีแทค พบว่าแรงงานกลุ่มนี้ใช้มือถือเพื่อประโยชน์หลักในการสื่อสารและความบันเทิง โดยมีความนิยมใช้งานดิจิทัลผ่านทางโซเชียลมีเดียใน 5 อันดับแรก คือ

  1. Facebook
  2. YouTube
  3. LINE
  4. Messenger
  5. Tik Tok

โดยในปี 2563 แรงงานข้ามชาติที่เป็นลูกค้าดีแทค มีปริมาณการใช้งานดาต้า ต่อวันต่อคน ในอัตราที่เติบโตขึ้นถึง 15% เทียบกับการใช้งานในปี 2562 หากมองย้อนอดีต 10 ปีที่ผ่านมา มีไทม์ไลน์ดังนี้

  • ปี 2554 โดยเป็นเครือข่ายมือถือรายแรกในประเทศไทยที่ออก ซิมภาษาพม่า และ ตามมาด้วย ซิมภาษากัมพูชา ในปี 2558
  • ปี 2554 และ ปี 2558 ดีแทคมี Call Center ให้บริการลูกค้าด้วยพนักงานคนเมียนมา และกัมพูชา ตามลำดับ
  • ปี 2557 และ ปี 2558 ดีแทคมี Facebook ภาษาพม่า และ กัมพูชา ที่ทำขึ้นเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ โดยมี Facebook dtac Myanmar ผู้ติดตามกว่า 1.8 ล้านคน Facebook dtac Cambodia ผู้ติดตามกว่า 2 แสนคน
  • ปี 2559 ดีแทค เลือกใช้ ไซไซ คำเล้ง (Sai Sai Kham Leng) ศิลปินแร็ปเปอร์ นายแบบ และนักแสดงระดับแถวหน้าของเมียนมา มาร่วมโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีแทค เมียนมา ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คช่องทางต่างๆ ที่ช่วยสร้างขวัญกำลังใจ และยกระดับคุณภาพชีวิต ในช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย  ทำให้ดีแทคสามารถเอาชนะใจและก้าวขึ้นเป็นแบรนด์อันดับหนึ่ง ของคนเมียนมาและกัมพูชาในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80%

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา