เพราะอินเทอร์เน็ตมีทั้งประโยชน์และโทษ พ่อแม่จะเลี้ยงลูกอย่างไรในยุคดิจิทัล

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ช่วยให้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และลดช่องว่างทางสังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าอินเทอร์เน็ตจะไม่มีโทษอยู่ เพราะเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตนั้นเปิดกว้างจากทั่วโลก ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี โอกาสที่เนื้อหาที่เป็นภัยก็สามารถเข้าถึงตัวได้ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่หากเปิดรับเนื้อหาที่เป็นโทษ อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ ตามมา

คำถามจากพ่อแม่คือ แล้วจะเลี้ยงลูกอย่างไรในยุคดิจิทัล เพราะเราไม่สามารถเฝ้าระวังอยู่ข้างๆ ลูกได้ตลอดเวลา

เด็กต่างวัย การเลี้ยงดูต่างกัน พ่อแม่ต้องเท่าทัน

นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี บอกเล่าถึงประเด็นนี้ว่า พ่อแม่ยุคใหม่เวลาน้อยลง เพราะใช้เวลาไปกับการทำงาน และให้อิสระกับลูกมากขึ้น เปิดโอกาสให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ทุกอย่างเป็นไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยน และยากจะหลีกเลี่ยง แต่ต้องรู้ว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีลงมา เป็นช่วงพัฒนาการทางสมองในการจดจำ และยังสามารถควบคุมได้ มีการกำหนดกติกาการใช้งานที่แตกต่างจากเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ที่หากควบคุมมากเกินไปอาจนำไปสู่การต่อต้านรุนแรง

การควบคุม คัดกรองเนื้อหา การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสม คือส่วนสำคัญ เพราะเด็กมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในทุกที่ ไม่ใช่เฉพาะที่บ้าน ตัวอย่างในต่างประเทศ ทั้งรัฐบาลและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างให้ความสำคัญกับพื้นที่สีขาวบนอินเทอร์เน็ต มีการกำหนดนโยบายพื้นฐานในการบล็อกเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมแก่เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี

แต่สุดท้าย อย่างที่รู้กันว่า การควบคุมดูแลคัดกรองเนื้อหาเป็นเพียงส่วนหนึ่ง หัวใจสำคัญยังอยู่ที่การเอาใจใส่ดูแล ให้ความรู้ความเข้าใจ ใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัว ซึ่งต้องทำควบคู่กันไป

ต้องดูแลทุกที่ อย่างทั่วถึง และเท่าทัน

อรอุมา ฤกษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ dtac บอกว่า การดูแลเอาใจใส่ความปลอดภัย และการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่ dtac ให้ความสำคัญมาตั้งแต่แรก มีโครงการ Stop CyberBullying และอีกหลายโครงการที่ออกมารณรงค์และกระตุ้นเตือนให้ทุกคนรับรู้ว่า ต้องเท่าทันกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กอายุระหว่าง 6-14 ปี มีแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น จาก 35.9% ในปี 2553 เป็น 61.4% ในปี 2559 โดยในกลุ่มเด็กที่ใช้อินเทอร์เน็ต 51.6% มีการใช้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและ 47.4% ใช้ทุกวัน ขณะที่ระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

ขณะที่สถานที่ที่เด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ โรงเรียน 82.8% สถานที่ต่างๆ 58.2% และบ้าน 48.4% นอกจากนี้ เด็กอายุ 6-14 ปี เสพเนื้อหาผ่านคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 1 ที่ 83.3% ตามด้วยสมาร์ทโฟนที่ 59% และแท็บเล็ต 18.1% สำหรับกิจกรรมที่เด็กกลุ่มนี้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ความบันเทิง ฟังเพลง ดู Youtube ตามด้วย Social Network อัพโหลดรูปภาพ ค้นหาข้อมูล การศึกษา รับส่งอีเมล และโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)

ระบบควบคุมคัดกรองจะมีส่วนช่วยให้พ่อแม่สามารถดูแลลูกได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งต้องมาพร้อมกับการพูดคุยทำความเข้าใจ

ตั้งแต่เด็กเริ่มมีพัฒนาการในการจดจำ สร้างความไว้วางใจ วางหลักเกณฑ์การใช้สื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน กำหนดกติกาในการออนไลน์ สร้างวินัยที่ดี ซึ่ง dtac มีโครงการ Safe Internet ได้ดำเนินการเป็นระยะเวลาราว 3 ปีถึงปัจจุบัน และจะดำเนินการอย่างเข้มข้นในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0

dtac Family Care ผู้ช่วยยุคดิจิทัล

เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดเวลา และเวลาของการเรียนรู้ส่วนใหญ่อยู่นอกบ้าน ดังนั้นเครื่องมือยุคดิจิทัลที่จะนำมาช่วยจึงเป็นส่วนสำคัญ

ปริศนา รัตนสุวรรณศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจโพสต์เพด ของ dtac บอกว่า dtac ได้ร่วมกับ Smith Micro Software Inc (SMCI) ผู้ผลิตซอฟท์แวร์สัญชาติอเมริกัน พัฒนาแอปพลิเคชั่น dtac Family Care เพื่อดูแลคนในครอบครัวกับ 6 ฟังก์ชั่นการทำงาน คือ

  1. ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ ด้วยการควบคุมการโทร และการใช้แอพพลิเคชั่น โดยสามารถระบุเวลาในการใช้งานหรือกำหนดเบอร์ที่สามารถติดต่อได้
  2. ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ ด้วยการควบคุมการโทร และการใช้แอพพลิเคชั่น โดยสามารถระบุเวลาในการใช้งานหรือกำหนดเบอร์ที่สามารถติดต่อได้
  3. ติดตามความปลอดภัยด้วยระบบระบุตำแหน่งที่อยู่แบบ Real-time
  4. สร้างขอบเขตพื้นที่ปลอดภัย โดยหากสมาชิกในครอบครัวออกหรือเข้าพื้นที่ปลอดภัย ระบบจะส่งข้อความแจ้งทุกคนในครอบครัว
  5. ส่งสัญญาณฉุกเฉินให้สมาชิกทุกคน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
  6. ติดตามโทรศัพท์ที่สูญหาย หรือป้องกันข้อมูลจากระยะไกล

จากฟังก์ชั่นการทำงานทั้ง 6 ครอบคลุมการดูแลเอาใจใส่การใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็กอายุ 6-15 ปี ซึ่งพ่อแม่สามารถกำหนดกติกาต่างๆ ตามความเหมาะสมของช่วงอายุ เพื่อสร้างพฤติกรรมและวินัยที่ดี ซึ่งการเปิดใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นมาติดตั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้มีสิทธิใช้งาน ได้แก่ ลูกค้าดีแทค ทั้งระบบรายเดือนและเติมเงิน
  2. ลูกค้าทุกคนทดลองใช้บริการฟรี 1 เดือน
  3. เมื่อสมัครบริการรายเดือน 59 บาทต่อเดือน
  4. ลูกค้า Share Package ใช้บริการฟรีตลอดอายุแพ็กเกจ
  5. ลูกค้า Blue Member ใช้บริการฟรี 12 เดือน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา