ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนที่มีแรงงานต่างประเทศเข้ามาทำงานในปัจจุบัน โดยมีจำนวนกว่า 2.3 ล้านราย ซึ่ง 90% เป็นคนเมียนมาและกัมพูชา ซึ่งในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่น่าสนใจ เพราะมีการใช้งานต่อเนื่องและแนวโน้มเติบโตขึ้น
แต่เดิม dtac ก็เน้นให้บริการลูกค้ากลุ่มนี้มากว่า 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะคนเมียนมา โดยมีบริการภาษาเมียนมา มีคอลเซ็นเตอร์สำหรับรองรับการให้บริการ แม้ว่าเวลานี้เมียนมาจะอยู่ในสถานการณ์ไม่สงบ มีการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร แต่ dtac ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่กระทบกับการใช้งาน แรงงานต่างประเทศในไทยยังคงใช้งานตามปกติ
ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บอกว่า พฤติกรรมการใช้งานของคนเมียนมาและกัมพูชามีการใช้งานดาต้า เพิ่มขึ้น 15% มีการใช้บริการ ดีแทคใจดี 5 ล้านครั้ง แพ็คเกจที่ใช้งาน จะเป็นแบบรายวัน เพื่อให้สามารถวางแผนเรื่องการเงินได้ดีขึ้น
ดีแทค เป็นผู้ให้บริการเน้นกลุ่มลูกค้าแรงงานต่างประเทศมานานที่สุด ตั้งแต่ ส.ค.54 ด้วย 3 แนวทางหลักคือ สร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลหรือ Digital Inclusion ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเชื่อมต่อทุกคนกับทุกสิ่งที่สำคัญที่สุด ขยายเครือข่ายเสาสัญญาณลงไปในชุมชนที่คนเมียนมาและกัมพูชาทำงานและอยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีคนเมียนมาและกัมพูชาทำงานมากที่สุด รวมทั้งมุ่งขยายบริการที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมียนมาและกัมพูชาตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย
dtac ได้เปิด 3 บริการใหม่ ให้บริการกลุ่มแรงงานคนเมียนมาและกัมพูชา
- ดีแทคแอป ภาษาพม่า พร้อมเปิดบริการภาษากัมพูชาภายในปีนี้
- แพ็กเกจเสริมตอบโจทย์ช่วงโควิด-19 เน็ตเต็มสปีด 1GB ราคา 10 บาท/วัน และ โทรกลับเมียนมาและกัมพูชาผ่าน 00400 ครบ 5 นาที ฟรีอีก 5 นาที
- ขยายบริการใจดีช่วยค่ายา ให้สามารถดูแลรักษาสุขภาพในราคาประหยัด จากร้านยาคุณภาพที่มีใบอนุญาต โดยทั้งระบบเติมเงิน และรายเดือน สามารถซื้อคูปองช่วยจ่ายค่ายาในราคา 59 บาทและ 89 บาท สามารถนำไปซื้อยาที่ร้านขายยาที่ร่วมโครงการ ได้ในมูลค่าสูงสุด 100 และ 200 บาท โดยโชว์ข้อความ SMS จากโทรศัพท์มือถือที่ร้านขายยา ก็รับยากลับบ้านได้เลย
จากข้อมูลการใช้งานคนเมียนมาและกัมพูชาในไทยบนเครือข่ายดีแทค พบว่าแรงงานกลุ่มนี้ใช้มือถือเพื่อประโยชน์หลักในการสื่อสารและความบันเทิง โดยมีความนิยมใช้งานดิจิทัลผ่านทางโซเชียลมีเดียใน 5 อันดับแรก คือ
- YouTube
- LINE
- Messenger
- Tik Tok
โดยในปี 2563 แรงงานข้ามชาติที่เป็นลูกค้าดีแทค มีปริมาณการใช้งานดาต้า ต่อวันต่อคน ในอัตราที่เติบโตขึ้นถึง 15% เทียบกับการใช้งานในปี 2562 หากมองย้อนอดีต 10 ปีที่ผ่านมา มีไทม์ไลน์ดังนี้
- ปี 2554 โดยเป็นเครือข่ายมือถือรายแรกในประเทศไทยที่ออก ซิมภาษาพม่า และ ตามมาด้วย ซิมภาษากัมพูชา ในปี 2558
- ปี 2554 และ ปี 2558 ดีแทคมี Call Center ให้บริการลูกค้าด้วยพนักงานคนเมียนมา และกัมพูชา ตามลำดับ
- ปี 2557 และ ปี 2558 ดีแทคมี Facebook ภาษาพม่า และ กัมพูชา ที่ทำขึ้นเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ โดยมี Facebook dtac Myanmar ผู้ติดตามกว่า 1.8 ล้านคน Facebook dtac Cambodia ผู้ติดตามกว่า 2 แสนคน
- ปี 2559 ดีแทค เลือกใช้ ไซไซ คำเล้ง (Sai Sai Kham Leng) ศิลปินแร็ปเปอร์ นายแบบ และนักแสดงระดับแถวหน้าของเมียนมา มาร่วมโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีแทค เมียนมา ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คช่องทางต่างๆ ที่ช่วยสร้างขวัญกำลังใจ และยกระดับคุณภาพชีวิต ในช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ทำให้ดีแทคสามารถเอาชนะใจและก้าวขึ้นเป็นแบรนด์อันดับหนึ่ง ของคนเมียนมาและกัมพูชาในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80%
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา